ผู้รับโอนจากซื้อทรัพย์สินซึ่งจำนองจากการขายทอดตลาด ไม่ต้องรับผิดในหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันเต็มจำนวนอันเกินกว่าราคาทรัพย์จำนอง|ผู้รับโอนจากซื้อทรัพย์สินซึ่งจำนองจากการขายทอดตลาด ไม่ต้องรับผิดในหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันเต็มจำนวนอันเกินกว่าราคาทรัพย์จำนอง

ผู้รับโอนจากซื้อทรัพย์สินซึ่งจำนองจากการขายทอดตลาด ไม่ต้องรับผิดในหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันเต็มจำนวนอันเกินกว่าราคาทรัพย์จำนอง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้รับโอนจากซื้อทรัพย์สินซึ่งจำนองจากการขายทอดตลาด ไม่ต้องรับผิดในหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันเต็มจำนวนอันเกินกว่าราคาทรัพย์จำนอง

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 3259/2562

บทความวันที่ 27 ก.ค. 2563, 09:59

มีผู้อ่านทั้งหมด 3471 ครั้ง


ผู้รับโอนจากซื้อทรัพย์สินซึ่งจำนองจากการขายทอดตลาด ไม่ต้องรับผิดในหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันเต็มจำนวนอันเกินกว่าราคาทรัพย์จำนอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 3259/2562
          ข้อตกลงต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันที่ยกเว้นให้ผู้จำนองต้องรับผิดชำระหนี้ของลูกหนี้ของลูกหนี้เกินกว่าทรัพย์ที่จำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 มีผลผูกพันและบังคับได้ระหว่างโจทก์กับผู้จำนองที่เป็นคู่สัญญาระหว่างกันอันเป็นบุคคลสิทธิมิใช่เป็นการก่อตั้งทรัพยสิทธิอันจะตกติดไปกับทรัพย์สินที่จำนอง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนโดยซื้อทรัพย์สินซึ่งจำนองจากการขายทอดตลาดซึ่งมีเงื่อนไขให้ติดจำนองมาโดยมิได้เป็นลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนองได้ด้วยการรับใช้เงินให้เป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 736 และมาตรา 738 หาใช่ต้องรับผิดในหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันเต็มจำนวนอันเกินกว่าราคาของทรัพย์สินที่จำนองไม่
         จำเลยเป็นผู้โอนทรัพย์สินซึ่งจำนองมิได้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ตามข้อตกลงต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน ทั้งไม่มีข้อตกลงในการแปลงหนี้ โดยเปลี่ยนตัวจำเลยมาเป็นลูกหนี้แทนผู้จำนอง จึงไม่เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหรือลูกหนี้ร่วมได้ ความรับผิดของจำเลยย่อมมีเพียงทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ตนได้รับโอนมาซึ่งตราเป็นประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น โจทก์ไม่อาจอ้างข้อตกลงต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันที่ยกเว้นให้ผู้จำนองต้องรับผิดชำระหนี้ของลูกหนี้เกินกว่าทรัพย์ที่จำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 มาบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำนองได้
          แม้จำเลยเป็นผู้รับโอนทรัพย์ซึ่งจำนองและหากประสงค์จะไถ่ถอนจำนองยังมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจำนองนับแต่มีการผิดนัดของลูกหนี้ชั้นต้นหรือผู้จำนอง โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองเพื่อชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยได้ตามสัญญาจำนองแต่โจทก์จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้ไว้ไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 5568/2562
         จำเลยที่ 2 มิได้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นและมิใช่คู่สัญญาจำนองแก่โจทก์แต่เป็นเพียงบุคคลภายนอกผู้รับโอนทรัพย์สินที่ติดจำนองมา จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่เพียงปลดเปลื้องภาระจำนองด้วยการไถ่ถอนจำนองเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือถึงโจทก์ขอไถ่ถอนในวงเงิน 500,000 บาท โดยหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวมีเอกสารแนบท้ายประกอบด้วยสำเนาสัญญาจำนอง สำเนาโฉนดที่ดินซึ่งระบุตำแหน่ง ลักษณะของทรัพย์สินที่จำนอง ชื่อเจ้าของเดิม ชื่อและภูมิลำเนาของผู้รับโอน วันที่รับโอนกรรมสิทธิ์ รวมทั้งได้แจ้งความประสงค์จะไถ่ถอนจำนองให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้วหนังสือแจ้งขอไถ่ถอนจำนองของจำเลยที่ 2 จึงมีรายละเอียดครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 738 แล้ว การที่โจทก์มีหนังสือปฏิเสธไม่รับชำระหนี้โดยมิได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 มีคำเสนอเพื่อให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์ซึ่งจำนอง ถือว่าโจทก์ยอมรับคำเสนอขอไถ่จำนองของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวโดยปริยายตามมาตรา 739 , 741 แล้วจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิไถ่ถอนจำนองได้ในวงเงิน 500,000 บาท
จำเลยที่ 2 มีหนังสือถึงโจทก์นัดวันเวลา สถานที่ชำระเงินเพื่อไถ่จำนองและโจทก์มิได้ไปตามนัดหมายก็ตาม แต่สัญญาจำนองจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้เงินแก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 เสนอขอไถ่ถอน กรณีแม้โจทก์ไม่ไปตามนัด จำเลยที่ 2 ยังสามารถไถ่ถอนจำนองได้ด้วยการวางเงินตามจำนวนที่เสนอขอไถ่ถอนต่อสำนักงานวางทรัพย์ ตามมาตรา 741 ประกอบมาตรา 331 เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมิได้ไถ่จำนอง สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
          ป.พ.พ. มาตรา 701 , 727 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องสิทธิหน้าที่ของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนอง แต่จำเลยที่ 2 เป็นเพียงบุคคลภายนอกผู้รับโอนทรัพย์สินโดยติดจำนอง ซึ่งสิทธิหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินโดยติดจำนองนั้นมีบทบัญญัติโดยเฉพาะ ตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 12 หมวด 5 จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างได้ว่าสัญญาจำนองระงับสิ้นไปเพราะผู้จำนองหลุดพ้น ตามมาตรา 701 , 727 ประกอบมาตรา 744(3) เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองแก่จำเลยที่ 2 แล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิกเฉย จำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ได้ และมีสิทธิได้ดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    มาตรา 733
  ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น
    มาตรา 736  ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจะไถ่ถอนจำนองก็ได้ ถ้าหากมิได้เป็นตัวลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน หรือเป็นทายาทของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน
    มาตรา 738  ผู้รับโอนซึ่งประสงค์จะไถ่ถอนจำนองต้องบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่ผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้น และต้องส่งคำเสนอไปยังบรรดาเจ้าหนี้ที่ได้จดทะเบียน ไม่ว่าในทางจำนองหรือประการอื่น ว่าจะรับใช้เงินให้เป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้น
    คำเสนอนั้นให้แจ้งข้อความทั้งหลายต่อไปนี้ คือ
    (1) ตำแหน่งแหล่งที่และลักษณะแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง
    (2) วันซึ่งโอนกรรมสิทธิ์
    (3) ชื่อเจ้าของเดิม
    (4) ชื่อและภูมิลำเนาของผู้รับโอน
    (5) จำนวนเงินที่เสนอว่าจะใช้
    (6) คำนวณยอดจำนวนเงินที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่ง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์และจำนวนเงินที่จะจัดเป็นส่วนใช้แก่บรรดาเจ้าหนี้ตามลำดับกัน
    อนึ่ง ให้คัดสำเนารายงานจดทะเบียนของเจ้าพนักงานในเรื่องทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้น อันเจ้าพนักงานรับรองว่าเป็นสำเนาถูกถ้วนสอดส่งไปด้วย

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยายภาค 1 สมัยที่ 73 ปี พ.ศ.2563 เล่ม 2

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก