งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
คลิปเสียง วีดีโอเทป รับฟังเป็นพยานได้หรือไม่
ทนายเดชา ในฐานะทนายความ วิทยากรฝึกอบรมด้านกฎหมายและทวงหนี้ / นักสืบ ขอนำเสนอเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในทางวิชาการเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เช่น การบันทึกเสียง การบันทึกภาพ ภาพนิ่ง หลายท่านถามว่า ใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ซึ่งผมของตอบเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. การใช้คลิปเสียง/ภาพ/วีดีโอเทป นิยมใช้ในคดีชู้สาวมากที่สุด
2. คดีทางการเมือง เช่น คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผู้บันทึกเสียงคือ DSI (พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันตชัย) และบันทึกเสียงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์, เลขาธิการประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของประชาชนในขณะนี้ และยังมีการนำไปเผยแพร่เป็นคลิป VDO ใน YouTube มีผู้สนใจเข้าไปเยี่ยมชมนับแสนคน
3. คลิปเสียงคดีพนักงานสอบสวน ส่อไปในทางจะล้มคดีปูแดง ของ DSI ถูกบันทึกโดยอธิบดีธาริต เพ็งดิษฐ์
4. คดีหมิ่นประมาท ถูกบันทึกเสียงระหว่างมีการด่ากันทางโทรศัพท์หรือในที่สาธารณะ
5. คดียาเสพติด ใช้สำหรับสายลับบันทึกเสียงผู้ค้ายาเสพติดในระหว่างการล่อซื้อ
การรับฟังคลิปเสียง ถ้าผู้ที่มีเสียงอยู่ในคลิปยอมรับ สามารถรับฟังเป็นพยานวัตถุได้ แต่ถ้าไม่ยอมรับให้นำสืบประกอบว่า เป็นเสียงของผู้พูด ศาลจึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญ ห้ามตัดต่อ เพราะจะทำให้พยานหลักฐานดังกล่าว ขาดความน่าเชื่อถือ และศาลอาจไม่รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
ส่วนการรับฟังวีดีโอ ดังนั้น ถ้าใครจะนำมาเป็นพยานในชั้นศาล ห้ามตัดต่อ กฎหมายใช้คำว่า เป็นภาพและเสียงต่อเนื่อง เท่าที่ผมมีประสบการณ์ ถ้าเป็นวีดีโอเทป ศาลถือว่าชัดเจน แต่มีอยู่คดีหนึ่ง ซึ่งเมียน้อยไม่ยอมรับว่าเป็นตนเอง โดยอ้างว่าจำไม่ได้ว่าเป็นตนเองหรือไม่ ทั้งที่ภาพชัดเจน สุดท้ายศาลพิพากษาเชื่อว่าเป็นภาพของเมียน้อยจริง
คดีคลิป VDO การบันทึกคลิป VDO ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีข้อสงสัยว่าใครเป็นคนทำ ในความเห็นผมว่าน่าจะมาจากสิ่งดังต่อไปนี้
1. คู่กรณีฝั่งตรงข้ามของพรรคประชาธิปัตย์
2. กลุ่มบุคคลที่ไม่ชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลรัฐธรรมนูญบางท่าน
3. เกลือเป็นหนอน ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลใกล้ชิดกับตุลาการหรือแม้กระทั่งของพรรคประชาธิปัตย์เอง
4. เจ้าหน้าที่ภายในของศาล ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ แม่บ้าน รวมถึง รปภ. ที่อาจมีปัญหาการขัดแย้งกันภายใน
5. การถ่ายคลิป VDO ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนที่มีอาชีพนักสืบ ไม่ว่าจะเป็นนักสืบเอกชนหรือนักสืบของทางราชการ สามารถทำได้ เพราะการถ่ายทำสามารถใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก ซุกซ่อนในบริเวณของสถานที่ที่คาดว่าเป้าหมายจะไปเกี่ยวข้องหรือยิ่งกว่านั้น การเข้าไปถ่าย VDO ในห้องผู้พิพากษาหรือตุลาการ มีความเชื่อว่า ไม่น่าจะมีคนกล้าล้วงคองูเห่า แต่สำหรับนักสืบแล้ว ไม่ว่าคองูเหลือมหรือคองูเห่า ล้วงมาหมดแล้ว และไม่ได้ล้วงแค่คอ ล้วงไปถึงไส้เน่า ๆ ของข้าราชการระดับสูงและนักการเมือง ซึ่งเป็นคดีผ่านสื่อมวลชนมาหลายคดีแล้ว
6. มูลเหตุจูงใจในการถ่ายคลิป VDO มีทั้งอุดมการณ์ทางการเมือง ความเกลียดชังเป็นการส่วนตัว และผลตอบแทนที่คุ้มค่า ซึ่งอาจเป็นเงินหรืออำนาจทางการเมือง หรือเป็นการทดแทนบุญคุณ เป็นไปได้ทั้งนั้น
สุดท้ายนี้ขอเรียนว่า การแอบถ่ายคลิป VDO จะยังคงมีต่อไป ไม่ว่าบทลงโทษถึงขั้นประหารชีวิตหรือไม่ เพราะข้าราชการที่ทำไม่ดียังมีอยู่มาก แต่ถ้าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ ทำ คิด พูด แต่สิ่งที่ดี ไม่ต้องเกรงว่าใครจะมาแอบถ่ายนะครับ เพราะถ่ายไปก็ไม่ทำให้ท่านเสียหาย