การบังคับคดีเกินความจำเป็น|การบังคับคดีเกินความจำเป็น

การบังคับคดีเกินความจำเป็น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การบังคับคดีเกินความจำเป็น

  • Defalut Image

เมื่อไม่นานมานี้ หากท่านได้ติดตามข่าวสารทางโซเชียลหรือทางทีวี จะพบว่ามีลูกหนี้ออกมาโวยวายว่าเป็นหนี้แค่ 17,000 บาท

บทความวันที่ 1 ก.ค. 2563, 09:42

มีผู้อ่านทั้งหมด 1169 ครั้ง


การบังคับคดีเกินความจำเป็น

              เมื่อไม่นานมานี้ หากท่านได้ติดตามข่าวสารทางโซเชียลหรือทางทีวี  จะพบว่ามีลูกหนี้ออกมาโวยวายว่าเป็นหนี้แค่ 17,000 บาท แต่เจ้าหนี้ไปยึดบ้านราคา 2 ล้านบาทเศษ  โดยโวยวายว่าเป็นการกลั่นแกล้ง ทำให้สังคมตั้งคำถามว่าการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายหรือไม่   และเป็นการยึดทรัพย์เกินความจำเป็นหรือไม่ ที่ผ่านมาเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการยึดทรัพยสินที่มีมูลค่ามากกว่าหนี้หรือไม่    ทนายคลายทุกข์ขอนำตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ที่มีมูลค่ามากกว่าหนี้มานำเสนอดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2545
           กรณีที่จะเป็นการยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดยนำหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นมาและฝากไว้ ณสถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบ ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกการยึดไว้ในทะเบียนเมื่อโจทก์เพียงแถลงขอยึดทรัพย์ของจำเลยเพิ่มเพราะยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอนุญาตแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกินยอดหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดที่ดินของจำเลยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ข้างต้น จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้หรือไม่และต้องห้ามตามมาตรา 284 วรรคหนึ่ง หรือไม่ กรณีตามคำร้องของจำเลยยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2549
             กรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่าราคาทรัพย์สินที่ยึดหมายถึงราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่งไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
             ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนการยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 เสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์ตามจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องใช้ให้แก่โจทก์ ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์ในส่วนที่เหลือทั้งหมด โดยวินิจฉัยว่า โจทก์นำยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 284 โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 284 วรรคสอง และต้องรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายในส่วนที่เกินกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น คำวินิจฉัยที่ว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ขัดต่อกฎหมาย และให้ถอนการยึดทรัพย์สินดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 แต่คำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์สินไม่ได้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้น ถือว่าคำวินิจฉัยและคำสั่งขัดกัน ทั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166 ให้คู่ความฝ่ายที่ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปเพราะความผิด ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณานั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะชนะคดีหรือไม่ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์รายนี้เพียงฝ่ายเดียว คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งเรื่องค่าธรรมเนียมไม่ถูกต้อง แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2556
            คดีนี้ จำเลยยื่นคำร้อง 2 ฉบับ คือคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ฉบับหนึ่ง และคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์อีกฉบับหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ และคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด (ที่ถูก คำร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์) จำเลยอุทธรณ์คำสั่งคำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวมาในอุทธรณ์ฉบับเดียวกัน เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไป ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่นี้เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์มาด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
           จำเลยเป็นหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์เพียง 35,384.36 บาท ซึ่งเมื่อนำมาเทียบกับราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่โจทก์นำยึดซึ่งมีราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีสูงถึง 6,386,400 บาท นับว่ามีราคาต่างกันมากไม่เหมาะสมกัน โจทก์น่าจะนำยึดทรัพย์สินภายในบ้านอันมีราคาใกล้เคียงกับจำนวนหนี้ของจำเลยจะเป็นการเหมาะสมกว่า การที่โจทก์นำยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยโดยปรากฏจากข้ออ้างของโจทก์เพียงประการเดียวว่า จำเป็นต้องยึดเพราะระยะเวลาในการบังคับคดีใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว โดยไม่เคยร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลยว่า จำเลยมีทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีราคาใกล้เคียงกับจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ นอกจากจะเป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลแล้ว ยังเป็นการไม่เป็นธรรมแก่จำเลยอีกด้วย จึงเห็นได้ว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดี อันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์นั้นได้ และถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามมาตรา 284 วรรคสอง โดยให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีของจำเลยตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม)
    เป็นหนี้ต้องใช้ ไม่ใช่ว่ายืมไปแล้วไม่ใช้  พอโดนยึดทรัพย์ก็จะมาโวยวาย กฎหมายบังคับใช้เท่าเทียมกัน ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้  จำไว้นะครับ ถ้าไม่อยากถูกยึดทรัพย์อย่าเป็นหนี้ ใจเขาใจเรา จำไว้นะครับ

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก