คือที่หมู่บ้านผมมีการสร้างฟาร์มหมูของบริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งขึ้นหลายฟาร์มคือประมาน20-30ฟาร์มในตำบลเดียวกัน อยากสอบถามว่าไม่มีกฏหมายควบคุมจำนวนฟาร์ามใช่ไหมครับ ขอบคุณครับ
nice blog! its interesting. thank you for sharing.
ใช่ครับเป็นเช่นนั้นจริงๆและคนที่ทำฟาร์มหมูก็มีแต่กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน,ผู้ช่วย,สท.,อบต,นายกเทศมนตรีไปจนถึงเครือญาติคนละฟาร์มสองฟาร์มขึ้นเป็นป่าเห็ด ซึ่งเรียกได้ว่าผู้มีอิทธิพลก็ว่่าได้ครับ
การตั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่)
ก็ยังมีกฎหมายควบคุมดูแลในเรื่องนี้อยู่ ได้แก่ พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
และมีกฎหมายแม่บท คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.420 (การละเมิด) คือ ถ้าการทำฟาร์มฯ มีการปล่อยปละละเลยให้เกิดมลพิษแก่ชุมชน ก็สามารถใช้ช่องทางนี้ฟ้องร้องให้ยุติการกระทำ และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
เท่าที่พบเห็นในสภาพที่แท้จริง ผู้ประกอบการ มักจะใช้วิธี ทำประชาคมคือเรียกประชุมมวลชน ในหมู่บ้านและตำบลที่จะสร้างฟาร์ม มวลชนก็ประกอบด้วยผู้นำท้องถิ่น(กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน /สมาชิกสภาท้องถิ่น ของ อบต.และเทศบาล) และประชาชนบางส่วน(ที่เลือกสรรแล้ว) สาระสำคัญคือ มวลชนที่เข้าประชุมต่างมีมติเห็นชอบให้ก่อสร้างฟา่ร์มได้ ทุกคนลงลายมือชื่อในเอกสาร ให้ความยินยอมให้สร้างฟาร์ม ตามเอกสารที่เตรียมการณ์ไว้อย่างพร้อมมูล ทำไมเรื่องจึงง่ายดายปานนั้น เพราะมีอะไร มาดลใจให้พวกเขาเห็นดีเห็นงาม คงไม่ต้องบอกน่าจะพอเดาได้ ผู้ประกอบการก็นำเอกสารที่ทำประชาคม(ที่ผ่าน..) ไปอ้าง หน่วยงานของราชการ..อ้างกับสถา่บันการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อ ธุรกิจนี้ มีทุนเป็น ร้อยล้าน พันล้านบาท จึงมีเดิมพันที่สูงมาก คนเดือดร้อน ก็คือประชาชนส่วนใหญ่ แต่เสียงของพวกเบามากๆ เพราะคำว่า ผ่านประชาชนแล้ว กลบเสียงและความเดือดร้อนของพวกเขาหมดสิ้น จากที่เคยพบในสถานที่จริง วัวควายของชาวบ้านไม่สามารถไปและเล็มหญ้า ตามบริเวณใกล้เคียงฟาร์มได้ เพราะฝูงแมลงวันเป็นหมื่นเป็นแสนตัว มาตอมสัตว์เลี้ยงให้ต้องเผ่นหนี กลิ่นเหม็นส่งไปไกลเป็นกิโลฯ คนเดือดร้อนไปทั่ว แหล่งน้ำที่เคยใช้มาแต่ปู่ย่าตายายกลายเป็นน้ำเนาเสีย แต่ก็ได้แต่เพียงรำพึงพัน มองหน้ากันแบบหมดอาลัยในชีวิต ถ้าคิดจะฟ้องร้องฐานละเมิด คนจนๆที่ไหนจะไปกล้าเสี่ยง เพราะอิทธิมืดมันมีอยู่จริง ก็เข้าใจหัวอกผู้ถาม จึงตอบไปตามประสบการณ์และที่เห็นจริง ด้วยความปรารถนาดี ครับ
ปรึกษากฎหมาย โทร.02-948-5700,02-939-1291,081-625-2161, 081-916-7810 ในเวลาราชการ( วันจันทร์-วันศุกร์)
ปรึกษาคดีหมิ่นประมาท,คดีเช่าซื้อ,คดีกู้ยืม,คดีค้ำประกัน โทร.081-916-7810
*********************************************
รับฟังการ Live สด ให้ความรู้ทางด้านกฎหมายและการเมือง
ทาง facebook : ทนายคลายทุกข์ และ YouTube : ทนายคลายทุกข์ ได้ทุกวันครับ
*************************