WebBoard :กฎหมาย|แม่นำบ้านไปจำนองโอดีเปิดบริษัท แล้วลูกจะใช้หนี้ให้แม่โดยการทำการซื้อบ้านจากแม่เพื่อป้องการที่แม่จะเรียกร้องบ้านคืนในภา

แม่นำบ้านไปจำนองโอดีเปิดบริษัท แล้วลูกจะใช้หนี้ให้แม่โดยการทำการซื้อบ้านจากแม่เพื่อป้องการที่แม่จะเรียกร้องบ้านคืนในภา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

แม่นำบ้านไปจำนองโอดีเปิดบริษัท แล้วลูกจะใช้หนี้ให้แม่โดยการทำการซื้อบ้านจากแม่เพื่อป้องการที่แม่จะเรียกร้องบ้านคืนในภา

  • 643
  • 7
  • post on 29 ธ.ค. 2564, 21:11

แม่นำบ้านไปจำนองโอดีเปิดบริษัท  แล้มีปัญหา  ลูกจะใช้หนี้ให้แม่โดยการทำการซื้อบ้านจากแม่เพื่อป้องการที่แม่จะเรียกร้องบ้านคืนในภายหลัง(กรณีถ้ายกให้เพราะเป็นลูก)สามารถทำได้ไหม แล้วเจ้าหนี้รายอื่นของแม่ทั้งสรรพากร แบ๊งค์หรือลูกหนี้อื่นๆสามารถมายึดบ้านที่ลูกซื้อได้หรือไม่ค่ะ  ลูกไม่รับผิดชอบหนี้สินกิจการบริษัทแม่ได้ไหมค่ะ


โดยคุณ A (xxx) 29 ธ.ค. 2564, 21:11

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 7


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ม.ค. 2565, 10:50

ความคิดเห็นที่ 6


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ม.ค. 2565, 10:49

ตอบความคิดเห็นที่ 6


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ม.ค. 2565, 10:49

ความคิดเห็นที่ 5


านพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องปฏิบัติอีกต่างหาก   แต่..การล้มละลายของแม่  เป็นเรื่องเฉพาะตัวของแม่  ลูกๆไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ล้มละลายนั้น  แต่ความเป็นแม่ลูกกัน  ก็ย่อมมีผลกระทบทางสังคมพอสมควร     อย่างไรก็ตาม   ถ้าแม่ถูกศาลสั่งใหเป็นบุคคลล้มละลาย  ถ้าปฏิบัติตามเงื่อนไข ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์  เช่นแจ้งทรัพย์สินต่างๆของตนไม่ปิดบัง   ภายในสามปี คงได้รับการปลดจากบุคคลล้มละลาย   ที่ปลอดจากการเป็นหนี้สินทั้งปวง  จึงเกิดมิติใหม่ของสังคม  ที่มีบุคคลอยากล้มละลาย  เพราะเพียงสามปี เมื่อได้รับการปลดจากบุคคลล้มละลาย  ก็สามารถมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข   หนี้สินทั้งหลายที่เคยมี ก็จะถูกปลดทิ้งไป ตามบทบัญญัติของกฎหมาย  ทำนองล้างไพ่ใหม่....แต่บางทีการตอบมากไปเกินกว่าที่ถาม   อาจจะทำให้ยิ่ง งง ก็ได้  ถ้ายังสงสัยก็สามารถถามได้อีกเสมอ   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ม.ค. 2565, 10:48

ตอบความคิดเห็นที่ 5


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ม.ค. 2565, 10:48

ความคิดเห็นที่ 4


ใหม่ของสังคม  ที่มีบุคคลอยากล้มละลาย  เพราะเพียงสามปี เมื่อได้รับการปลดจากบุคคลล้มละลาย  ก็สามารถมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข   หนี้สินทั้งหลายที่เคยมี ก็จะถูกปลดทิ้งไป ตามบทบัญญัติของกฎหมาย  ทำนองล้างไพ่ใหม่....แต่บางทีการตอบมากไปเกินกว่าที่ถาม   อาจจะทำให้ยิ่ง งง ก็ได้  ถ้ายังสงสัยก็สามารถถามได้อีกเสมอ   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ม.ค. 2565, 10:46

ตอบความคิดเห็นที่ 4


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ม.ค. 2565, 10:47

ความคิดเห็นที่ 3


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ม.ค. 2565, 10:46

ความคิดเห็นที่ 2

เจ้าหนี้ต้องดำเนินคดีภายในสามเดือนที่ทราบเรื่อง  ถ้าพ้นห้วงเวลานี้  คดีจะขาดอายุความ....  หมายถึงเรื่องการโอนหรือยังไงค่ะ ถ้าหากการโอนเกินสามเดือน จะขาดอายุความเหรอค่ะ   แล้วเจ้าหนี้ สรรพากรมีสิทธิไปเรียกร้องหนี้กะลูกไหมค่ะ  ถ้าหากมีการเพิกถอนก็เท่ากับลูกเสียเงินไปฟรีๆ  ใช่ไหมค่ะ   แล้วหนี้สินบริษัทลูกๆต้องรับผิดชอบด้วยไหมค่ะ  หากแม่และบริษัทถูกฟ้องล้มละลายจะมีผลต่อลูกอย่างไรบ้างค่ะ




โดยคุณ A 1 ม.ค. 2565, 10:16

ตอบความคิดเห็นที่ 2

เจ้าหนี้ต้องดำเนินคดีภายในสามเดือนที่ทราบเรื่อง  หมายวามว่าเจ้าหนี้ทุกรายเช่น สรรพากร แบ๊งค์  ต้องแจ้งความภายในสามเดือนหลังการโอนซื้อขายใช่ไหมค่ะ  หรือว่าหากโอนเกินสามเดือนแล้วก็ยังมีสิทธิเรียกคืนได้

โดยคุณ A 2 ม.ค. 2565, 09:32

ตอบความคิดเห็นที่ 2


มีความสุข   หนี้สินทั้งหลายที่เคยมี ก็จะถูกปลดทิ้งไป ตามบทบัญญัติของกฎหมาย  ทำนองล้างไพ่ใหม่....แต่บางทีการตอบมากไปเกินกว่าที่ถาม   อาจจะทำให้ยิ่ง งง ก็ได้  ถ้ายังสงสัยก็สามารถถามได้อีกเสมอ   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ม.ค. 2565, 10:45

ความคิดเห็นที่ 1

หนี้สินของแม่

  เมื่อแม่เป็นหนี้   ถ้าบุตรไปใช้หนี้แทนแม่  ถ้าต้องการให้แม่โอนที่ดินให้บุตร  ในการจดทะเบียนโอนที่ดิน  ก็ระบุให้ชัดเจนว่า   แม่ขายที่ดินแปลงนี้ให้บุตร  โดยบุตรต้องชำระหนี้จำนองแทนแม่ โดยระบุในสัญญาการโอนฯว่า เป็นการซื้อขายกัน  แม่จะไม่สามารถเรียกที่ดินจากบุตรคืนได้  เพราะไม่ใช่การให้บุตรโดยเสน่หา (ไม่มีค่าตอบแทน)
  ส่วนเจ้าหนี้รา่ยอื่นๆ เช่นสรรพากร หรือ สถาบันการเงินอื่นๆ  อาจจะเรียกร้องให้มีการเพิกถอนการโอนที่ดิน แปลงนี้ได้  ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่า การโอนที่ดินให้บุตรของแม่  ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ที่เรียกว่าการเพิกถอนการฉ้อฉล  ซึ่งเจ้าหนี้ต้องฟ้องร้องตั้งเป็นรูปคดีขึ้นมาว่า การโอนที่ดินให้บุตรของแม่  เจ้าหนี้เหล่านั้นเสียเปรียบอย่างไร  ถ้าการพิสูจน์ชัดเจนว่า การโอนฯทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ  ก็เพิกถอนการโอนได้   ก็แล้วข้อเท็จจริงเป็นรายๆไป....ส่วนความรับผิดทางอาญา  ถ้ามีข้อเท็จจริงว่า เจ้าหนี้  ได้ใช้ หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล (ในการเป็นหนี้ของแม่)  เมื่อแม่โอนที่ดินไปให้บุตร(ทำนองโอนหนีหนี้)  ก็เข้าข่ายความผิดฐานโกงเจ้าหนี้  ตาม ปอ. ม.350 (โทษจำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท) และบุตรผู้รับโอนฯ อาจจะต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ร่วมกระทำความผิด...ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้  สามารถยอมความกันได้   เจ้าหนี้ต้องดำเนินคดีภายในสามเดือนที่ทราบเรื่อง  ถ้าพ้นห้วงเวลานี้  คดีจะขาดอายุความ....
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 30 ธ.ค. 2564, 13:36

แสดงความเห็น