คืนรถแล้วไม่ต้องชดใช้ค่าส่วนต่างหลังขายทอดตลาด|คืนรถแล้วไม่ต้องชดใช้ค่าส่วนต่างหลังขายทอดตลาด

คืนรถแล้วไม่ต้องชดใช้ค่าส่วนต่างหลังขายทอดตลาด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คืนรถแล้วไม่ต้องชดใช้ค่าส่วนต่างหลังขายทอดตลาด

  • Defalut Image

จำเลยเป็นฝ่ายเริ่มต้นติดต่อกับโจทก์เพื่อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อ

บทความวันที่ 7 เม.ย. 2564, 12:52

มีผู้อ่านทั้งหมด 2285 ครั้ง


คืนรถแล้วไม่ต้องชดใช้ค่าส่วนต่างหลังขายทอดตลาด

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14324/2558
           จำเลยเป็นฝ่ายเริ่มต้นติดต่อกับโจทก์เพื่อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อ แสดงให้เห็นจุดประสงค์ของจำเลยที่ต้องการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เมื่อโจทก์ได้รับการติดต่อก็ตกลงและนัดหมายรับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนโดยมอบหมายให้ ส. ตัวแทนโจทก์ การที่จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ ส. จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วยการส่งมอบทรัพย์คืนแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันนับแต่วันดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อให้ ส. ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและไม่ปรากฏว่าขณะเลิกสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2561
          ภายหลังจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ 2 งวด โดยยังไม่ผิดนัด จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนให้แก่โจทก์อันเป็นเวลานานก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 3 หนึ่งวัน แสดงว่าในขณะส่งคืนทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อจำเลยที่ 1 ยังหาได้ตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ กรณีมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแล้วนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อในขณะที่ตนเองยังมิได้ตกเป็นผู้ผิดนัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ซึ่งบัญญัติว่าผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเองอันเป็นบทบัญญัติให้สิทธิผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาได้ และส่งผลให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกัน เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 มิได้ประพฤติผิดสัญญา  แม้ในสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อความว่ากรณีที่เจ้าของได้รถกลับคืนไม่ว่าจะด้วยเหตุที่เจ้าของเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาโดยการส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนเจ้าของ หากเจ้าของนำรถออกขายได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดส่วนที่ขาดก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ปรากฎว่าขณะที่สัญญาเลิกกันจำเลยที่ 1 มีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไมเพียงใด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดราคาให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์


กรณีที่ 2  ผิดนัดชำระหนี้และได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วแต่ยังไม่ครบ 30 วันผู้เช่าซื้อเอารถไปคืนก่อน
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2561

           จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวจากโจทก์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2553 คำบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่อาจเป็นผลทันทีเพราะต้องรอให้ครบ 30 วันที่โจทก์ต้องรอผลการปฏิบัติชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 เสียก่อน  สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกันในทันทีที่หนังสือบอกกลาวของโจทก์ถึงจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 นำรถที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ทันทีเมื่อได้รับหนังสือบอกกล่าวจากโจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป  และระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน ดังกล่าวไม่อาจเดินต่อไปได้ การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อของโจทก์ย่อมไม่เป็นผล  แต่การที่จำเลยที่ 1 นำรถที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนแก่โจทก์ภายหลังที่ตนผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อแล้ว  ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573  แต่การที่โจทก์ยอมรับมอบรถไว้โดยไม่อิดเอื้อนหรือโต้แย้งประการใด จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญาเช่าซื้อกันโดยปริยายอันเป็นการเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุอื่นมิใช่เหตุที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิโดยตกลงในสัญญา หรือโดยผลของกฎหมาย  โจทก์ไม่อาจเรียกค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 ได้

กรณีที่ 3 เช่าซื้อรถมาแต่ชำรุดบกพร่องเอารถไปคืน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรื่องส่วนต่างหลังขาดทุน
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2767/2560

                ข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่าเจ้าของไม่ต้องรับผิดชอบความชำรุดบกพร่องใด ๆ ไม่ว่าตรวจพบขณะส่งมอบหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติเรื่องความรับผิดเรื่องความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ.มาตรา 472 และ 473  คู่สัญญาสามารถตกลงกันได้เพราะมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวเนื่องด้วยความสงบเรียบร้อยที่จะตกลงเปลี่ยนแปลงไม่ได้  แต่ข้อตกลงที่ยกเว้นความชำรุดบกพร่องที่ไม่เห็นประจักษ์ในขณะส่งมอบและเป็นเรื่องที่ควรอยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบธุรกิจ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้อตกลงลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดความได้เปรียบแก่ผู้เช่าซื้อในฐานะผู้บริโภคเกินสมควร ย่อมไม่อาจใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 และ 6 เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาตต่างตอบแทนและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อมิได้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาย่อมมีสิทธิที่จะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 โดยการจัดการแก้ไขรถยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามประโยชน์ที่มุ่งหมาย โดยสัญญาหรือเปลี่ยนรถคันใหม่ให้แก่ผู้เช่าซื้อ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อส่งมอบคืนแก่โจทก์จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 สัญญาเช่าซื้ออันเป็นเลิกกัน  โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก