คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

  • Defalut Image

1. การโอนหุ้นชนิดรุบะชื่อลงในใบหุ้นไม่ต้องได้รับความยินยอมของบริษัทก่อน

บทความวันที่ 11 ก.ค. 2562, 10:40

มีผู้อ่านทั้งหมด 2378 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

1. การโอนหุ้นชนิดรุบะชื่อลงในใบหุ้นไม่ต้องได้รับความยินยอมของบริษัทก่อน กรณีไม่มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
 คำพิพากษฎีกาที่ 3595/2558

    การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. ได้มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน โดยมีพยาน 2 คน ลงชื่อรับรองลายมือนั้น จึงถือว่าได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยก็มิได้กำหนดไว้ว่า การโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ไม่ได้เป็นการโอนหุ้นกันโดยมีเจตนาลวง เมื่อการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการแจ้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดปทุมธานี เปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยแทน ภ. จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 8669/2559
    หุ้นที่จำเลยที่ 1 โอนให้โจทก์เป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น โดยมีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 10 กำหนดไว้ว่า ผู้ที่หุ้นคนใดประสงค์จะโอนหุ้นจะต้องเสนอโอนหุ้นของตนให้แก่ผู้ถือหุ้นในบริษัททุกๆ คนก่อน เว้นแต่เป็นการโอนหุ้นให้แก่สามี ภรรยา หรือผู้สืบสันดานของตนเอง เมื่อไม่มีผู้ถือหุ้นเดิมคนใดตกลงรับโอนภายในเวลาซึ่งกำหนดให้ไม่น้อยกว่า 30 วันแล้ว ผู้ถือหุ้นคนนั้นจึงจะมีสิทธิโอนแก่บุคคลภายนอกได้ เมื่อการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของจำเลยที่ 10 ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นของจำเลยที่ 1 และไม่อาจใช้สิทธิใดๆ ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 10 ที่จะขอบังคับให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยทั้งสิบตามคำขอท้ายฟ้องได้

2.ใช้ขวานฟันศีรษะและใบหน้าของผู้ตายหลายครั้ง และลากศพไป 30เมตร และเกลี่ยดินกับขี้เถ้ากลบคราบเลือดของผู้ตาย ย่อมเป็นความผิดฐานเคลื่อนย้ายศพและปิดบังอำพรางการตายหรือเหตุแห่งความตาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 10278/2555

    จำเลยลากศพผู้ตายไปไว้ที่ถนนสาธารณะหน้าบ้านห่างออกไปประมาณ 30 เมตร แม้บริเวณนั้นไม่อาจปิดบังการตายได้ ก็เป็นการกระทำเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตายและเพื่ออำพรางการกระทำความผิดของตนด้วย ประกอบกับจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานนี้มาตั้งแต่ต้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเคลื่อนย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย และเพื่ออำพรางคดีตาม ป.อ. มาตรา 199

3.จอดรถขวางกั้นไม่ให้ผู้อื่นถอยรถแล้วมากระชากรถของผู้อื่นซึ่งล็อกประตูอยู่ ทุบกระจกรถอย่างแรงหลายครั้ง ผู้นั้นจึงใช้อาวุธปื่นยิงผู้กระทำในขณะนั้น มีความผิดบันดาลโทษะ
คำพิพากษาฎีกา 7237/2556

    โจทก์ร่วมยืนอยู่บริเวณประตูรถยนต์ของจำเลยเพียงลำพังโดยไม่ปรากฏว่ามีบุคคลอื่นใดอยู่ร่วมกับโจทก์ร่วมด้วย ทั้งขณะนั้นจำเลยก็ล็อกประตูของรถยนต์ตู้อยู่ โจทก์ร่วมย่อมไม่สามารถเปิดประตูรถยนต์ตู้เข้าไปทำร้ายจำเลยได้ จึงไม่มีภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่จำเลยจะต้องกระทำเพื่อป้องกัน การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่โจทก์ร่วมกับพวกจอดรถขวางกั้นไม่ให้จำเลยถอยรถยนต์ตู้ออกจากที่เกิดเหตุโดยจำเลยจะต้องไปรับพนักงานไปส่งยังที่หมายซึ่งเป็นภาระหน้าที่ในการประกอบอาชีพของจำเลยและยังได้ความจากจำเลยว่าโจทก์ร่วมมากระชากประตูรถยนต์ตู้และทุบกระจกรถยนต์ตู้อย่างแรงหลายครั้ง อันเป็นการเข้าไปหาจำเลยโดยมีท่าทีคุกคามย่อมเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมในขณะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อ. มาตรา 72 
    ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อมามีว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมหรือไม่ ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถทำอันตรายต่อชีวิตของผู้อื่นได้ยิงโจทก์ร่วมหนึ่งนัด กระสุนปืนถูกบริเวณไหปราร้าซ้ายซึ่งเป็นบริเวณของอวัยวะสำคัญซึ่งอยู่ภายในร่างกายเป็นเหตุให้กระดูกไหปราร้าหักแบบเปิดลมรั่วในปอดข้างซ้าย เส้นเลือดดำแขนข้างซ้ายฉีกขาด จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า อาจทำให้โจทก์ร่วมถึงแก่ความตายได้และแม้จะรับฟังได้ตามที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยยิงโจทก์ร่วมเพียงนัดเดียวก็ไม่ทำให้ความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปเพราะเจตนาโดยเล็งเห็นผลนั้นมุ่งถึงลักษณะแห่งการกระทำและผลของการกระทำที่อาจเกิดขึ้นเป็นหลักมิได้มุ่งถึงเจตนาของผู้กระทำเป็นหลัก ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม

4.กรรมการบริษัทคนหนึ่งลงลายมือชื่อในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คและมีลายมือชื่อปลอมของกรรมการอีกคนหนึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย ซึ่งตามข้อบังคับของบริษัทกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญกระทำการแทนบริษัทได้ ดังนี้ หากธนาคารตามเช็คปฎิเสธการจ่ายเงิน ผู้ทรงจะฟ้องบริษัทให้รับผิดชอบเงินตามเช็คไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 13466/2555

    แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตได้รับมอบหมายจากบิดาให้บริหารกิจการของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว โดย ช. และ ม. มิได้เกี่ยวข้องกับกิจการของจำเลยก็ตาม แต่จำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ซึ่งการกระทำการแทนจำเลยต้องมีกรรมการอย่างน้อย 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยจึงผูกพันจำเลยตามเงื่อนไขที่ได้มีการจดทะเบียนนิติบุคคลไว้ การที่ ส. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแต่เพียงผู้เดียวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลไว้ดังกล่าว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการสั่งจ่ายในนามของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่า ช. หรือ ม. ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ส่อให้เห็นว่าเป็นการเชิดหรือยินยอมให้ ส. นำเช็คพิพาทซึ่งมีลายมือชื่อปลอมของผู้ร่วมสั่งจ่ายไปแลกเงินสดจากโจทก์ได้ เมื่อจำเลยมิใช่ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเนื้อความในเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย

ที่มา : บทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก