ตำรวจเรียกรถมอเตอร์ไซต์ให้จอด ด้วยวิธีการกระชากประชาชน ระวังจะถูกดำเนินคดี มาตรา 157|ตำรวจเรียกรถมอเตอร์ไซต์ให้จอด ด้วยวิธีการกระชากประชาชน ระวังจะถูกดำเนินคดี มาตรา 157

ตำรวจเรียกรถมอเตอร์ไซต์ให้จอด ด้วยวิธีการกระชากประชาชน ระวังจะถูกดำเนินคดี มาตรา 157

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตำรวจเรียกรถมอเตอร์ไซต์ให้จอด ด้วยวิธีการกระชากประชาชน ระวังจะถูกดำเนินคดี มาตรา 157

  • Defalut Image

ดูคดีนี้ไว้เป็นอุทาหรณ์ คำสั่งของศาลแห่งหนึ่ง

บทความวันที่ 5 พ.ย. 2564, 16:58

มีผู้อ่านทั้งหมด 947 ครั้ง


ตำรวจเรียกรถมอเตอร์ไซต์ให้จอด ด้วยวิธีการกระชากประชาชน ระวังจะถูกดำเนินคดี มาตรา 157

ดูคดีนี้ไว้เป็นอุทาหรณ์ คำสั่งของศาลแห่งหนึ่ง
              พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เห็นว่า โจทก์มีตัวโจทก์เบิกความตอบศาลถามประกอบเอกสารและภาพถ่ายหมาย จ.1 ถึง จ.12 ว่า ตามวันและเวลาเกิดเหตุ จำเลยกับพวกประมาณ 4 คน ปฏิบัติหน้าที่อยู่ท้ายซอยเจริญราษฎร์ 7 แยก 29 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันเหตุ การก่ออาชญากรรม และการรวมกลุ่มชุมนุมหรือมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หากพบเห็นการกระทำดังกล่าว จำเลยกับพวกสามารถจับกุมดำเนินคดีได้ตามข้อ 10 ของข้อกำหนดออกความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1) โดยช่วงดังกล่าวทางราชการได้กำหนดห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานตั้งแต่เวลา 23 นาฬิกา ถึงเวลา 3 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น ขณะเกิดเหตุเวลาประมาณ 22.50 นาฬิกา โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า สีน้ำเงิน-เทา ออกจากบ้านไปซื้อบุหรี่ที่ซอยตระกูลโต๋ว เมื่อซื้อบุหรี่เสร็จ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์กลับมาตามซอยเจริญราษฎร์ 7 แยก 29-5 เมื่อมาถึงทางแยกท้ายซอยเจริญราษฏร์แยก 7 แยก 29 ซึ่งเป็นทางโค้งหักศอก โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์เลี้ยวขวา จึงพบจำเลยกับพวกแต่งกายนอกเครื่องแบบยืนอยู่ เข้าใจว่าเป็นบุคคลทั่วไป ไม่ใช่เจ้าพนักงานตำรวจ เพราะไม่มีสัญญาณใด ๆ แสดงให้เห็นว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กำลังปฎิบัติหน้าที่อยู่แล้วได้ยินเสียงตะโกนว่า “เฮ้ย” จำเลยเดินเข้ามาใกล้รถจักรยานยนต์คันที่โจทก์ขับ แล้วใช้มือกระชากหัวไหล่ด่านซ้ายของโจทก์ในระยะกระชั้นชิด โดยไม่มีสัญญาณล่วงหน้า เป็นเหตุให้รถจักรยายนต์ล้มลงโจทก์รู้สึกตัวอีกทีเมื่อถึงโรงพยาบาล โดยศีรษะแตก หูข้างขวาดับ เลือดออกจมูก เกิดการเจ็บปวดด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และไม่สามารถประกอบกรณียกิจได้เกินกว่า 20 วัน โดยมีพยานบุคคลทั้ง 4 คน มาเบิกความสนับสนุนพฤติการณ์ แห่งคดีของโจทก์จึงมีมูลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 297 (8) ให้ประทับรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาให้การ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก