WebBoard :กฎหมาย|ขโมยของบิ๊กซี

ขโมยของบิ๊กซี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ขโมยของบิ๊กซี

  • 2766
  • 4
  • post on 16 เม.ย. 2562, 10:00

เหตุการณ์คือ ได้เข้าไปขโมยของในห้างบิ๊กซี โดยแกะเอาของออกจากแพ็คมาส่วนนึงแล้วทิ้งซากซองและสินค้าในซองอีกส่วน ราคาประมาณ 270 บาท ต่อมาถูกจับได้ ทางห้างได้พาไปเขียนเอกสาร(ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ เลขบัตรปชช.) ถ่ายรูป และถ่ายบัตรประชาชน พร้อมชำระค่าของที่ขโมยมา แต่ไม่ได้นำเรื่องส่งตำรวจ (พนง. บอกจบที่นี่ ไม่ดำเนินการต่อ) กรณีแบบนี้

1. ประวัติที่บันทึกไว้จะอยู่นานแค่ไหน แล้วถ้าจะฟ้อง สามารถทำได้ภายในอายุความใช่มั้ยคะ
2. เวลาเข้าไปซื้อของสาขาอื่นๆ จะเป็นอะไรมั้ยคะ เขาจะจำเราได้มั้ย
3. ห้างอื่นๆ เขาจะได้ประวัติด้วยมั้ย หรือต้องขอค้นข้อมูลจึงเจอ
4. ถ้าจะทำพาสปอร์ตหรือออกนอกประเทศจะมีปัญหาอะไรมั้ย
5. ถ้าถูกฟ้องจะโดนสองข้อหาใช่รึป่าวคะ ทำลายทรัพย์กับลักทรัพย์ใช่มั้ย
6. บริษัทอื่นๆ ในเครือของ thaibev (เนื่องจากบิ๊กซีเป็นของ thaibev) เขาจะมีข้อมูลเราด้วยมั้ย ถ้าไปทำงาน ดีลงาน จะมีชื่อเราปรากฏมั้ยคะ
7. นอกจาก พนง. ที่จับเราและให้กรอกเอกสารในวันนั้น จะมีคนทราบเรื่องนี้อีกมากแค่ไหนคะ หรือมันก็มีหลายๆ คน เขาคงจำไม่ได้ เว้นแต่มีความผิดอีกและได้เช็คข้อมูล
ตอนนี้เครียดและกังวลมากเลยค่ะ รู้สึกแย่สุดๆ เลย กังวลว่าจะส่งผลต่องานมากๆ เลยค่ะ เพราะเพิ่งได้เข้าทำงานราชการ อยู่ในช่วงตรวจประวัติอาชญกรรม เป็นความผิดครั้งแรกด้วย ไม่กล้าบอกใครเลยค่ะ รบกวนด้วยนะคะ
โดยคุณ พร้าว (172.68.xxx.xxx) 16 เม.ย. 2562, 10:00

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

เป็๋นไงบ้างครับตอนนี้

โดยคุณ max 4 ม.ค. 2566, 20:32

ความคิดเห็นที่ 3

รบกวนสอบถามเจ้าของกระทู้ครับ....ผลการตรวจสอบประวัติมีผลต่อการรับราชการไหมครับ
โดยคุณ Chai 24 ส.ค. 2562, 18:38

ความคิดเห็นที่ 2

งง  มีความรู้ดีขนาดนี้  ทำไมถึงต้องขโมย  

โดยคุณ anatta 26 เม.ย. 2562, 09:13

ตอบความคิดเห็นที่ 2

# ความโลภไม่เคยปรานีใคร


  ที่มีการลักทรัพย์  ก็เพราะความอยากมีอยากได้  ถ้าจิตใจไม่เข้มแข็งเพียง ย่อมพ่ายแพ้ต่อความโลภ  แม้จะมีความรู้ท่วมหัว  ก็เอาตัวไม่รอด....ก็มีข่าวในสังคมไม่เคยหยุดหย่อน  ที่มีการโกงกินบ้านเมือง เป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท  ต้นเหตุเพราะความโลภสถานเดียว.....ถ้ารู้จักคำว่าพอ   อยู่อย่างพอเพียง  พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่  ย่อมจะพบการความสงบสุขที่แท้จริง...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 29 พ.ค. 2562, 08:45

ความคิดเห็นที่ 1

ความผิดพลาดของชีวิต


1. ประวัติที่บันทึกไว้จะอยู่นานแค่ไหน แล้วถ้าจะฟ้อง สามารถทำได้ภายในอายุความใช่มั้ยคะ

ตอบ...การเก็บข้อมูล เป็นเรื่องของบริษัท(ห้าง) จะเก็บไว้นานเพียงใด คงตอบไม่ได้  คดีนี้ยอมความไม่ได้  อาจถูกดำเนินคดีได้ภายในอายุความ 10 ปี...  แต่..ห้างฯ  ประกอบธุรกิจ คงไม่ต้องการมีคดีความกับลูกค้า  ให้ต้องเสียภาพลักษณ์  ที่ทำบันทึกข้อมูลของคุณไว้โดยละเอียด  คงเป็นการป้องกันตนเองมากกว่า เพราะการ เรียกค่าเสียหาย โดยไม่ผ่านกระบวนการของศาล  ซึ่งบางห้างฯ เรียกค่าปรับเป็น 100  เท่า  ถ้ามีการฟ้องกลับว่า ถูกกรรโชกทรัพย์  ห้างฯ ย่อมเกิดความเสียหาย  เขาจึงเก็บหลักฐานไว้ เพื่อป้องตนเท่านั้น...
2. เวลาเข้าไปซื้อของสาขาอื่นๆ จะเป็นอะไรมั้ยคะ เขาจะจำเราได้มั้ย
ตอบ..ไม่น่าจะมี  ถ้าไม่ทำผิดซ้ำอีก..
3. ห้างอื่นๆ เขาจะได้ประวัติด้วยมั้ย หรือต้องขอค้นข้อมูลจึงเจอ
ตอบ..ตามข้อ  1 เขาคงเก็บไว้ป้องกันตนเองเท่านั้น ไม่น่าจะมีการออนไลน์ไปทุกๆห้างฯ
4. ถ้าจะทำพาสปอร์ตหรือออกนอกประเทศจะมีปัญหาอะไรมั้ย
ตอบ...ไม่มี... เพราะคุณไม่เคยถูกดำเนินคดี
5. ถ้าถูกฟ้องจะโดนสองข้อหาใช่รึป่าวคะ ทำลายทรัพย์กับลักทรัพย์ใช่มั้ย
ตอบ...คงฟ้องข้อหาลักทรัพย์ (โทษ 1-5 ปี) แต่เขาคงไม่ฟ้อง..
6. บริษัทอื่นๆ ในเครือของ thaibev (เนื่องจากบิ๊กซีเป็นของ thaibev) เขาจะมีข้อมูลเราด้วยมั้ย ถ้าไปทำงาน ดีลงาน จะมีชื่อเราปรากฏมั้ยคะ
ตอบ...คงตอบไม่ได้ว่า  คุณไม่ต้องไปกังวลอะไรมากมาย..
7. นอกจาก พนง. ที่จับเราและให้กรอกเอกสารในวันนั้น จะมีคนทราบเรื่องนี้อีกมากแค่ไหนคะ หรือมันก็มีหลายๆ คน เขาคงจำไม่ได้ เว้นแต่มีความผิดอีกและได้เช็คข้อมูล
ตอนนี้เครียดและกังวลมากเลยค่ะ รู้สึกแย่สุดๆ เลย กังวลว่าจะส่งผลต่องานมากๆ เลยค่ะ เพราะเพิ่งได้เข้าทำงานราชการ อยู่ในช่วงตรวจประวัติอาชญกรรม เป็นความผิดครั้งแรกด้วย ไม่กล้าบอกใครเลยค่ะ รบกวนด้วยนะคะ
ตอบ...ก็คงนำไปซุบซิบนินทากัน   ขอบอก...คุณอย่าไปวิตกกังวลจนเกินควร   ถ้ารู้สำนึก ไม่ไปทำผิดอีก ก็ไม่มีปัญหา..ถ้าจะรับราชการ  การตรวจประวัติจะไม่พบว่าเคยกระทำความผิด  เพราะยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม(คือยังไม่.. แจ้งความ สอบสวน อัยการ ส่งฟ้องศาล)....ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 17 เม.ย. 2562, 07:57

แสดงความเห็น