กระผมได้เข้าไปตั้งกระทู้ในเวปอื่นมา แต่ยังมีข้อสงสัยดังนี้ครับ
ที่ดินติดลำธารสาธารณะ
ประมาณ3-4ปีที่ผ่านมา รัฐได้ออกโฉนดให้ฟรี ซึ่งจาก นส.3 เดิม ทิศตะวันตกระบุติดคลองสาธารณะ ( เป็นลำธารกว้างประมาณ 4 เมตร ) แต่ในการ ปักหลักหมุดโฉนดเพื่อทำการรางวัด ด้านติดกับลำธาร เจ้าหน้าที่และชาวบ้านที่มากับทีมรางวัดได้ปักหลักหมุดโฉนดห่างจากตลิ่งลำธารประมาณ 10-20 เมตร ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถปักหลักตรงตลิ่งลำธารได้ เนื่องจากทางเจ้าของที่ดินได้ปลูกต้นไม้ต่างๆเช่นต้นไผ่ ต้นมะพร้าว เพื่อกันตลิ่งพัง และยังมีต้นยางที่ขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งถ้าโค่นต้นยางก็ผิดกฎหมาย และทุกปีฤดูฝนน้ำจะหลากทุกปีถ้าโค่นถางต้นไม้ออก ไม่กี่ปี น้ำจะเซาะตลิ่งพังเข้ามามาก ดังนั้นทางช่างรางวัดจึงต้องปักหลักหมุดโฉนดบริเวณแนวป่าที่ปลูกกันตลิ่งพัง จึงทำให้เนื้อที่ดินจากหลักโฉนดไปถึงตลิ่งลำธารเหลือประมาณ อีก 1 ไร่ ( จากตลิ่งลำธารมาถึงหลักโฉนด น้ำท่วมไม่ถึงในฤดูน้ำปกติ ) และในโฉนดปัจจุบันก็ระบุว่า ด้านทิศตะวันตกติดคลองสาธารณะ
1. อยากทราบว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากหลักโฉนดไปถึงตลิ่งลำธาร ยังเป็นของเจ้าของที่ดินหรือไม่
2. ถ้าทางเจ้าของที่ดินจะขอรางวัดที่ดินใหม่ได้หรือไม่ เพราะถ้าทำได้ จะได้ตัดต้นไม้ที่ไม่จำเป็นออก และปักหลักโฉนดใหม่ด้านที่ติดลำธารให้ใกล้ตลิ่งมากที่สุด เพราะจะได้เนื้อที่ดินเพิ่มขึ้นมาบ้างให้ใกล้เคียงกับเนื้อที่ดินจริง
3. จะมีวิธีแก้ไขยังงัย สำหรับเนื้อที่ดินจากหลักโฉนดไปถึงตลิ่งลำธารให้มีเอกสารสิทธิ ( ที่ดินทุกแปลงที่ติดลำธารสาธารณะ ในโฉนดกับเนื้อที่ดินจริงไม่ตรงกัน บางคนในโฉนด 5ไร่ แต่ที่ดินจริงประมาณ 7 ไร่ เพราะปักหลักหมุดห่างจาตลิ่งเยอะมาก เพราะลำธารชนบท ตามธรรมชาติคดเคี้ยวและมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเยอะมาก ทางทีมรางวัดจึงปักหัวท้ายให้ตรงแล้วทำการรางวัดที่ที่ยื่นออกไป หรือคดเคี้ยวจึงไม่ได้เข้ามาอยู่ในโฉนด)
โดย ชายชาติ เบอร์โทรศัพท์. [ 2009-06-16 ]
คำตอบจาก Webmaster
เรียน คุณชาติชาย
1. ที่ดินส่วนที่เหลือจากหลักโฉนดไปถึงตลิ่งลำธาร เป็นที่ดินซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน มิใช่เป็นของเจ้าของที่ดิน
2. แม้จะขอรังวัดใหม่และตัดต้นไม้ที่ไม่จำเป็นออกและปักหลักโฉนดใหม่ด้านที่ติดลำธารให้มากที่สุดนั้น ไม่สามารถจะกระทำได้เนื่องจากที่ดินของคุณติดลำรางสาธารณะ ในการรังวัดที่ดินจะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐมาคอยระวังแนวเขตที่ดินส่วนที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอยู่ เจ้าหน้าที่คงไม่ยินยอมให้คุณปักหลักหมุดติดลำรางสาธารณะแน่นอน
3. ที่ดินเดิมเป็น น.ส. 3 เมื่อขอรังวัดเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดิน และปัจจุบันเป็นโฉนดที่ดินแล้ว แก้ไขได้ยากเนื่องจากระวางโฉนดที่ดินมีความแน่นอนกว่าระวางที่เป็นน.ส. 3 มาก หากจะดำเนินการดังกล่าวควรต้องทำตั้งแต่ในชั้นการยื่นคำขอรังวัดเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินตั้งแต่แรก เมื่อปัจจุบันที่ดินเป็นโฉนดแล้ว จะรังวัดใหม่ให้ได้เนื้อที่มากขึ้นจึงไม่สามารถทำได้เพราะได้ผ่านขั้นตอนการระวังชี้แนวเขตของเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ในการรังวัดขอเปลี่ยนน.ส.3 เป็นโฉนดที่ดินแล้ว
ถามต่อนะครับ
1. ถ้าที่ดินที่เหลือจากหลักหมุดโฉนดไปยังขอบตลิ่งลำธารเป็นของสาธารณะ แสดงว่าที่ดินทุกแปลงที่ในโฉนดระบุว่าติดคลองสาธารณะ ก็ไม่สามารถเกิดที่งอกริมตลิ่ง ตามมาตรา 1308 ได้ใช่ใหมครับ
2. ในการเกิดที่งอกริมตลิ่งจะต้องเกิดออกไปจากพื้นดินไปยังแหล่งน้ำ แน่นอนว่าจะต้องงอกไปจากหลังหลักหมุดโฉนดไปยังแหล่งน้ำ ดังนั้นถ้าเนื้อที่ดินจากหลักหมุดโฉนดไปยังขอบตลิ่งลำธารเป็นของสาธารณะ ดังนั้นที่งอกจะต้องตกเป็นของสาธารณะเหมือนกันใช่ใหมครับ เพราะในการปักหลักโฉนดด้านที่ติดกับลำคลองจะต้องปักห่างมากบ้างน้อยบ้าง 1 คืบบ้าง 2-3 เมตรบ้าง 10-15 เมตรบ้างแล้วแต่สภาพป่าบริเวณลำธาร
3. ในการรังวัดออกโฉนดในครั้งนั้น มีเจ้าหน้าที่รังวัด 1 คน และชาวบ้าน 4-5 คนที่จ้างรายวันมาช่วยทำการรังวัด ดังนั้น ลำธารสายเดียวกัน แปลงไหนเจ้าของที่ดินมีเงินจะทำเขื่อนกันตลิ่งพัง จึงสามารถปักหลักหมุดตรงสันตลิ่งหรือห่างประมาณ 1 คืบ แต่ถ้าแปลงไหนชาวบ้านยากจน จะต้องปลูกต้นไผ่ และต้นไม้เพื่อกันตลิ่งพัง เพราะทุกปีในฤดูน้ำ น้ำจะเชี่ยวมาก แต่ไม่ท่วมตลิ่ง ถ้าทำการโค่นต้นไม้จะทำให้ตลิ่งถูกน้ำกัดเซาะพังทุกปี ทางเจ้าหน้าที่รังวัด จึงต้องหลบแนวต้นไม้เพื่อให้ง่ายต่อการรังวัด และไม่ตัดต้นไม้เพราะกลัวน้ำกัดเซาะตลิ่ง จึงทำให้ต้องเว้นไว้ จากสันตลิ่งมายังหลักหมุดโฉนด มากบ้าง น้อยบ้าง 2 -5 เมตร 10-20 เมตร แล้วแต่สภาพต้นไม้บริเวณลำธาร จึงทำให้เนื้อที่ดินในโฉนดกับเนื้อที่ดินไม่ตรงกัน คือในโฉนดมี 6 ไร่ เนื้อที่ดินจริงมี 7 ไร่
4. ถ้าในโฉนดระบุว่าติดคลอง ลำธาร ลำห้วย สาธารณะ ไม่ทราบว่าขอบเขต สาธารณะ เริ่มจากตรงไหนถึงตรงไหนครับ
5. ถ้าเนื้อที่ดินที่เหลือจากหลักหมุดโฉนดเป็นของสาธารณะ ทำไมลำธารสายเดียวกัน แปลงที่ไม่มีแนวต้นไม้ จึงปักหลักหมุด ห่างจากสันตลิ่งเพียง 1 คืบ แต่ถ้าแปลงไหนมีแนวต้นไม้กันตลิ่งพังจึงเว้นไว้ 5-10 เมตร 10-20 เมตร แล้วแต่สภาพต้นไม้บริเวณลำธาร ทำไมไม่ทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ว่าจะเว้นไว้เป็นของสาธารณะกี่เมตร
6. ในการมารังวัดออกโฉนด มีเจ้าหน้าที่ที่ดิน 1 คน ที่เหลือเป็นชาวบ้านมาช่วย ไม่ได้มี ขนส่งทางน้ำฯ มาชี้เขตลำธาร ไม่ได้มีเจ้าหน้าที่กรมธนารักษ์มาชี้เขตที่ราชพัสดุ
7 ใน นส.3ก ก่อนเป็นโฉนดระบุติดคลองสาธารณะ พอเป็นโฉนดระบุติดคลองสาธารณะ แต่เนื้อที่ไม่เท่ากัน ใน นส.3 มีมากกว่า ในโฉนด เพราะส่วนที่ขาดไปคือส่วนที่ ปักหลักหมุดห่างจากสันตลิ่ง และเป็นที่รู้กันมาตลอดว่าลำธารสาธารณะคือจากสันตลิ่งลำธารไปยังแหล่งน้ำ หรือบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึงในฤดูน้ำปกติ
ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ เพื่อเป็นความรู้ครับ