สิทธ์ในการเลี้ยงดูบุตร|สิทธ์ในการเลี้ยงดูบุตร

สิทธ์ในการเลี้ยงดูบุตร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สิทธ์ในการเลี้ยงดูบุตร

ผมและภรรยาแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส

บทความวันที่ 7 มี.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11222 ครั้ง


สิทธ์ในการเลี้ยงดูบุตร


          ผมและภรรยาแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส แต่จัดงานแต่งงานกันแบบผู้ใหญ่รับรู้มีการสู่ขอหมั้นหมาย  และจัดงานเลี้ยงใหญ่ หลังจากนั้นมีลูกด้วยกัน 1 คนเป็นผู้หญิง เวลาผ่านไปปีกว่า ผมและภรรยามีปัญหาหนี้สิน และการเงิน  ภรรยาจึงขอเลิกไป  ทางแม่และพี่สาวผมต้องการให้ผมและลูกไปอยู่ด้วยเพราะครอบครัวทางแม่ค่อนข้างมีฐานะ  ทางภรรยาผมก็ยินยอมที่จะให้ผมนำลูกไปเลี้ยงได้ ผ่านไปประมาณครึ่งปี ขณะนี้ลูกเรียนอยู่เนอสเซอรี่  แต่แม่ของผมต้องการจะให้ลูกผมไปเรียนเตรียมอนุบาล  แต่ภรรยาเก่าของผมเค้าไม่ยินยอมและขอนำลูกไปเลี้ยงเอง ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นภรรยาผมไม่เคยที่จะส่งเสียเลี้ยงดูอะไรเลย
           แม้กระทั้งค่าอาหารที่โรงเรียนเนอสเซอรี่ สัปดาห์ละ 100 ยังไม่ยอมจ่าย ครอบครับแม่ผมเป็นคนจ่าย ไปรับ ส่งที่เนอสเซอรี่ตลอด ตอนนี้ภรรยาเก่าผมเอาลูกไปอยู่ด้วยโดยไม่ยอมที่จะคืนให้ผม และนำลูกของผมไปอยู่กับยายหรือกับตาที่ต่างจังหวัด  โดยที่ตัวแม่เค้าไม่ได้อยู่ด้วยกัน แบบนี้ผมสามารถฟ้องร้อง สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่ครับ ช่วยตอบด้วยนะครับ ภรรยาเก่าพาลูกไป  อาทิตย์กว่าแล้ว ทางโรงเรียนเตรียมอนุบาลเค้าก็รอเด็กอยู่  แต่ภรรยาเก่าไม่ทราบเป็นอะไรไม่ยอมให้ย้ายออกจากเนอสเซอรี่ ทั้ง ๆ ที่เด็กอายุเกือบจะ 3 ขวบแล้ว

    
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
          เมื่อท่านและภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย ภรรยาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1546, 1566 และ1567 (1) แต่อย่างไรก็ตาม หากภรรยาใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวบุตรผู้เยาว์โดยมิชอบด้วยประการใด ท่านซึ่งเป็นบิดาสามารถร้องขอให้ศาลถอนอำนาจปกครองของภรรยาเสียทั้งหมดและตั้งให้ท่านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแทนตาม มาตรา 1582 ก็ได้

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1546
  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

 มาตรา 1567  ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร

มาตรา 1582  ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่งของศาลก็ดี ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี ประพฤติชั่วร้ายก็ดี ในกรณีเหล่านี้ศาลจะสั่งเอง หรือจะสั่งเมื่อญาติของผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
           ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองล้มละลายก็ดี หรือจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยก็ดี ศาลจะสั่งตามวิธีในวรรคหนึ่งให้ถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินเสีย
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

จะขอถามคะ..ดิฉันมีลูกกับสามี1คนเค้ารับราชการยุ่คะส่วนดิฉันไม่ได้ทำงานคะ เค้ามีภรรยายุแล้วแต่ด้ฉันไม่รุ ภรรยาเค้ารุเรื่องเราเมื่อไม่นานนี้ เค้าจึงเลิกกันดิฉันแต่ก่อนเลิกเค้าได้ไปทำเรื่องรับรองบุตรไว้  และหลังจากทำเรื่องรับรองบุตรเรียบร้อยเค้าก็ไม่เคยส่งเสียเลยดิฉันเลี้ยงลูกคนเดียวมาเกือบ5ปีแล้ว ด้ฉันลำบากมากเค้าก็เฉยๆ ไม่คิดจะช่วยเหลืออะไร ขอถามคะเราสามารถขอค่าเลี้ยงดูบุตรจากเค้าได้ไหมคะ(เราไม่ได้จดทะเบียบกัน)

