การควบคุมผู้ถูกจับที่เกินกว่าที่จำเป็นผิดกฎหมาย|การควบคุมผู้ถูกจับที่เกินกว่าที่จำเป็นผิดกฎหมาย

การควบคุมผู้ถูกจับที่เกินกว่าที่จำเป็นผิดกฎหมาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การควบคุมผู้ถูกจับที่เกินกว่าที่จำเป็นผิดกฎหมาย

  • Defalut Image

"ห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น"

บทความวันที่ 19 ส.ค. 2564, 14:50

มีผู้อ่านทั้งหมด 2038 ครั้ง


การควบคุมผู้ถูกจับที่เกินกว่าที่จำเป็นผิดกฎหมาย

    "ห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น" หมายถึง ใช้วิธีควบคุมได้เท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันการหลบหนีเท่านั้น เช่น สวมกุญแจมือผู้ต้องหา มัดข้อมือด้วยเชือกพลาสติก แต่ถ้าโดยสภาพร่างกายของผู้ต้องหาไม่น่าจะหลบหนีได้ เช่น ผู้ต้องหาเป็นคนพิการ หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด หรือคนชรา หากใช้วิธีการควบคุมด้วยการสวมกุญแจมือในขณะที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายยืนคุมอยู่ข้างๆ อาจเกินกว่าจำเป็นก็ได้
     แต่ทั้งนี้ การควบคุมดังกล่าว เจ้าพนักงานจะต้องกระทำไปเพื่อป้องกันการหลบหนีเท่านั้น มิใช่ทำเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น ทำเพื่อประจานโดยการพาเดินผ่านชุมชนไปสถานีตำรวจ เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 86 และเจ้าพนักงานที่กระทำเช่นนั้น อาจมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพได้ เช่น ผู้ถูกจับกระทำความผิดเพียงความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ แต่นายตำรวจสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาจับและให้ใส่กุญแจมือ ทั้งกำชับมิให้ประกันตัวโดยมีเจตนาที่จะให้ผู้ถูกจับได้รับความอัปยศและปราศจากความเป็นอิสระ มีความผิดฐานทำให้เสื่อนเสียเสรีภาพ (ฎีกา1530/2482) เจ้าพนักงานจับผู้ค้ำสลากกินรวบแล้วใส่กุญแจมือร้อยโซ่เพื่อประจานให้ผู้ต้องหาได้รับความอับอาย แม้จะได้ความว่าไม่มีเจตนากลั่นแกล้งส่วนตัว แต่กระทำไปเพื่อปราบปรามความผิดประเภทนี้ก็ตาม ผู้จับมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ (ฎีกาที่ 744/2501) 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก