ข้อกฎหมายที่ควรรู้ในการเป็นแขกรับเชิญในการออกรายการ|ข้อกฎหมายที่ควรรู้ในการเป็นแขกรับเชิญในการออกรายการ

ข้อกฎหมายที่ควรรู้ในการเป็นแขกรับเชิญในการออกรายการ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อกฎหมายที่ควรรู้ในการเป็นแขกรับเชิญในการออกรายการ

  • Defalut Image

 วันนี้ทนายคลายทุกข์จะนำคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1

บทความวันที่ 30 พ.ค. 2567, 09:22

มีผู้อ่านทั้งหมด 253 ครั้ง


ข้อกฎหมายที่ควรรู้ในการเป็นแขกรับเชิญในการออกรายการ
               วันนี้ทนายคลายทุกข์จะนำคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งได้ตัดสินวางบรรทัดฐานในกรณีมีแขกรับเชิญไปร่วมออกรายการทางทีวีจะต้องรู้ไว้ว่า การตั้งคำถามหรือการตอบคำถามแบบใด จึงจะไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท คดีนี้เป็นคดีที่น่าสนใจ ผมนำคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มาเผยแพร่เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการให้สัมภาษณ์ขณะออกรายการทีวี เพราะทุกวันนี้พิธีกรได้เชิญแขกรับเชิญจำนวนมาก มานั่งถกกันในรายการและต้องตกมาเป็นจำเลย ลองศึกษาจากคำพิพากษาโดยย่อดังนี้นะครับ ลองอ่านดู
    โจทก์อุทธรณ์
    ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า คดีของโจทก์มีมูลหรือไม่ โจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า โดยจำเลยให้สัมภาษณ์ต่อหน้าพิธีกรในรายการคือ ป. ด้วยข้อความหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ตามฟ้อง เห็นว่า ถ้อยคำของจำเลยที่ให้สัมภาษณ์ต่อรายการโทรศัพท์ ว่า “ครับ คืออาจารย์...เนี่ย แกเป็นครูบาอาจารย์ เวลาแกพูดไรแกต้องมีศีลธรรมอันดี อยู่แล้ว...” “ผมจะเล่าให้คุณป....ฟังนะ... อาจารย์.....เอาภาพของนาย ก..เนี่ย เอาไปแขวนตั้งหลายรอบ เพราะฉะนั้นเนี่ย นายก... เขาได้รับความเสียหาย เขาจึงมีสิทธิทางศาลหลังปีใหม่นอกจากนั้นแล้วก็ยังเอา...” และ “เขามีทนายของเขาแล้วครับ ก็ ทนาย ต....เสร็จแล้วเนี่ยอาจารย์....ยังเอาข้อมูลที่ถูกดำเนินคดีต่างๆ ของเลขาคุณ ค.ไปโพสต์อีก อันนั้นเขาก็ใช้สิทธิทางศาลเหมือนกันครับ ขอบคุณมากที่ผมได้มีโอกาสพูดในรายการ...” เป็นเพียงการกล่าวตอบคำถามถึงโจทก์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้สั่งสอนวิชาความรู้ ซึ่งบุคคลอื่นให้ความเคารพยกย่อง เวลาโจทก์จะพูดก็ต้องเป็นคำพูดที่ดีที่ชอบ และตอบเรื่องข้อกฎหมายการใช้สิทธิทางศาลของบุคคลที่พิธีกรถามถึงเป็นการบอกเล่าข้อเท็จจริงให้พิธีกรทราบตามที่จำเลยทราบมา ส่วนถ้อยคำว่า “เรื่องหมาตาย...อาจารย์.....เนี่ยเป็นครูบาอาจารย์นะครับ ทหารเรือเนี่ย เรืออัปปางแล้วตาย ไปแฮชเท็กว่าหมาตายเนี่ยเหมาะสมไหมครับ...เหมาะสมไหมครับ  คุณป.. ไปบอกว่าหมาตาย หมาตายทหารเรือ...” ก็เป็นเพราะโจทก์โพสต์ภาพถ่ายที่โจทก์ไปให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับวิธีการกู้เรือหลวงกรณีที่เรือหลวงสุโขทัยอับปางซึ่งรายการข่าวพาดหัวข้อข่าวว่า “อ....ชื่อศพทหารติดในซากเรือ” พร้อมกับข้อความว่า “ขอบคุณครับ #กศน #หมาตาย” ประชาชนทั่วไปที่ได้เห็นภาพถ่ายพร้อมข้อความดังกล่าวจึงอาจเข้าใจได้เช่นจำเลยว่าเป็นข้อความที่ไม่เหมาะสม โดยภาพถ่ายที่โจทก์โพสต์กับข้อความก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งยังปรากฏว่า ภายหลังจากโจทก์โพสต์ภาพถ่ายและข้อความดังกล่าว โจทก์ได้ลบโพสต์ แสดงให้เห็นว่าตัวโจทก์เองก็เห็นว่าโพสต์ดังกล่าวนั้นเป็นโพสต์ที่ไม่เหมาะสม การที่จำเลยวิจารณ์การกระทำของโจทก์ เกี่ยวกับที่โจทก์โพสต์ภาพถ่ายและข้อความในเฟซบุ๊กที่จำเลยเห็นว่าไม่เหมาะสมในฐานะที่โจทก์เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นที่เคารพนับถือของลูกศิษย์และบุคคลทั่วไปด้วยยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ไม่เป็นการหมิ่นประมาท ทั้งมิได้เป็นการดูถูกเหยียมหยาม สบประมาท หรือทำให้โจทก์ต้องอับอายแต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์ และจำเลยกล่าวว่า “ด่านายก...ว่า เรียนจบ กศน. ด่านายก...เหมาะสมมั้ย” และ “ควรเป็นอาจารย์มั้ย ควรเป็นอาจารย์ ไปด่าเขา ด่านาย ก...ว่าจบการศึกษานอกโรงเรียน” นั้น ซึ่งตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของคำว่า “ด่า” ว่า “ใช้ถ้อยคำว่าคนอื่นให้เสียหาย มักใช้คำหยาบหรือคำที่มีความหมายส่อไปในทางไม่ดี, ตำหนิ” ลำพังเพียงโจทก์ว่านาย ก..เรียนจบ กศน. ก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์กล่าวว่านายก....เป็นคนไม่ดีอย่างไร ที่จำเลยกล่าวว่าโจทก์ด่านายก...นั้น เป็นเพียงแต่จำเลยใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม เหตุที่จำเลยกล่าวเช่นนั้นก็สืบเนื่องมาจากโจทก์นำภาพถ่ายของนาย ก...ไปโพสต์ในเฟซบุ๊กให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นตามภาพถ่ายบัญชีเฟซบุ๊ก และที่จำเลยกล่าวว่า ควรเป็นอาจารย์ไหมก็เป็นคำเสียดสีโจทก์บ้าง เพราะไม่คิดว่าโจทก์จะโพสต์ข้อความเช่นนั้นเป็นการแสดงความเห็นและตั้งคำถามตามมุมมองตามความเห็นของจำเลยเท่านั้น ไม่ถึงขนาดที่ทำให้ผู้ฟังดังกล่าวนั้นจะเชื่อตามที่จำเลยกล่าวและเกิดการดูหมิ่นเกลียดชัง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงนั้น ก็เป็นเรื่องความเข้าใจของโจทก์เอง เนื่องจากโจทก์เกิดความไม่พอใจการกระทำของจำเลยกับพวกมาก่อนแล้วจนมีการฟ้องร้องเป็นคดีมาหลายคดี ซึ่งในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 นั้น จะต้องเป็นการใส่ความหรือการแสดงข้อเท็จจริงเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่วๆ ไปเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทน่าจะเสียชื่อเสียง บุคคลอื่นดูหมิ่น เกลียดชัง หรือไม่ มิใช่เอาตามความเห็นของจำเลยเป็นสำคัญ และแม้คดีจะอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดก็ชอบที่จะวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 167 หาจำต้องรอไปวินิจฉัยในชั้นพิจารณาดังที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่ ส่วนอุทธรณ์ประการอื่นของโจทก์เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีวินิจฉัยให้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์มาต้องด้วยความเห็นของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในการออกรายการทางทีวีไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก