ฟ้องธนาคาร เงินหายจากบัญชีเงินฝาก|ฟ้องธนาคาร เงินหายจากบัญชีเงินฝาก

ฟ้องธนาคาร เงินหายจากบัญชีเงินฝาก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ฟ้องธนาคาร เงินหายจากบัญชีเงินฝาก

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 6233/2564

บทความวันที่ 5 เม.ย. 2566, 09:55

มีผู้อ่านทั้งหมด 789 ครั้ง


ฟ้องธนาคาร เงินหายจากบัญชีเงินฝาก
คำพิพากษาฎีกาที่ 6233/2564

            จำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์  และให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับการเงิน รับฝากเงิน และให้บริการการใช้หรือโอนเงินทาง xxx application online ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ จึงเป็นผู้รับฝาก ซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะ จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ ในกิจการค้าขาย หรืออาชีวะอย่างนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม 
         ปรากฏว่าระหว่าง เวลา 23.41 นาฬิกา ของวันที่    7  กรกฎาคม 2560  ถึงเวลา 2.01 นาฬิกา ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 เงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ ถูกโอนไปยังบัญชีเงินฝากของผู้อื่นจำนวน 3 บัญชี  รวม  12 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,099,999 บาท การโอนเงินที่เป็นการโอนจำนวนย่อยหลายครั้งติดต่อกันในช่วงเวลาเดียวกัน ในเวลากลางคืน จากบัญชีเงินฝากของโจทก์ ไปยังบัญชีเงินฝากของบุคคลอื่น โดยเป็นบัญชีเดียวกันหรือชื่อบัญชีเดียวกัน ย่อมเป็นพฤติกรรมในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดปกติ 
       จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะ ต้องทราบถึงวิธีการดังกล่าว และย่อมสังเกตได้ว่าเป็นเรื่องผิดปกติ และอาจเป็นการกระทำของมิจฉาชีพผู้ประกอบอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์       จำเลยจึงควรมีมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการกระทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ชอบดังกล่าวด้วย 
       การที่จำเลยแจ้งเตือน ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการต่าง ๆ ระมัดระวังอีเมลหลอกลวงจากมิจฉาชีพหรือที่เรียกว่า Phishing Email มาตลอด โดยมีข้อความแจ้งเตือนว่า “แจ้งเตือน กรุณาอย่าหลงเชื่อ อีเมลปลอมจากมิจฉาชีพ  xxx  ไม่มีนโยบายในการส่งอีเมลใด ๆ.  เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูล ชื่อผู้ใช้งาน Password หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยเด็ดขาด” และ “แจ้งเตือนโปรดระวังอีเมลแอบอ้าง (Phishing Email)      ว่าเป็นอีเมลจากธนาคารหลอกลวงให้คลิกเพื่อไปยังเว็บไซต์ปลอม เพื่อความปลอดภัย กรุณาพิมพ์ www.ttt.com”  ตามเว็บไซต์ของจำเลย ในการเข้าระบบ ลูกค้าต้องใช้ชื่อผู้ใช้ (Username)  และรหัสผ่าน (Password) ที่ลูกค้าสมัครไว้กับธนาคารเข้าสู่ระบบ และต้องใส่รหัสโอทีพี (OTP หรือ One Time Password) ที่ระบบธนาคารส่งให้ที่หมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้าเพื่อยืนยันการทำธุรกรรม อีกขั้นตอนหนึ่ง จึงจะสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับบัญชีของตนได้ 
        มาตรการดังกล่าว เป็นมาตรการป้องกันความเสียหายแก่การทำธุรกรรมทางการเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อไม่ให้ลูกค้าที่ใช้บริการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง เพื่อให้ส่งมอบชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านให้เพื่อนำไปใช้ กระทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ชอบ ซึ่งเป็นข้อควรระวังในด้านของลูกค้า แต่มาตรฐานของจำเลยในการป้องกันการโอนเงิน ที่เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบดังกล่าว ควรจะมีอยู่อย่างไร จำเลยควรจะป้องกัน หรือระงับยับยั้งการโอนเงินที่มีความผิดปกติดังกล่าว  เมื่อมีการโอนเงินผ่านไปแล้วกี่ครั้ง และเหตุใดพนักงานของจำเลยเพิ่งจะโทรศัพท์แจ้งเตือนไปยังโจทก์หลังจากที่มีการโอนเงินดังกล่าวครั้งที่ 12 และโอนเงินไปรวมเป็นเงิน 1,099,999 บาท แล้ว ซึ่งมาตรการ ในการป้องกันความเสียหาย. ที่เหมาะสม หรือสมควรดังกล่าว อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ในส่วนนี้ แต่จำเลยกลับแสดงให้เห็นว่า จำเลยไม่ได้มีมาตรการในการป้องกัน  หากเกิดการโอนเงิน.  หรือการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบในส่วนนี้เลย และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีมาตรการในการป้องกันความเสียหายในส่วนนี้อย่างเพียงพอ 
        แม้ในการโอนเงิน  จำเลยได้มีข้อความแจ้งเตือนไปยังโจทก์ทุกครั้งที่ทำการโอนเงินรวม 12 ครั้ง และพนักงานของจำเลยได้โทรศัพท์ไปหาโจทก์หลังจากที่มีการโอนเงิน ครั้งที่ 12 แล้ว มาตรการดังกล่าวถือว่าไม่เพียงพอต่อการป้องกันการโอนเงินหรือการทำรายการ หรือธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบ 
        นอกจากนี้ ได้ความว่าโจทก์มิใช่รายแรก ที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้และมีอีกหลายรายที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบถึงพฤติกรรมการหลอกลวง และวิธีการโอนเงินโดยไม่ชอบดังกล่าวเช่นเดียวกับคดีนี้มาก่อน ทั้งเหตุเกิดซ้ำ ๆ กับลูกค้าจำนวนมาก จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขาย หรืออาชีวะและในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมระบบมีความสามารถในการตรวจสอบหรือทราบถึงความผิดปกติในการทำรายการต่าง ๆ ได้แต่เพียงฝ่ายเดียว ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังและหามาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายดังเช่นที่เกิดในคดีนี้อีก หาใช่ว่าหากมีการกรอกชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านที่สามารถยืนยันตัวตนได้แล้วบุคคลดังกล่าวจะสามารถดำเนินการธุรกรรมอย่างใดก็ได้.  โดยจำเลยไม่มีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้มีการโอนเงินที่ไม่ถูกต้องแต่อย่างใดไม่ 
        ดังนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลย ซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการ ค้าขาย หรืออาชีวะอย่างนั้นแล้ว 
        อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ได้รับอีเมลที่ไม่ได้มาจากจำเลย  และมีข้อความเชื่อมโยงหรือลิงก์ ไปยังเว็บไซต์ที่เลียนแบบ เว็บไซต์ธนาคารจำเลย และโจทก์กรอกชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ในเว็บไซต์ดังกล่าว ทำให้มีคนร้าย ทราบถึงชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ของโจทก์ และนำไปใช้สมัคร xxx App    ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโจทก์ยังได้กรอกหมายเลขโอทีพี (OTP หรือ One Time password) ในเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นเหตุให้คนร้ายสามารถสมัครใช้บริการ  xxx App ได้สำเร็จ และเกิดการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปยังบัญชีอื่น 
         โจทก์เป็นผู้ใช้ บริการธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก่อนเกิดเหตุเป็นเวลากว่า 10 ปี   ทั้งตามใบแจ้งรายการบัญชีออมทรัพย์ โจทก์ก็ได้ทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหลายครั้ง โจทก์ย่อมมีความเข้าใจ ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านช่องทางดังกล่าว และย่อมทราบถึงคำเตือนของจำเลยตามที่ปรากฏในเว็บไซต์ของจำเลย โจทก์จึงควรมีความระมัดระวังในการตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมดังกล่าวมากกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ จึงถือว่าโจทก์มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายด้วย 
          พฤติกรรมของโจทก์ และจำเลย จึงถือว่ามีส่วนทำให้เกิดความเสียหายในคดีนี้ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และเห็นสมควรกำหนดให้จำเลย ต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นเงิน 550,000 บาท 
          เมื่อค่าเสียหาย ที่จำเลยต้องรับผิดเป็นหนี้เงิน หากชำระล่าช้าย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย แก่โจทก์ซึ่งค่าเสียหายของหนี้เงินตามปกติย่อมคิดกันในรูปของดอกเบี้ย จึงเห็นควรกำหนดให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยดังกล่าวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.  มาตรา 222  วรรคหนึ่ง โดยควรให้ในอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ย ในระหว่างผิดนัดตาม  ป.พ.พ.  มาตรา  224  วรรคหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่อัตราร้อยละ 5 ต่อปี

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก