WebBoard :กฎหมาย|โดนนายจ้างบังคับให้เซ็นสัญญาห้ามทำงานกับบริษัทอื่นตอนลาออก

โดนนายจ้างบังคับให้เซ็นสัญญาห้ามทำงานกับบริษัทอื่นตอนลาออก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

โดนนายจ้างบังคับให้เซ็นสัญญาห้ามทำงานกับบริษัทอื่นตอนลาออก

  • 620
  • 1
  • post on 12 มิ.ย. 2564, 23:52

ผมและทุกคนที่ลาออกถูกนายจ้างบังคับให้เซ็นสัญญาโดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ครับ


ทั้งนี้ข้าพเจ้าขอรับรองว่าการลาออกครั้งนี้เป็นความสมัครใจของข้าพเจ้าเอง และไม่ประสงค์ที่จะเรียกร้อง หรือนำเรื่องขึ้นฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าชดเชย / ค่าเสียหายใดๆจากบริษัท และข้าพเจ้าสัญญาว่าตลอดระยะเวลา 24 เดือน หลังจากสิ้นสุดการเป็นพนักงานบริษัท จะไม่ทำการดังต่อไปนี้

1. เข้าไปมีส่วนร่วมไม่ว่าในกรณีใด ๆ ที่เป็นลักษณะแข่งขันกับบริษัท ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และจะไม่เปิดเผยข้อมูลของบริษัท

ลูกค้า หรือคู่ค้าของบริษัท ที่ข้าพเร้าได้รับทราบมาโดยตำแหน่งหน้าที่ หรือโดยทางใด ๆ ก็ตาม

ไม่เปิดเผย นำไปใช้ ยินยอมให้บุคคลอื่นนำไปซึ่งข้อมูลทางการค้าข้อมูลของลูกค้า ที่จะซื้อ หรือซื้อสินค้า และ หรือ บริการ

รวมทั้งการเข้าเป็นสมาชิกว็บไซค์ แอปพลิเคชัน หรือช่องทางอื่นๆ ที่บริษัทกำหนด อาทิเช่น

2.1 ข้อมูลส่วนตัวเช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปี สถานที่เกิด สถานภาพ ที่อยู่ ข้อมูลตามที่ระบุในบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทาง Line ID สำเนาบัตรประชาชน สำนาหนังสือเดินทาง ประวัติการสนทนาในแอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นต้น

2.2 ข้อมูลการติดต่อ เช่น อีเมล เบอร์โทร ที่อยู่ ช่องทางติดต่อในสื่อสังคมออนไลน์ สถานที่ทำงาน เป็นตัน

ข้อมูลเกี่ยวกับงาน เช่น อาชีพ ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน เป็นต้น

2.4 ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้า และหรือบริการ เช่น ประวัติการซื้อสินค้า งบประมาณการสั่งซื้อ ประวัติการเคลมสินค้า ข้อร้องเรียน

เป็นต้น

2.5 ข้อมูลที่ได้ให้ไว้เมื่อมีการติดต่อกับบริษัท หรือที่บริษัทให้บริการหลังการขาย การทำวิจัย และการสัมภาษณ์ เป็นต้น

2.6 ข้อมูลที่มีการเข้าชม และหรือซื้อสินน้ำออนไลน์ หรือเข้าชมเว็บไซค์หรือแอปพลิเคชั่น และ หรือในช่องทางต่างๆ ของบริษัท เป็นต้น

การรักษาข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้า เพื่อเป็นการรักมาข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของบริษัท คู่ค้า ลูกค้า ตัวแทน หรือตัวแทนจำหน่ายของบริษัท พนักงานตกลงที่จะรักษาความลับดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1 พนักงานจะต้องเก็บรักษาข้อมูลอันเป็นความลับไว้เป็นความลับภายใส้ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาฉบับนี้ และหรือข้อตกลงอื่นใดอันเป็นปกตินิยมที่เป็นแนวทางการคำเนินธุรกิจ

3.2 พนักงานจะไม่เปิดเผยข้อมูลไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่บุคคลใค เวันแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท

3.3 พนักงานจะไม่ใช้ข้อมูลอันเป็นความลับเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของบุคกลอื่นยิ่งไปกว่าประโยชน์ของผู้ให้ข้อมูล

3.4 พนักงานจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่บริษัท ในกรณีที่พนักงานไม่ปฏิบัติดามขังกำหนดและเงื่อนไขการรักษาความลับที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้

4. การนำข้อมูลความลับในทางการค้าในการประกอบธุรกิงในลักษณะการแข่งกัน

ลูกจ้าง พนักงาน คู่ค้า ที่ปรึกษา ตัวแทน หรือตัวแทนจำหน่ายของคู่สัญญา คู่ค้า ลูกค้า ตัวแทน หรือตัวแทนจำหน่ายของบริษัท

รวมถึงการทำงานที่มีลักษณะงานเป็นคู่แข่งหรืออันเอึ้งประโชชน์จากการใช้ข้อมูลของบริษัท ไม่ว่าจะในสถานะใดก็ตามโดย

เด็ดขาด

5. ในกรณีที่พนักงานกระทำผิดสัญญาข้อตกลงฉบับนี้ บริษัทถือว่าเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้าง จ และถึงได้ว่า ถือเป็นการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล และอันเป็นความลับ พนักงานจะต้องชดใช้ค่าเสียหายไม่น้อยกว่า 1,000.000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) และยินยอมชดใช้บรรดาค่า เสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในภายหลังให้แก่บริษัท รวมทั้งยินยอมให้บริษัทฟ้องร้องคำเนินคดีทั้งทางแพ่ง


รบกวนด้วยครับจะมีทางไหนที่พอทำได้ และทางไหนเอาผิดกับนายจ้างเพื่อที่พนักงานคนอื่นๆหลังจากนี้จะได้ไม่ต้องโดนบ้างครับ เขาเขียนสัญญาจะฟ้องเอาผิดเราแต่ห้ามเราฟ้องเอาผิกเขาอันนี้ไม่มีความยุติธรรมเลยครับ

โดยคุณ nuurat (162.158.xxx.xxx) 12 มิ.ย. 2564, 23:52

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การเลิกจ้าง


  ถ้าลาออกเอง  ถือว่านายจ้างไม่ได้เลิกจ้าง  นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย ตาม ม.118...  แต่ถ้าบีบบังคับให้ลาออก  สัญญาการลาออกนั้น ย่อมเป็นโมฆะ  ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม  ที่นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชย  ถ้าเจรจาให้จ่ายเงินชดเชยไม่ไม่ผล   ลูกจ้างควรรวมตัวกัน ฟ้องศาลแรงงาน...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 13 มิ.ย. 2564, 10:47

แสดงความเห็น