การแจ้งความเท็จ จะมีความผิดก็ต่อเมื่อเป็นการแจ้งในข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จเท่านั้น|การแจ้งความเท็จ จะมีความผิดก็ต่อเมื่อเป็นการแจ้งในข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จเท่านั้น

การแจ้งความเท็จ จะมีความผิดก็ต่อเมื่อเป็นการแจ้งในข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จเท่านั้น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การแจ้งความเท็จ จะมีความผิดก็ต่อเมื่อเป็นการแจ้งในข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จเท่านั้น

  • Defalut Image

ถ้าเป็นการแจ้งตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ แม้จะไม่เป็นความผิดตามข้อหาที่แจ้งก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ

บทความวันที่ 9 ธ.ค. 2561, 13:39

มีผู้อ่านทั้งหมด 2520 ครั้ง


การแจ้งความเท็จ จะมีความผิดก็ต่อเมื่อเป็นการแจ้งในข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จเท่านั้น

              ถ้าเป็นการแจ้งตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ แม้จะไม่เป็นความผิดตามข้อหาที่แจ้งก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ เพราะเป็นเพียงความเห็นในข้อกฎหมายเท่านั้น  อ้างอิงฎีกาที่ 2465/2555 ฎีกาที่ 1173/2539 ฎีกาที่ 3107/2516 ฎีกาที่ 5600/2541

1.คำพิพากษาฎีกาที่ 2465/2555
           จำเลยแจ้งข้อเท็จจริงโดยเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันพิพาทกับ ส. มีการชำระเงินและค้างชำระจำนวนเท่าใด จนกระทั่งในวันเกิดเหตุจำเลยได้นำรถยนต์ไปพบโจทก์และ ส. เพื่อทำความตกลงกัน และ ส. ได้ยึดรถยนต์คันดังกล่าวไว้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นความจริงที่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยอมรับมิได้มีข้อความใดที่จำเลยกล่าวอ้างอันเป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จึงตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการแจ้งความย่อมหมายถึงเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะไม่ได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่จำเลยแจ้งก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ และถึงแม้จำเลยจะแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์และ ส. ในข้อหาร่วมกันชิงทรัพย์ ก็นำเชื่อว่าเป็นการที่จำเลยกล่าวอ้างไปตามความเข้าใจของตน ส่วนการกระทำตามที่จำเลยแจ้งจะเป็นความผิดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานใด

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539
           ตั้งแต่วันที่23มีนาคม2532ถึงวันที่6ตุลาคม2532โจทก์ไม่ใช่ผู้เช่าแผงค้าตลาดมีนบุรีของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครแต่โจทก์ยังคงวางสินค้าที่แผงค้าตลาดมีนบุรีที่เคยเช่าและแผงค้าอื่นที่ไม่เคยเช่ารวมทั้งทางเดินในตลาดมีนบุรีด้วยจึงทำให้จำเลยที่1เข้าใจว่าเมื่อการเช่าสิ้นสุดลงแล้วแต่โจทก์ยังวางสินค้าอยู่และจำเลยที่2แจ้งให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมโจทก์จึงเป็นผู้บุกรุกและได้มอบอำนาจให้จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนข้อความที่จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่2ไปพบเห็นมาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่3แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่3แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหลายถึงแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายหลังจากจำเลยที่3ได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีแก่โจทก์แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่3แจ้งนั้นเป็นความเท็จเมื่อข้อความที่จำเลยที3ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่1แจ้งนั้นเป็นความจริงจำเลยที่1ที่3จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่2จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่2ฐานเป็นตัวการแต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนเมื่อจำเลยที่1และที่3ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จจำเลยที่2ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตราดกรุงเทพมหานครพ.ศ.2527ข้อ4และข้อ6กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องวิธีการงบประมาณพ.ศ.2529จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายอาญาภาค2ว่าด้วยความผิดลักษณะ2ความผิดเกี่ยวกับการปกครองหมวด2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริงเพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้นทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ที่2และที่3ได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157ตามที่โจทก์ฟ้องจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502มาตรา11ได้

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2516
             โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ได้พกพาอาวุธปืนขณะที่มิได้อยู่ในบ้านของตน แต่อยู่ที่บ้านของพี่โจทก์ จำเลยเป็นตำรวจได้ตรวจค้นพบอาวุธปืนนั้นที่ตัวโจทก์ จึงจับโจทก์และแจ้งความหาว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาล และพกพาอาวุธปืนกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การพกพาอาวุธปืนเช่นนี้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย และการที่จำเลยแจ้งด้วยว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความผิดอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2541
             จำเลยนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ขับรถยนต์ เฉี่ยวชนจำเลยได้รับบาดเจ็บเป็นการแจ้งความตามข้อเท็จจริง ที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่ จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะการแจ้งข้อความ ย่อมหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย แม้ต่อมา พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความ ดังกล่าวเป็นความเท็จจำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

มีข้อสงสัย ปรึกษาข้อกฎหมายเพิ่มเติมกับทีมงานทนายความ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก