WebBoard :กฎหมาย|ลักทรัพย์ของในห้าง

ลักทรัพย์ของในห้าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ลักทรัพย์ของในห้าง

  • 954
  • 2
  • post on 7 ม.ค. 2566, 20:05

สวัสดีค่ะ สอบถามค่ะ ทำผิดมากๆในการขโมยของในห้างเป็นอุปกรณไฟฟ้า ราคารวมๆ1500 จากนั้นมีการส่งตัวต่อให้ตำรวจทำเรื่อง ได้ทำเรื่องประกันตัวออกมาหนึ่งแสนบาท พนักงานสอบสวนนัดให้ไปรายงานตัวเป็นระยะ ตอนนี้อยุ่ขั้นรายงานตัวครั้งที่2 ยอมรับผิดทุกประการค่ะ เหตุการทำครั้งแรก ในศาลจะมีโอกาสรอลงโทษหรือค่าปรับยังไงบ้างคะ 

โดยคุณ ฟ้า (xxx) 7 ม.ค. 2566, 20:05

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

แฟนขโมยเงินตู้เซฟในโลตัส 50,000 ติดคุกกี่ปี

โดยคุณ เกษ 22 ก.พ. 2567, 12:40

ความคิดเห็นที่ 1

การลักทรัพย์

  ข้อเท็จจริง  ที่บอกไม่ชัดเจนว่า เหตุเกิดในเวลาใด  ถ้าเป็นเวลากลางคืน   จะมีความผิด  ตาม ปอ. ม.335(1) มีโทษจำคุก 1-5 ปี ปรับสองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท....ถ้าเหตุเกิดในเวลากลางวัน  คงมีความผิดตาม ปอ. ม.334 มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท...แต่คงไม่่มีความผิดตาม ปอ.ม.335 (8) คือลักทรัพย์ในเคหสถาน ซึ่งมีโทษตาม ปอ. ม.335(1) ตามแนวฎีกาที่ 2193/2531

 แนวทางการแก้ไข  ถ้ากระทำความผิดจริง  ควรให้การรับสารภาพแต่แรก (ทั้งชั้นตำรวจ  อัยการ และศาล)และยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย ศาลคงปรานี ลงโทษสถานเบา ถ้าไม่เคยต้องโทษมาก่อน  อาจจะ...ได้รับรอการลงโทษ (ตามปอ. ม.56) และตาม ปอ. ม.78 การรับสารภาพ อาจจะ..ได้รับลดโทษกึ่งหนึ่ง แต่อย่างไร  ก็ตาม  เรื่องนี้เป็นดุลยพินิจของศาลเท่านั้น จะให้ยืนยันว่า ต้องได้รับโทษอย่างไร คงยืนยันไม่ได้

แนวคำพิพากษาศาลฎีกา เทียบเคียง
  ฎีกาที่ 2193/2531







 

.
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 8 ม.ค. 2566, 08:05

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ทางห้างไม่ได้ให้ชดใช้ค่าเสียหายและเอาของกลับไปค่ะ

เหตุเกิดช่วงทุ่มครึ่ง รับสารภาพทุกอย่างตั้งแต่ต้นค่ะ ทำครั้งแรกครั้งเดียว รุ้สึกผิดจริงๆ เบื้องต้นทางครอบครัวสอบถามตำรวจห้างว่าในศาลมาด้วยใช่ไหม บอกว่าเขาจบแล้ว ในศาลก้อจะไม่ได้มา หมายความว่ายังไงหรอคะ เพิ่งได้งานใหม่ด้วย กลัวจะต้องติดคุกต้องออกจากงานอีก 

โดยคุณ ฟ้า 8 ม.ค. 2566, 12:30

ตอบความคิดเห็นที่ 1

แนวคำพิพากษาศาลฎีกา เทียบเคียง


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 8 ม.ค. 2566, 08:07

ตอบความคิดเห็นที่ 1


แนวคำพิพากษาศาลฎีกา เทียบเคียง
  ฎีกาที่ 2193/2531







 

.
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 8 ม.ค. 2566, 08:06

แสดงความเห็น