ทางออกของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน|ทางออกของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน

ทางออกของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทางออกของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน

  • Defalut Image

ปัจจุบันเศรษฐกิจตกต่ำ ทำมาหากินยาก คนตกงาน หนี้สินล้นพ้นตัว

บทความวันที่ 8 ก.ย. 2566, 16:06

มีผู้อ่านทั้งหมด 410 ครั้ง


ทางออกของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน
             ปัจจุบันเศรษฐกิจตกต่ำ ทำมาหากินยาก คนตกงาน หนี้สินล้นพ้นตัว ทำให้ผู้เช่าซื้อขาดสภาพคล่องและไม่มีเงินเพียงพอที่จะผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อได้ ทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ และมีหนี้สินค้างชำระ ถูกทวงหนี้ ถูกฟ้องร้อง ถูกดำเนินคดี นอกจากนี้ยังมีผู้ค้ำประกันที่ค้ำประกันการเช่าซื้อ  ที่ต้องมารับชำระหนี้เป็นลูกหนี้รายที่ 2  หากผู้เช่าซื้อไม่จ่ายผู้ค้ำประกันก็ต้องถูกดำเนินคดีไปด้วย ถูกยึดทรัพย์บังคับคดีทำให้เดือดร้อนกันถ้วนหน้า 
             ทนายคลายทุกข์ในฐานะเป็นวิทยากรฝึกอบรมเกี่ยวกับเรื่องคดีไฟแนนซ์  จึงขอให้ความรู้และทางออกเกี่ยวกับลูกหนี้ ทั้งผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันดังนี้
           1.เมื่อผิดนัดชำระหนี้  ทางออกที่ดีที่สุดคืออย่าหลบหน้า  รับโทรศัพท์ และเจรจากับเจ้าหนี้  ทุกครั้งที่โทรศัพท์มาก็พยายามพูดคุย  เช่น ขอผ่อนชำระหนี้  ขยายเวลา  ปรับโครงสร้างหนี้ใหม่  พูดความจริงกับเจ้าหนี้ ทุกไฟแนนซ์ส่วนใหญ่ก็ให้โอกาส 
          2.เมื่อโดนทวงหนี้  ต้องรับโทรศัพท์และต้องพุดคุยกับคนทวงหนี้ของไฟแนนซ์และเสนอเงื่อนไข  อธิบายถึงความจำเป็นว่าเราผ่อนไม่ได้เพราะเหตุใด เช่น ตกงาน ค้าขายไม่ดี  มีปัญหาครอบครัว  ถูกโกง  ให้พูดความจริง พนักงานไฟแนนซ์ก็จะรับเรื่องราวและไปปรึกษาผู้บังคับบัญชาและให้ท่านเข้าโครงการในการแก้ไขหนี้ 
          3.เมื่อกำลังจะถูกยึดรถ   ก็ต้องดูว่าท่านมีความจำเป็นต้องใช้รถหรือไม่   หากท่านมีความจำเป็นต้องใช้รถ ทางออกของท่านคือไปหยิบยืมเงินจากญาติพี่น้อง บุคคลใกล้ชิด ไปผ่อนชำระหนี้ หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ หรือไม่ก็หารายได้เสริม  ลดรายจ่ายอื่นที่ไม่จำเป็น  หรือไปหาญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นมาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อ  โดยไปพบกับไฟแนนซ์และเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อ จากตัวเราเป็นบุคคลอื่นแทน อันนี้ก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่งหรือที่เรียกว่าการเปลี่ยนตัวลูกหนี้
         4.การคืนรถ  ต้องดูว่าหากเราต้องการคืนรถเพื่อให้จบ  กรณีถ้าเราค้างค่างวดให้หาเงินไปจ่ายให้ครบ ทั้งต้นเงิน ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ให้เรียบร้อย  ขณะคืนต้องไม่มีความรับผิดในหนี้สิน พอคืนเสร็จก็จบ  เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573  คือไม่ต้องรับผิดในส่วนต่าง 
        5. เอารถไปขายหรือจำนำ  การเอารถไปขายหรือจำนำเป็นสิ่งที่ทนายคลายทุกข์ไม่แนะนำ  เพราะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายเพราะจะมีความผิดฐานยักยอก และผู้รับจำนำก็จะมีความผิดฐานรับของโจร  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, มาตรา 357  คนที่รับจำนำโดยทั่วไปก็จะนำรถไปขายต่อ พอถึงเวลาไปไถ่ถอนก็ไม่มีรถ  ผู้เช่าซื้อก็อาจจะถูกดำเนินคดียักยอก  และถูกฟ้องให้ส่งคืนรถ  จะถูกดำเนินคดีและฟ้องยึดทรัพย์บังคับคดีต่อไป  การเอารถไปขายในราคาถูกก็ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา  ไม่แนะนำให้ทำ
       6.ทางออกเมื่อได้รับหมายศาล  ส่วนใหญ่เป็นคดีผู้บริโภค  จะสามารถยื่นคำให้การในวันนัดพิจารณาครั้งแรก ควรจะไปศาล หากมีเงินจ้างทนายความ ก็ให้ทนายเขียนคำให้การสู้คดี หรือหากไม่มีเงินก็สามารถไปว่าจ้างไปทนายยื่นคำให้การต่อสู้ประเด็นต่างๆ เช่น ถ้าค่าเสียหายสูงก็ลดค่าเสียหายลง จำนวนหนี้ไม่ถูกต้องก็โต้แย้งไป บางทีคดีขาดอายุความก็ยกข้อต่อสู้เรื่องการขาดอายุความ   ส่วนนี้หากขาดอายุความก็ไม่ต้องใช้หนี้ เป็นสิทธิของลูกหนี้ในการปฏิเสธหนี้ 
       7.กรณีโดนฟ้องเรียกค่าส่วนต่าง อายุความ 10 ปี ก็ไปต่อสู้ว่า ค่าส่วนต่างที่เรียกมาสูงเกินควร วิธีการต่อสู้ก็ไปว่าจ้างทนายความเขียนคำให้การ และไปศาลเอง หรือไปตรวจสอบในเว็บไซต์รถมือสอง เพื่อเปรียบเทียบราคารถรุ่นเดียวกันกับที่โดนยึดไป เอามาเปรียบเทียบราคา  ว่าการขายเป็นการขายที่ไม่เป็นธรรม ราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาดมาก  ศาลก็จะลดค่าเสียหายนี้ลง  โดยทั่วไปจะประมาณ 30 % 
      8.ในกรณีถูกยึดทรัพย์บังคับคดี แนะนำว่าหากท่านมีทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้าน  ไม่ควรรอให้เจ้าหนี้เอาหมายบังคับคดีมายึด เพราะถ้าเจ้าหนี้ยึดบ้านแล้ว มีบ้านเป็นประกัน การต่อรองจะยาก จะถูกบังคับชำระหนี้เต็ม ทั้งต้นและดอกเบี้ยที่ผิดนัดทั้งหมด เพราะฉะนั้นหากมีโฉนดที่ดินหรือบ้าน ต้องเจรจาก่อนที่จะถูกยึด
        ถ้าไม่พร้อมอย่าไปเช่าซื้อรถมาใช้ อย่าซื้อรถมาเพื่อความสะดวกสบาย  ต้องซื้อรถมาเพื่อใช้หาเงินหาทอง  และรถสามารถเลี้ยงตัวมันเองได้
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

Excellent to the point article and news.. Well appreciated, My sites: 

OKBet philippines

โดยคุณ OKBet 9 ก.ย. 2566, 12:18

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก