การเลือกตั้ง ส.ส. : การละเมิดกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย|การเลือกตั้ง ส.ส. : การละเมิดกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย

การเลือกตั้ง ส.ส. : การละเมิดกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเลือกตั้ง ส.ส. : การละเมิดกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย

การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ ก็คงจะเหมือนกับครั้งก่อนๆ รัฐมีรัฐธรรมนูญ-กฎหมาย-กฎเกณฑ์

บทความวันที่ 17 มิ.ย. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11767 ครั้ง


การเลือกตั้ง ส.ส. : การละเมิดกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย


            การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ ก็คงจะเหมือนกับครั้งก่อนๆ รัฐมีรัฐธรรมนูญ-กฎหมาย-กฎเกณฑ์ กติกา ในการเลือกตั้งค่อนข้างดี แต่กลไกในการบังคับใช้กฎหมายไม่เคยมีประสิทธิภาพ นักการเมืองตัวโกงยังคงกำเริบเสิบสานมากขึ้นเรื่อยๆ ฤดูการเลือกตั้งเริ่มมาได้ไม่เกินสองสัปดาห์ เราได้เห็นนักการเมือง-พรรคการเมืองตัวโกงละเมิดกฎหมายกันแล้วอย่างแพร่หลายที่สำคัญคือ
          1. มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันแล้วอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด พรรคใหญ่ซื้อหัวคะแนนเสียงไว้ก่อนแล้วเป็นระยะยาว พวกเขามีเล่ห์เหลี่ยมในการทำผิดกฎหมาย โดยไม่ทิ้งหลักฐานให้ถูกจับได้
          2. นักการเมืองใช้สื่อมวลชนสร้างกระแส-บิดเบือนข่าวอย่างไม่เท่าเทียมกัน โดยตรวจสอบได้ยาก ก.ก.ต.มองไม่เห็นหรอกว่าคนของพรรคการเมืองใดเป็นเจ้าของ-ผู้ถือหุ้น-ผู้ให้ทุน (ผ่านญาติมิตรข้าทาสบริวาร) ก่อตั้ง-ดำเนินการสถานีโทรทัศน์ Asia Update, วิทยุชุมชน, แพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯ การให้โอกาสเท่าเทียมกันในการหาเสียงของผู้สมัคร/พรรคการเมือง เป็นประเด็นสำคัญที่จะตัดสินว่าการเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 48 ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นจริง หรือให้คนอื่นทำแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ที่สามารถบริการกิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว
           แต่ประเด็นนี้ดูเหมือนไม่มีกฎหมายลูกออกมารองรับ แม้จะเป็นเรื่องสำคัญมากก็ตาม นอกจากจะแจ้งให้ ก.ก.ต.ดำเนินคดีให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคที่ละเมิดรัฐธรรมนูญข้อนี้ในข้อหากระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 94 (1), (3)    เข้าใจว่า นักการเมืองตัวโกงก็คงหาช่องทางเลี่ยงกฎหมายเพื่อเอาตัวรอดโดยไม่แยแสต่อสปิริตของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  ก.ก.ต.ก็ไม่กล้าทำอะไรที่กฎหมายมิได้ให้อำนาจไว้อย่างชัดเจน
           3. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550  มาตรา 53 นั้น มีพรรคการเมืองและผู้สมัคร ส.ส. ทำผิดกันอย่างแพร่หลาย หนึ่งข้อห้ามในจำนวนหลายๆ ข้อคือ ห้ามผู้สมัครหรือผู้ใด “จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้”
           แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภายหลังเปิดรับสมัคร ส.ส. คราวนี้ไม่กี่วัน ผู้สมัครพรรคการเมืองต่างๆ มองไม่เห็น ก.ก.ต. และกฎหมายอยู่ในสายตา สำรวจดูป้ายหาเสียง สื่อมวลชนต่างๆ รวมทั้งอินเตอร์เน็ต พรรคเพื่อไทยทำผิด (อาจรอดตัวถ้ากระบวนการยุติธรรม ไม่ซื่อสัตย์) มากมาย เช่น จะเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทต่อวัน (จากปัจจุบันวันละ 217 บาท), จะประกันราคาข้าวเปลือกตันละ 15,000 บาท (ราคาประกันปัจจุบันประมาณ 11,000 บาท, ราคาจริง 8,500 – 9,400 บาทต่อตัน) จะให้คอมพิวเตอร์ราคาถูกฟรีแก่เด็กนักเรียนคนละเครื่อง(ประมาณว่าต้องใช้งบประมาณแผ่นดินประมาณ 4,000 ล้านบาท) คนจบปริญญาตรีทำงานเงินเดือนเริ่มต้นจะได้เดือนละ 15,000 บาท (ปัจจุบันเฉลี่ยไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท) เป็นต้น ที่โฆษณาหลอกลวงประชาชนด้วยความเท็จก็มีเช่น บอกว่าจะทำให้ “คนไทยหายจนภายใน 4 ปี”  ”จะปราบปรามยาเสพติดให้หมดภายใน 12 เดือน” เป็นต้น ข้อความหลอกลวงประชาชนทำนองนี้ ทักษิณเคยใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งมาแล้วอย่างได้ผล (แม้จะละเมิด พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 44 ก็ไม่มีใครฟ้องร้องเอาโทษ)
           พรรคประชาธิปัตย์ก็เลียนแบบประชานิยมของพรรคคู่แข่งด้วย แต่กล้าเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีน้อยกว่า เช่น สัญญาว่าจะเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 25% ภายใน 2 ปี (จาก 217 บาท เป็น 250 บาทต่อวัน) จะให้เครื่องแบบนักเรียน และแบบเรียนฟรี จะรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตของคนที่มีวินัยในการใช้จ่าย เป็นต้น
          คำมั่นสัญญาและคำหลอกหลวงดังกล่าวมีบทกำหนดโทษไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 137 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 10 ปี
         นอกจากนั้น ยังอาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองได้ (ถ้า ก.ก.ต. และอัยการสูงสุดดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมาด้วยความซื่อสัตย์และมืออาชีพตามมาตรา 95) โดยข้อกล่าวหาตามมาตรา 94 (1) ที่ว่าได้กระทำการ “ให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” และมาตรา 94 (2) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
           4. การริเริ่มดำเนินคดีก็ไม่ยาก มาตรา 95 บัญญัติไว้ว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน” ของ ก.ก.ต. (ซึ่งหมายความว่าใครไปแจ้งก็ได้)  “หรือเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง และได้ตรวจสอบแล้ว” ก็ดำเนินคดีต่อไปได้ ถ้านายทะเบียน
           ก.ก.ต. รับแจ้งแล้วไม่ดำเนินคดีตามกฎหมายก็เสี่ยงที่จะถูกฟ้องว่าละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่โดยทุจริต แต่ถ้าดำเนินคดีตามมาตรา 95 ก็เสี่ยงที่จะถูกพรรคที่ถูกกล่าวหาใช้กลไกของพรรคและมวลชนที่จัดตั้งสร้างกระแสกล่าวโทษ ก.ก.ต. ว่าทำงานสองมาตรฐาน ทางออกของ ก.ก.ต. (เช่นเดียวกับองค์กรอิสระอื่นๆ) คือดำเนินคดีกับพรรคคู่แข่งด้วย (แม้จะรู้ดีว่ามีหลักฐานอ่อนก็ตาม) เพื่อให้ตัวเองพ้นภัย (ไม่ใช่เพื่อความถูกต้อง) นี่เป็นปัญหาของเมืองไทยในยุคปัจจุบัน
           5. อย่างไรเสียการเลือกตั้งคราวนี้ก็จะเต็มไปด้วยการซื้อขายเสียงในรูปแบบต่างๆ (ดู The Nation, June 6, 2011, 14A) ที่ผิดกฎหมาย ทั้งที่มีหลักฐานและไม่มีหลักฐานสนับสนุน บางทีไม่ผิดกฎหมายแต่ละเมิดหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (กฎหมายไล่ไม่ทันคนโกง คนไทยและชาวโลกในอดีต เขาไม่ทำกัน) การบังคับใช้กฎหมายก็ไม่ใช่ของง่าย ในสังคมไทยในยุคปัจจุบันที่มีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

แสดงความเห็น