ผู้พิพากษาคนเดียว ลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน ไม่ได้|ผู้พิพากษาคนเดียว ลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน ไม่ได้

ผู้พิพากษาคนเดียว ลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน ไม่ได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้พิพากษาคนเดียว ลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน ไม่ได้

  • Defalut Image

ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องของศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะและมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์

บทความวันที่ 4 มี.ค. 2563, 10:24

มีผู้อ่านทั้งหมด 1181 ครั้ง


ผู้พิพากษาคนเดียว ลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน ไม่ได้

    ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องของศาลชั้นต้น  ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะและมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ แม้คดีที่มีโทษจำคุกเกิน  6 เดือน จะเกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวที่พิพากษายกฟ้องได้ แต่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องได้

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาค 2 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 12

ตัวบทกฏหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
    มาตรา 25
  ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
    (1) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง
    (2) ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
    (3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
    (4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
    (5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้
    ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (3) (4) หรือ (5)
    มาตรา 26  ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง
    มาตรา 29  ในระหว่างการทำคำพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทำคำพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย  ทั้งนี้ หลังจากได้ตรวจสำนวนคดีนั้นแล้ว
    (1) ในศาลฎีกา ได้แก่ ประธานศาลฎีกาหรือรองประธานศาลฎีกา
    (2) ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ได้แก่ ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองประธานศาลอุทธรณ์ หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ภาค แล้วแต่กรณี
    (3)ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี
    ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอำนาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย
    มาตรา 31  เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 แล้ว ให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย
    (๑) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)
    (2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25 (5) แล้วเห็นว่าควรพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว
    (3) กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งคดีแพ่งเรื่องใดของศาลนั้นจะต้องกระทำโดยองค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาในองค์คณะนั้นมีความเห็นแย้งกันจนหาเสียงข้างมากมิได้
    (4) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตามมาตรา 25 (4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องเกินกว่าอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว

คำพิพากษาฎีกาที่ 5276/2562
    ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะพิจารณาและต่อมาได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 , 328 ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท จึงเกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิพากษายกฟ้องได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) และมาตรา 26 แต่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (3) ดังนั้น การไต่สวนมูลฟ้องโดยผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีคนเดียวในชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ จึงเป็นเพียงการย้อนสำนวนมาให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและทำคำพิพากษาใหม่ในส่วนที่ไม่ชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 29 (3) เท่านั้น ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนมูลฟ้องใหม่อีกแต่อย่างใดไม่ และเมื่อทนายโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า โจทก์หมดพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง  การไต่สวนมูลฟ้องย่อมเสร็จสิ้นลงโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าไต่สวนมูลฟ้องเพิ่มเติมได้อีก ส่วนคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนกับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะ เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 31 (1)  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลย่อมมีอำนาจตรวจสำนวนคดีและลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 (3) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตรวจสำนวนคดีและลงลายมือชื่อร่วม จึงเป็นองค์คณะจึงเป็นการพิจารณาและพิพากษาใหม่โดยมีผู้พิพากษาครบองค์คณะโดยชอบ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก