งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
เบี้ยปรับตามสัญญา
เบี้ยปรับตามกฎหมาย หมายถึง เงินที่ลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่า จะใช้เงินแก่เจ้าหนี้เป็นจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับในกรณีที่ตนไม่ชำระหนี้ เช่น การไม่ส่งมอบทรัพย์ตามสัญญาซื้อขายหรือเป็นผู้รับเหมาไม่ยอมลงมือก่อสร้าง หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควร เช่น การส่งมอบล่าช้า หรือการชำระหนี้ไม่ตรงตามสัญญา หรือชำรุดบกพร่อง เป็นต้น
คำถามที่ผู้อ่านถามเกี่ยวกับค่าปรับตามสัญญา ส่วนใหญ่มักจะถามว่า ปรับได้หรือไม่ และปรับได้มากน้อยเพียงใด เมื่อเรียกค่าปรับแล้วจะเรียกให้บังคับชำระหนี้ เช่น ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน จะเรียกทั้งค่าปรับและเรียกให้โอนที่ดินได้ด้วยหรือไม่ เป็นต้น ผมจึงได้รวบรวมและสรุปปัญหากฎหมายเกี่ยวกับค่าปรับที่เคยเป็นความในชั้นศาลมานำเสนอ เป็นรายประเด็นดังนี้
1.ทำบันทึกหลังผิดสัญญา โจทก์ว่าจ้างจำเลยติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เมื่อสัญญาครบกำหนดแล้ว จำเลยยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ต่อมาจำเลยทำบันทึกยอมรับว่า จำเลยไม่สามารถติดตั้งเครื่องปรับอากาศตามสัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ เพราะมิได้เป็นค่าเสียหายที่คู่ความตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการไม่ชำระหนี้
2.ลูกหนี้ไม่ผิดนัดเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ย ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์ดำเนินคดีเรียกเงินที่ค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทันที แสดงว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลย
3.ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด เบี้ยปรับเป็นหนี้เงินตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัด
4. สิทธิในการบังคับชำระหนี้และเรียกค่าทดแทน สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อกำหนดว่าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ยอมขายให้ ต้องให้ผู้จะซื้อปรับและคืนเงินมัดจำให้ผู้ซื้อด้วยนั้น ย่อมไม่ตัดสิทธิผู้จะซื้อที่จะบังคับชำระหนี้และเรียกค่าสินไหมทดแทนโดยถือเอาเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายเป็นจำนวนน้อยที่สุด
5. เรียกเบี้ยปรับแล้วไม่มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ ทำสัญญาตกลงกันว่าผู้ขายตกลงจะทำถนนผ่านที่ดินในส่วนของผู้ขายหลังจากแบ่งแยกโฉนดขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากผิดสัญญายอมให้ผู้ซื้อปรับผู้ขาย ข้อตกลงนี้เป็นเรื่องสัญญาจะให้เบี้ยปรับเมื่อไม่ชำระหนี้ เมื่อผู้ซื้อตกลงเรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกให้ทำถนนอีก
6.สิทธิในการเลือกปฏิบัติ สัญญาซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำสัญญาและจดทะเบียนตามกำหนด ผู้จะขายจะยอมให้ผู้จะซื้อปรับ 20,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วยโดยไม่มีข้อความตอนใดให้สิทธิผู้จะขายเลือกปฏิบัติไม่ยอมขายที่ดินให้ผู้จะซื้อก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เมื่อโจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายให้ขายที่ดินตามสัญญาและสภาพแห่งหนี้ก็เปิดช่องให้ศาลบังคับเช่นนั้นได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกปฎิบัติด้วย การขอคืนเงินมัดจำและยอมชำระค่าปรับให้โจทก์
7. สิทธิของเจ้าหนี้ในการเลือกว่าจะเรียกเบี้ยปรับหรือให้ชำระหนี้ ป.พ.พ.มาตรา 380 บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เลือกเรียกเอาเบี้ยปรับหรือเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ฉะนั้น ถ้าผู้ขายทำผิดสัญญาโดยไม่ยอมขายที่ดินให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องผู้ขายขอให้บังคับให้โอนขายตามสัญญาก็ได้
8. เบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายแล้วจะเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมไม่ได้ สัญญากำหนดเบี้ยปรับไว้ เมื่อมีการผิดสัญญาผู้ซื้อไม่บอกกล่าวว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับและไม่ได้บอกเลิกสัญญา ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับชำระหนี้ และเรียกค่าสินไหมทดแทน และเรียกเอาเบี้ยปรับในฐานะเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้
เมื่อเรียกเบี้ยปรับที่มีจำนวนสูงกว่าค่าเสียหายแล้วจะเรียกค่าเสียหายอีกไม่ได้
9. เบี้ยปรับตามสัญญาเช่า สัญญาเช่ามีความว่า “ หากผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะให้ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่า....ผู้เช่ายินยอมขนย้ายสิ่งของสัมภาระและบริวารออกจากอาคารที่เช่าภายใน 30 วัน ...หากครบกำหนดแล้ว ผู้เช่าไม่ยอมออกผู้เช่ายินยอมชำระค่าเบี้ยปรับแก่ผู้ให้เช่าจนกว่าจะออกจากอาคารที่เช่า” ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับและถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย แต่เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเต็มจำนวนที่โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยเสียเบี้ยปรับดังกล่าวให้โจทก์อีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องที่นอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง
10. เบี้ยปรับตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเป็นเงิน 53,200,000 บาท จำเลยที่ 1 ส่งมอบงาน 5 งวด รับเงินไปแล้ว 14,151,200 บาท เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาสร้าง จำเลยที่ 1 ไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันที่ธนาคารได้ส่งเงินตามสัญญาค้ำประกันจำนวน 2,660,000 บาท ที่ธนาคารส่งมอบให้แก่โจทก์จึงมิใช่มัดจำ แต่เป็นเงินประกันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง กำหนดว่าเจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ริบเบี้ยปรับแล้ว ต้องนำเบี้ยปรับที่ริบจำนวน 2,660,000 บาท ไปหักออกจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์ต้องไปจ้างบุคคลภายนอกให้ทำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในราคา 23,851,000 บาท ดังนั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเพียง 21,191,000 บาท
ก่อนที่ท่านจะลงนามในสัญญาทางการค้า ควรจะได้ศึกษาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการเรียกค่าปรับว่า มีการกำหนดให้สิทธิในการเรียกค่าปรับในกรณีคู่สัญญาไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ล่าช้าไว้ครบถ้วนหรือไม่ เพราะถ้าไม่มีการกำหนด ท่านไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับได้ และค่าปรับที่สูงเกินควร กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจลดค่าปรับลงมาให้เหมาะสมและสมควรตามความเป็นจริงได้