คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 5|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 5

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 5

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 5

  • Defalut Image

1.การดำเนินประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นโดยไม่มีการเลือกผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในจำนวนซึ่งมาประชุมขึ้นนั่งเป็นประธานที่ประชุม มติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าวจึงผิดระเบียบสามารถเพิกถอนได้

บทความวันที่ 10 ก.ค. 2562, 11:13

มีผู้อ่านทั้งหมด 4082 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 5

1.การดำเนินประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นโดยไม่มีการเลือกผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในจำนวนซึ่งมาประชุมขึ้นนั่งเป็นประธานที่ประชุม มติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าวจึงผิดระเบียบสามารถเพิกถอนได้
คำพิพากษาฏีกาที่ 5245/2561

บริษัทไม่เคยแต่งตั้งกรรมการคนใดให้เป็นประธานกรรมการของบริษัท ดังนั้นในวันที่มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงเป็นกรณีที่ผู้ถือหุ้นซึ่งอยู่ในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องเลือกผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในจำนวนซึ่งมาประชุมขึ้นนั่งเป็นประธานที่ประชุมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1180 วรรคสอง การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ฮ. ดำเนินไปโดยไม่มีการเลือกผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในจำนวนซึ่งมาประชุมขึ้นนั่งเป็นประธานที่ประชุมตามมาตรา 1180 วรรคสอง เมื่อการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้ประชุมกันโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมใหญ่ มติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าวจึงเป็นมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบ กรณีมีเหตุต้องเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ฮ.

2.การติดตามทวงถามหนี้ด้วยพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมไม่ถือเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกขู่ต้องกลัว อันจะเป็นผลให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ
คำพิพากษาฏีกาที่ 6294/2561

ป.พ.พ 164 บัญญัติว่าการข่มขู่ที่จะทำให้การใดเป็นโมฆียะนั้นจะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดจะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัวซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น โจทก์นำกลุ่มผู้ชายคนแต่งกายคล้ายตำรวจไปที่บ้านของจำเลยซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงาน พูดจาข่มขู่ว่าบ้านและที่ดินตกเป็นของโจทก์แล้ว หากจำเลยจะดำเนินงานต่อต้องให้โจทก์ จำเลยกลัวจึงต้องให้เงินโจทก์ 3,000,000 บาท จำเลยกลัวจึงต้องทำสัญญากู้ยืมเงิน การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ด้วยพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น หาได้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการข่มขู่อันจะทำให้สัญญากู้ยืมเป็นโมฆียะไม่

3.การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลกับนิติกรรมที่เกิดจากเจตนาลวงมีข้อแตกต่างกันอย่างไร
คำพิพากษาฏีกาที่ 5686/2561

การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล ป.พ.พ. มาตรา 237 อันจะตกในบังคับแห่งอายุความ ป.พ.พ. มาตรา 240 กรณีต้องเป็นเรื่องที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์มีอำนาจทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้น อันเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ แต่นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ส. ผู้ขาย กับจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ เกิดจากเจตนาลวงตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของจึงไม่มีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 กรณีมิใช่การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 240 
จำเลยทั้งสองอ้างว่าขณะที่จำเลยที่1 ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ศาลฏีกายังมิได้พิพากษาเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย

คำพิพากษาฏีกาที่ 6650/2561
โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่มีเจตนาให้ผูกพันกัน เป็นการแสดงเจตนาลวง โดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองนำที่ดินที่พิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมเงินต่อธนาคาร ท. การโอนที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 กบัจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง

4.การที่หุ้นส่วนคนหนึ่งสั่งซื้อสินค้าในฐานะหุ้นส่วนอันเป็นไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าของห้าง ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาฏีกาที่ 5563/2561 

จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับบุคคลในครอบครัวของจำเลยที่ 1 ตกลงเข้ากันเพื่อประกอบกิจการร้าน น. ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันกำไรระหว่างกัน จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 การที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เป็นการดำเนินการในฐานะหุ้นส่วนของร้าน น. อันเป็นไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 2 ย่อมมีความผูกพันในการนั้นๆด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1050

5.นำที่ดินส่วนส่วนตัวไปจำนอง แม้ภริยาร่วมผ่อนชำระด้วยก็เป็นเพียงการช่วยชำหระหนี้เงินกู้ให้สามีเท่านั้นไม่ถือว่า ภริยาเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินด้วย
บ้านที่ก่อสร้างขึ้นใหม่บนที่ดินสินส่วนตัวของสามีด้วยเงินที่ได้มาระหว่างสมรสใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน ไม่ถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนควบของที่ดินอันจะตกเป็นกรรมสิทธ์ของสามีผู้เป็นเจ้าของที่ดินแต่ผู้เดียว
คำพิพากษาฏีกาที่ 3943/2561

การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ต่อมาผู้ร้องนำที่ดินพิพาทที่ซื้อได้กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของไปจดทะเบียนจำนองประกันหนี้เงินกู้ก็เป็นสิทธิที่ผู้ร้องสามารถทำได้ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาจะร่วมผ่อนชำระด้วยก็เป็นเพียงการช่วยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้องในที่ดินพิพาท
    บ้านพิพาทบนที่ดินพิพาทเป็นบ้านตึกสองชั้นที่ก่อสร้างขึ้นใหม่แทนบ้านหลังเดิมที่เป็นบ้านตึกชั้นเดียว แต่ยังคงใช้เลขที่บ้านเดิม และด้วยเงินที่ได้มาระหว่างสมรสของผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 และผู้ร้องกบัจำเลยที่ 1 ใช้บ้านหลังดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าบ้านพิพาทก่อสร้างขึ้่นโดยได้รับความยินยอมและอยู่ในความรู้เห็นของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท อันถือได้ว่าเข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ. มตรา 146 และไม่ถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนควบของที่ดินอันตกเป็นกรรมสิทธ์ของผู้ร้องร้องแต่เพียงผู้เดียวตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 หากแต่บ้านพิพาทเป็นสินสมรสไม่ใช่สินส่วนตัว จึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 กับผู้ร้อง

6.ที่ดินที่ผู้ตายได้รับการยกให้จากบิดามารดาก่อนที่ผู้ตายอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องสอดเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย แม้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้แก่ผู้ตายหลังผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องสอดแล้วก็ตามก็ไม่ทำให้สินส่วนตัวดังกล่าวกลับกลายเป็นสินสมรส
คำพิพากษาฏีกาที่ 2851/2561

เหตุที่ผู้ตายมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินเพียงผู้เดียวเนื่องจากผู้ตายได้รับการยกให้ที่ดินพิพาทจากบิดามารดา ผู้ตายครอบครองทำประโยชน์มากว่า 40 ปี ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ผู้ตายอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องสอด ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนสมรสเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) แม้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ตายหลังจากผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องสอดแล้วก็ไม่มีผลทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกลับกลายเป็นทรพย์สินที่ผู้ตายได้มาในระหว่างสมรสอันจะเป็นสินสมรส ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายจึงมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยได้

7.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดิน ผู้เป็นเจ้าของรวมกันคนหนึ่งจะขายที่ดินในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นโดยที่เจ้าของรวมคนนั้นไม่ยินยอมไม่ได้ แต่มีสิทธิที่จะขายที่ดินในส่วนของตนได้แม้เจ้าของรวมคนอื่นจะไม่ยินยอมด้วยก็ตาม
คำพิพากษาฏีกาที่ 5240/2559

ที่ดินพิพาทเป็นทรพย์สินกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละกึ่งหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1361 วรรคสอง แต่ที่ดินพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวนกึ่งหนึ่ง ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แม้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งก็ตาม

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 5

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก