ตั้งมนตรี ยอดปัญญา เป็นปธ.ศาลฎีกา |ตั้งมนตรี ยอดปัญญา เป็นปธ.ศาลฎีกา

ตั้งมนตรี ยอดปัญญา เป็นปธ.ศาลฎีกา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตั้งมนตรี ยอดปัญญา เป็นปธ.ศาลฎีกา

\"มนตรี ยอดปัญญา\" เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่แทน \"สบโชค สุขารมณ์\"

บทความวันที่ 21 มิ.ย. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1929 ครั้ง


ตั้งมนตรี  ยอดปัญญา เป็นปธ.ศาลฎีกา 


 
"มนตรี ยอดปัญญา" เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่แทน "สบโชค สุขารมณ์" ที่จะเกษียณสิ้นก.ย.นี้ โดย ก.ต.มีมติเป็นเอกฉันท์ เพราะเป็นผู้พิพากษามากว่า 40 ปี อีกทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญคำพิพากษาฎีกาจำแม้กระทั่งเลขคดีและองค์คณะผู้พิพากษาได้หมด จนได้รับฉายาว่า “ตู้ฎีกาเคลื่อนที่” ก.ต.ยังแต่งตั้งรองประธานศาลฎีกาอีก 5 คน และมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป

ที่ ศาลฎีกา สนามหลวง เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 20 มิ.ย. นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ได้เป็นประธานการประชุม ก.ต. โดยมีวาระสำคัญคือการพิจารณาแต่งตั้งประธานศาลฎีกาคนใหม่แทนนายสบโชค ที่จะมีอายุครบ 65 ปี และจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้ โดยใช้เวลาประชุมพิจารณา 1 ชั่วโมงเศษ

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการประชุมมาว่า สำนักงานศาลยุติธรรมได้เสนอชื่อ นายมนตรี ยอดปัญญา รองประธานศาลฎีกาคนที่ 4 ที่มีอาวุโสสูงสุดจากบรรดารองประธานศาลฎีกาทั้ง 6 คน ให้ที่ประชุมพิจารณาเนื่องจากนายวิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ นายองอาจ โรจนสุพจน์ ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล รองประธานศาลฎีกา คนที่ 1– 3 จะเกษียณอายุราชการเช่นกัน จากนั้น นายมนตรี ซึ่งดำรงตำแหน่ง ก.ต. และได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานศาลฎีกา ขอถอนตัวออกจากการลงคะแนนเพราะเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยตรง แล้วในที่สุด ก.ต. ทั้งหมด 14 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายมนตรี ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาคนใหม่ต่อจากนายสบโชค

จากนั้น ก.ต. ได้ประชุมลงมติเลือกผู้พิพากษาศาลฎีกาขึ้นมาดำรงตำแหน่งรองประธานศาลฎีกาคนที่ 2–6 อีก 5 ตำแหน่ง ต่อจากนายไพโรจน์ วายุภาพ รองประธานศาลฎีกาคนที่ 5 ที่เลื่อนขึ้นไปเป็นรองประธานศาลฎีกาคนที่ 1 โดยที่ประชุม ก.ต. มีมติเห็นชอบให้ นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคฯ ศาลฎีกา นายมานัส เหลืองประเสริฐ ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจฯ ศาลฎีกา นายประทีป เฉลิมภัทรกุล ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมฯ ศาลฎีกา, นายสมศักดิ์ จันทรา ประธานแผนกคดีล้มละลายฯ ศาลฎีกา และ นายฐานันท์ วรรณโกวิท ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ ศาลฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกาคนที่ 2–6 ตามลำดับ โดยทุกตำแหน่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป

สำหรับประวัติ นายมนตรี ยอดปัญญา ปัจจุบันอายุ 63 ปี จะมีวาระดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา 2 ปี โดยจะเกษียณอายุราชการปี 2556 จบการศึกษาประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) มัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนพะเยาพิทยาคม พ.ศ. 2503-2508 มัธยมศึกษาปี 3 โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร พ.ศ. 2509 มัธยมปีที่ 4-5 โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ พ.ศ. 2511 คณะนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2516 เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภารุ่นที่ 27 พ.ศ. 2516

จากนั้นรับราชการเป็น ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่น ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยทำงานผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพิษณุโลก ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่งธนบุรี ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา

นอกจากนี้ นายมนตรี ยังเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประธานกรรมการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาทั้งสนามใหญ่และสนามเล็ก ผู้เชี่ยวชาญประจำตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549 โดยนายมนตรีนั้นได้รับการยอมรับจากผู้พิพากษาด้วยกันว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นอย่างสูง สามารถจดจำฎีกาที่บรรพตุลาการเคยมีคำวินิจฉัยไว้ได้อย่างแม่นยำทั้งเลขที่ฎีกา องค์คณะผู้พิพากษาที่ตัดสิน จนได้ชื่อว่าเป็น “ตู้ฎีกาเคลื่อนที่” และตลอดชีวิตผู้พิพากษากว่า 40 ปี ส่วนใหญ่ประจำอยู่ในศาลฎีกา

ขอขอบคุณรายงานข่าวและภาพประกอบ จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก