ปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นและตัดต้นไม้ในที่ดิน สปก.
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2563
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน สิทธิการครอบครองและกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แม้ ค.จะได้ทำเรื่องของกระจายสิทธิที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรังก็ยังมิได้ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินให้แก่โจทก์จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท #ต้นเทียมและต้นยางพาราเป็นไม้ยืนต้น #เมื่อโจทก์ปลูกลงในที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม #โดยไม่ได้รับอนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ต้นเทียมและต้นยางพาราดังกล่าว #จึงตกเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของต้นเทียมและต้นยางพารา จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันตัดต้นเทียมและต้นยางพารา โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับผิดในมูลละเมิดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2560
จำเลยที่ 1 นำที่ดิน สปก. 4-01 มาขายให้แก่โจทก์ที่ 1 ในระยะเวลาห้ามโอน ดังนั้น การขายที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150
กรณีไม่ใช่มีผลเพียงให้อำนาจคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเข้าไปรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินห้ามโอนเท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทในอันที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์
ส่วนพืชผลบนที่ดินพิพาท แม้ต้นปาล์มและต้นมะพร้าวโจทก์ทั้งสองจะปลูกไว้ แต่เมื่อเป็นไม้ยืนต้นจึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท ผลปาล์มและต้นมะพร้าวจึงเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 145
ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปเอาผลปาล์มแล้วเข้าไปตัดโค่นทำลายต้นมะพร้าวจะถือว่าทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่ได้ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้
ส่วนต้นกล้วยเป็นเพียงไม้ล้มลุกจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ปลูกจึงเป็นเจ้าของต้นกล้วย จำเลยทั้งสองเข้าไปโค่นทำลายทั้งๆที่รู้แล้วว่า แม้จะปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทแต่ต้นกล้วยเหล่านั้นเป็นของโจทก์ทั้งสอง
ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองและเป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องและจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำของตน
#ปรึกษาคดี โทร. 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161, 02-9485700