งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
คำพูดคนเชื่อถือไม่ได้ ลิ้นไม่มีกระดูก
สุภาษิตนี้ยังใช้ได้เสมอ พร้อมจะพลิกลิ้นตลอดเวลาเพื่อให้ตัวเองรอดจากคดีความหรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทนายคลายทุกข์ติดตามข่าวเมื่อเช้านี้ อยากให้ข้อคิดกับพี่น้องประชาชน คดีแรก ผู้หญิงคนหนึ่งขับรถชนเขาและอ้างว่า"เป็นลูกอัยการ" พอตำรวจเรียกตัวมาสอบสวนก็อ้างว่าไม่ได้พูด คดีที่สอง เมียหลวงขับรถชนรถสามีและหญิงอื่นที่นั่งมากับสามี วันแรกบอกว่าเจตนาชนเนื่องจากว่าบันดาลโทสะเพราะสามีควงหญิงอื่นทำร้ายจิตใจ พอมาพบกับพนักงานสอบสวนอ้างว่าขับรถโดยประมาท คำพูดคนเชื่อถือไม่ได้ ทนายคลายทุกข์ในฐานะเป็นทนายความและเป็นนักสืบเอกชน ขอให้คำแนะนำพี่น้องประชาชนว่าการสนทนากับบุคคลอื่น โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญควรบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน เพราะคลิปบันทึกเสียงหรือภาพ หรือภาพพร้อมเสียงที่สามารถฉายได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นพยานวัตถุที่มีคุณค่าเชิงพิสูจน์สูงครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2555 (กรณีคู่สนทนาเป็นผู้บันทึกเสียงของตนเองกับคู่สนทนารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้(ประชาชนทั่วไปบันทึกเสียงกันเอง))
การแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานนั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม ระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ป.วิ.อ. กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา ศาลจึงนำบันทึกเทปดังกล่าวมารับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2551 (เจ้าพนักงานเป็นผู้บันทึกเสียง (เช่นตำรวจ )โดยลักลอบใช้กลอุบายเพื่อบันทึกเสียงอ้างเป็นพยานหลักฐานไม่ได้)
จำเลยไปที่บ้านของ ว. พร้อมกับทนายความและเจ้าพนักงานตำรวจอีกคนหนึ่งเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการเบิกเงินของ บ และการใช้กระแสไฟฟ้าจากโรงงานจำเลย โดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นได้แอบบันทึกเหตุการณ์ทั้งภาพและเสียงไว้ด้วยพฤติการณ์ในการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการลักลอบกระทำก่อนวันที่จำเลยอ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยานเพียง 1 วัน เพราะต้องการจะได้ข้อมูลที่แอบบันทึกไว้ เนื่องจากจำเลยฉีกเอกสารหลักฐานที่ว่าจ้าง บ. ก่อสร้างโรงงานทิ้งไปแล้ว จึงพยายามหาหลักฐานใหม่ ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยทำขึ้นใหม่ด้วยการทำเป็นดีกับ ว. แล้วลักลอบบันทึกเหตุการณ์นั้นไว้ ถือได้ว่า เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการหลอกลวงและด้วยวิธีการที่มิชอบ ต้องห้ามมิให้อ้างเป็นพยานหลักฐานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 226
คำพิพากษาฎีกาที่ 1435 / 2555
คำให้การ ในชั้นพนักงานสอบสวน (ในครั้งแรก) รับฟังเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณา(ในครั้งหลัง)
ท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมายสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ทนายคลายทุกข์ 081-6161425