โดยคุณ นิวเนีย คนเดิม 4 มิ.ย. 2562, 13:34

ตอบความคิดเห็นที่ 3

สามารถฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรจากสามีได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 5 มิ.ย. 2562, 11:04

ความคิดเห็นที่ 2

สวัสดีคะ ดิฉันเเละลูก 2 คน ถูกสามีทอดทิ้งคะ เรื่องราวมีอยู่ว่า เราเเต่งงานกันมา 3 ปี มีลูกชาย 2 คนไม่ได้จดทะเบียนสมรสนะคะ  ต่อมา ฝ่ายหญิงโทรมาบอกเราว่าท้อง เรา งง เเละตกใจมาก เค้าไปมี เเฟนใหม่มีลูกใหม่ เราไม่รุ้เรื่องเลย เเละต่อมา เราเเละลูกๆ ก้อเดินออกมาจากเค้าคือ อยากเราจากกันด้วยดี เเต่ฝ่ายเค้าไม่ยอม มีมาตบตีเราต่อหน้าลูกด้วย เเละไม่พอหาว่าเรากีดกันลูกเลยพาพี่ชายเค้ามาขโมยลูกเราไป เราเสียใจมาใจจะขาด เราลักลูกชายคนโตไป อายุ เเค่ 3 ปีกว่าๆเอง เเล้วยังทำร้ายเเม่เราด้วยซ้ำ เเต่เราก้อไปเเจ้งความตำรวจก้อตามเค้ามาไก่เกี่ยกัน เเล้วเค้าก้คืนลูกให้เรา ต่อมาจะมาพาลูกไปเท่วอีก เราไม่อยากให้ไปเลย เคียดมากอยากปรึกษาเพราะลูกยังเล็กมากเเละพาไปเเล้วเอากลับมาส่งเด็กก้อป่วยมีเเต่เเผล เราเป็นเเม่เราจะทำไงดีคะ ช่วยหน่อยนะคะ ขอบคุณมากคะ

โดยคุณ ปลา 20 ธ.ค. 2560, 15:30

ตอบความคิดเห็นที่ 2

กรณีตามปัญหา เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามปอ.มาตรา 295 หรือ มาตรา 391 แล้วแต่พฤติการณ์ ท่านสามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีได้ตามปวิอ.มาตรา 2(4) มาตรา 2(7)  

เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ตามปพพ.มาตรา 1546  ดังนั้น อำนาจปกครองบุตรย่อมตกอยู่แก่หญิงผู้เป็นมารดา ตามปพพ.มาตรา 1566 มาตรา 1567

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 26 ม.ค. 2561, 15:11

ความคิดเห็นที่ 1

สวัสดี ครับ

  เรื่องมีอยู่ว่าผมใด้อยู่กินกันกับภรรยาและพ่อของภรรยาเป็นเวลา2ปีกว่า ตอนนี่เรามีลูกด้วยกัน1คน เป็นลูกสาว กระผมทำงานคนเดี่ยวภรรยาใม่มีอาชีพ ซึ่งกระผมส่งเงินทุกสัปดาห์ และซื้อนม แพมเพิส ซีรีแล็ค ฝากมาทุกเดือนมีอยู่วันภรรยาที่ใม่ใด้จดทะเบียนสมรสมีแฟนไหม่ ทั้งๆที่ผมยังส่งเงินส่งของตามปรกติ จับใด้ว่ามีไหม่ทางเฟสบุ๊ค

เขาบอกว่าจะอยู่กับคนนี้

"ผม สามารถฟ้องขอลูกมาดูแลใด้หรือใม่ครับ"

ลูกผมใด้5เดือน

ซึ่ง ภรรยา มี อาชีพ

และยังกีดกันผมใม่ไห้เจอลูกเลย

ผมต้องเตรียมหลักฐานอะไรสู้คดีครับ

กระผมเป็นห่วงอนาคตลูกครับ

โดยคุณ นาย วีระวัฒน์ ผักไหม 25 ส.ค. 2560, 01:18

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก