WebBoard :กฎหมาย|ทุบกำแพงทำทางเข้าออก

ทุบกำแพงทำทางเข้าออก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ทุบกำแพงทำทางเข้าออก

  • 457
  • 2
  • post on 6 ก.พ. 2566, 22:54

สวัสดีครับ คุณมโนธรรม


เรียนสอบถามครับ   ตอนนี้ ทาง นิติบุคคลหมู่บ้าน ยินยอมให้ผมทุบกำแพง ที่ทำค้างเอาไว้ เป็นทางเข้าออกแล้วครับ  แต่ผมไม่แน่ใจว่า  จะมีอะไรแปลกๆ ระหว่างทำประตูหรือเปล่า  เพราะเค้าอนุญาติเหมือนไม่ค่อยเต็มใจให้ทำ  แต่เหตุผลที่เค้าต้องยอมคือ  เค้ามาดูหลักหมุด เห็นว่า กำแพงอยู่หลังหลักหมุด  แสดงว่า เป็นของเรา 

100 %  นิติจึงยอม  แต่ผมอยากทราบคือ 

    สมมุตินะครับว่า 

กรณีที่ 1  ถ้าผมทำเป็นประตูเข้าออกได้ แต่นิติ เขาไม่อนุญาติให้ผมเทปูนออกมาที่ถนนเพื่อให้รถสามารถวิ่งเข้าออกได้  โดยบอกว่า ส่วนที่อยู่นอกรั้วเป็นของนิติ  นิติไม่อนุญาติให้เทปูนทับอิฐตัวหนอน ซึ่งปัจจุบันมันเป็นเหมือนฟุตบาท  อย่างนี้มันเหมือนกลั่นแกล้งผม แบบนี้จะทำยังไงครับ

กรณีที่ 2  ถ้า นิติ บอกว่า  ถ้าจะทำทางออก ต้องซื้อทางเข้าออก เคยได้ยินคนเขาว่ากัน อยากทราบว่า นิติมีสิทธิ์ทำได้หรือครับ มันเป็นทางที่ต้องเอื้อประโยชน์ให้ลูกบ้านอยู่แลัว

ขอคำแนะนำด้วยครับ 

ขอบคุณครับ

โดยคุณ อิสิวัชร์ (101.108.xxx.xxx) 6 ก.พ. 2566, 22:54

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

สอบถามเพิ่มเติมครับ

  ผมอยากทราบว่า   นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร  มีอำนาจมากกว่าลูกบ้าน หรือครับ ผม งง ไม่เข้าใจ  ผมคิดว่า นิติบุคคล  น่าจะ อำนวยความสะดวก ให้แก่ลูกบ้าน ไม่ว่าลูกบ้านจะทำอะไร  ตามที่ลูกบ้านมีสิทธิ์ในขอบเขตบ้านของตน  แต่ความรู้สึกเหมือนกำลัง สู้รบ กับผู้มีอำนาจ เหมือนอยู่ในคุก เลยครับ

โดยคุณ อิสิวัชร์ 8 ก.พ. 2566, 23:03

ตอบความคิดเห็นที่ 2

กาารแก้ปัญหาต้องว่าไปตามขั้นตอน

   หลักการ นิติบุคคล   ต้องมีการจดทะเบียนฯ  มีวาระเข้ามาดำรงตำแหน่งตาม ข้อบังคับทื่จด ทะเบียนไว้ มีอำนาจหน้าที่ ตามขอบอำนาจของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้  ดังนั้นคณะผู้บริหารนิติฯ ก็คงไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จะทำอะไรตามอำเภอใจคงไม่ได้  ต้องเป็นตามขอบอำนาจและระเบียบข้อบังคับฯ   ถ้าลูกบ้านเห็นว่า มีการบริหารงานไม่ชอบ   ก็มีวิธีแก้ไขได้ เช่น  ในการประชุมฯ ก็สามารถเสนอวาระการประชุม หรือประเด็นที่สงสัย  ที่ไม่อำนวยความสะดวกแก่ลูกบ้านได้เสมอ  โดยหลักการตัดสินปัญหา  จะใช้หลักประชาธิปไตย  คือใช้มติของเสียงส่วนใหญ่ในการตัดสิน  ที่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับ  และกฎหมายที่เกี่่ยวข้อง....ปัญหาที่ท่า่นประสบอยู่  ถ้าเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม  ก็ใช้ที่ประชุมใหญ่แก้ไขปัญหา   ถ้าไม่ได้ผล  ก็สามารถร้อง สคบ.(1166) ให้ช่วยเหลือแก้ไข  ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ต้องใช้ฟ้องร้องทางศาล...ปัญหาที่พบเสมอ  คือลูกบ้านส่วนใหญ่มักไม่เข้าร่วมประชุม   หรือถ้านิติฯไม่จัดการประชุม อย่างน้อยเดือนละครั้ง  ก็ไม่มีใครโต้แย้ง   จึงเป็นช่องทางให้ นิติฯบุคคลบางแห่ง  ได้เถลิงอำนาจ ใช้อำนาจตามอำเภอใจ เพราะลูกบ้านใช้สิทธิ์ของตนไม่ครบถ้วน    ข้ออ้างที่มักได้ยินเสมอคือ ไม่มีเวลา  หรือไม่สนใจ ที่ตอบปัญหานั้นตอบแบบกลางๆ   ไม่ได้เอนเอียงไปทางฝ่ายใด   ตอบไปตามหลักการเท่านั้น   ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 9 ก.พ. 2566, 09:20

ความคิดเห็นที่ 1

การทุบกำแพง เพื่อทางออก


หลักการ...  การทำบ้านจัดสรร  ต้องมีการขออนุญาต  พร้อมยื่นแบบแปลน ระบุที่ส่วนกลาง  ส่วนบุคคล ชัดเจน....การที่นิติฯอนุญาตให้ทุบกำแพงทำทางออก  ควรให้นิติฯออกเป็นหนังสือให้ความยินยอม  ถ้ายินยอมด้วยวาจา ถ้าเขากลับลำว่าไม่เคยอนุญาตให้ทำ  คงมีปัญหาตามมามากมาย   เรื่องเทปูน  เพื่อทำทางออก  ถ้านิติฯอ้างว่า การเทปูนทำให้ สมาชิกในหมู่บ้านคนอื่นๆ  ใช้ประโยชน์ไม่ได้  การห้ามของเขาก็มีเหตุผลที่โต้แย้งได้ลำบาก.และข้ออ้างที่โต้แย้งได้ลำบากที่สุดคือ  การขออนุญาตสร้างบ้านจัดสรร ได้ยื่นแบบแปลลนไว้ชัดเจนแล้ว  ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง  คงต้องยื่นคำร้องต่อหน่วยงาน(กรมที่ดิน)  เขาคงอ้างว่าทำได้ลำบาก หรือทำไม่ได้  ก็ย่อมมีปัญหาค้างคากันต่อไป...ทางออกที่ดีที่ดีที่สุด  ต้องใช้การเจรจา มีคนกลางช่วยเหลือ คงมีทางออกที่สันติ  ถ้าใช้หลักกฎหมายมา โต้แย้งกัน หรือหักล้างกัน  คงเกิดประเด็นปัญหาไม่รู้จบ....หรือเข้าพบ  อัยการคุ้มครองสิทธิ์ ในเขตที่หมู่บ้านตั้งอยู่  ให้ช่วยเหลือเคลียร์ปัญหา  โดยเชิญคู่กรณีมาเจรจากัน  น่าจะมีทางออกที่สันติ  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 7 ก.พ. 2566, 15:30

แสดงความเห็น