คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

  • Defalut Image

1.บุคคลภายนอกรับสภาพหนี้ไม่ได้ แต่สัญญาที่บุคคลภายนอกทำไว้กับเจ้าหนี้ถือเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง สามารถใช้บังคับกันได้ 

บทความวันที่ 5 ก.ค. 2562, 12:15

มีผู้อ่านทั้งหมด 1156 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

1.บุคคลภายนอกรับสภาพหนี้ไม่ได้ แต่สัญญาที่บุคคลภายนอกทำไว้กับเจ้าหนี้ถือเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง สามารถใช้บังคับกันได้ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2537

การรับสภาพหนี้ เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก มิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้และแม้จำเลยทำสัญญาไว้ต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ ซึ่งค. เป็นหนี้โจทก์ให้โจทก์ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของ ค. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่ ค. ค้างชำระให้โจทก์ จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ10 ปี

2.มารดามีสิทธิเรียกบุตรคืนจากบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ แม้ว่าบิดาจะมีความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรมากกว่าก็ตาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 16395/2557

โจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คนคือเด็กชาย จ. ผู้เยาว์เกิดวันที่ 7 เมษายน 2553  ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกร้างกัน แล้วจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 บิดาของจำเลยที่ 1 นำผู้เยาว์ไปเลี้ยงดู คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่าโจทก์มีสิทธิเรียกผู้เยาว์คืนจากจำเลยทั้งสองหรือไม่  โดยจำเลยทั้งสองอ้างว่า จำเลยทั้งสองมีฐานะและความเหมาะสมในการเลี้ยงดูผู้เยาว์มากกว่าโจทก์นั้น
            เห็นว่า คดีนี้ผู้เยาว์เป็นบุตรเกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นหญิงที่มิได้มีการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะอ้างว่าบิดาของผู้เยาว์ แต่เมื่อผู้เยาว์มิได้เกิดจากบิดามารดาที่สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนั้น  เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้มีลักษณะที่ปรากฎตามความดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิใดๆ ในตัวผู้เยาว์ไม่ทั้งนี้ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1547 ดังนั้น กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นมารดาของผู้เยาว์ และมาตรา 1546  ให้ถือว่าผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น  โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองดูแลเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนผู้เยาว์แก่โจทก์ได้ ตามมาตรา 1567 (1) และ (4) ที่ให้โจทก์เป็นผู้กำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบได้ข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าดูแลผู้เยาว์ดีกว่าโจทก์ไม่อาจรับฟังได้เพราะจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิใดๆ ในตัวผู้เยาว์ ไม่อาจอ้างเหตุเหนือสิทธิของโจทก์ผู้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ได้

3.ตั๋วสัญญาใช้เงินจะเขียนข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ไม่ได้ แต่ตั๋วสัญญาใช้เงินยังสามารถใช้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่  14829/255
7
ตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความในทำนองเดียวกันว่า ข้าพเจ้าบริษัท วัฒนวนา จำกัด สัญญาจะใช้เงินให้แก่หรือตามคำสั่งของบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ธนสยาม จำกัด (มหาชน) ณ สำนักงานของบริษัท เลขที่ 132 ถนนวิทยุ ชั้น 3 อาคารสินธร กรุงเทพมหานคร เงินต้นจำนวน 65,000,000 บาท และ 210,000,000 บาทตามลำดับ ข้อความที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สยาม จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้เดิมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 983(2) แล้ว ส่วนข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินก็เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911 ที่ว่าด้วยตั๋วแลกเงินซึ่งให้นำมสาบังคับใช้ในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ย จึงไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของตั่๋วสัญญาใช้เงิน
    ในตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีช่องว่างใต้ข้อความดังกล่าวไว้สำหรับให้ผู้รับอาวัลลงลายมือชื่อ การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในช่องว่างด้งกล่าวจึงเป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 3 มีเจตนาที่จะรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 ประกอบมาตรา 985 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยที่ 3 อ้างว่า หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะอาวัลตั๋วเงินเป็นคนละเรื่องคนละกรณีแยกจากกัน โดยจำเลยที่ 3 สามารถทำนิติกรรมดังกล่าวข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างในคราวเดียวกันก็ได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 3 จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง

4.ความผิดตามปอ. มาตรา 189 เจ้าพนักงานไม่ต้องแจ้งจำเลยว่า บุคคลที่ให้ที่พำนักนั้นกระทำผิดฐานใด แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องกล่าวในฟ้องและนำสืบว่าผู้ที่ไปพำนักกระทำความผิดฐานใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2522

ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 นั้น เจ้าพนักงานผู้ติดตามจับกุมผู้กระทำผิดหาจำต้องแจ้งแก่ผู้ให้ที่พำนักซ่อนเร้นทราบว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดได้กระทำความผิดฐานใด เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าบุคคลที่ตนให้ที่พำนักซ่อนเร้นเป็นผู้กระทำผิดก็พอแล้ว ส่วนจะเป็นความผิดฐานใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องและนำสืบ

5.ตะโกนบอกให้ผู้กระทำความผิดหลบหนี เป็นความผิดตามปอ. มาตรา 189
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2521

เจ้าพนักงานตำรวจได้เข้าทำการจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันไฮโลว์โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าวว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" พวกที่เล่นการพนันบางคนหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานไปได้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าวก็ด้วยมีเจตนาที่จะให้ผู้เล่นการพนันรู้ตัวเพื่อจะหลบหนีไป การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะของการช่วยด้วยประการใดๆ แก่ผู้กระทำความผิดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189

ที่มา : บทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก