คำรับสารภาพในชั้นจับกุม ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ใช้เป็นเหตุลดโทษได้|คำรับสารภาพในชั้นจับกุม ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ใช้เป็นเหตุลดโทษได้

คำรับสารภาพในชั้นจับกุม ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ใช้เป็นเหตุลดโทษได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำรับสารภาพในชั้นจับกุม ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ใช้เป็นเหตุลดโทษได้

  • Defalut Image

คำรับสารภาพของผู้ถูกจับในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐาน

บทความวันที่ 23 ม.ค. 2563, 10:45

มีผู้อ่านทั้งหมด 2550 ครั้ง


คำรับสารภาพในชั้นจับกุม  ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ใช้เป็นเหตุลดโทษได้

             คำรับสารภาพของผู้ถูกจับในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ไม่ว่าจะถูกจับโดยเจ้าพนักงนของรัฐหรือราษฎรเป็นผู้จับ และเป็นคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา มักจะปรากฎในบันทึกจับกุมในทำนองว่า ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ สามารถศึกษาได้จากข้อกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกาดังนี้

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

          มาตรา 84 วรรคท้าย ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับแล้วแต่กรณี
          มาตรา 226  พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8148/2551
          เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จับจำเลยมิใช่ราษฎรเป็นผู้จับจึงไม่มีกรณีที่จะต้องแจ้งสิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคหนึ่ง แต่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งสิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง เมื่อบันทึกการจับกุมมีข้อความว่าจำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับมารับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสี่ และเมื่อบันทึกการจับกุมไม่มีข้อความใดที่บันทึกการแจ้งสิทธิแก่จำเลยผู้ถูกจับตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติเลย ทั้งพยานโจทก์ที่ร่วมจับกุมก็ไม่ได้เบิกความถึงเรื่องการแจ้งสิทธิแต่อย่างใด แม้โจทก์จะส่งบันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับมาพร้อมกับบันทึกการจับกุมในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ แต่บันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์เติมข้อความในช่องว่างด้วยน้ำหมึกเขียนโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้บันทึกเป็นคนละคนกับที่เขียนบันทึกการจับกุม ทั้งใช้ปากกาคนละด้ามและไม่มีข้อความว่าผู้ถูกจับมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ กับไม่มีข้อความว่าถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้แต่อย่างใด แม้จะมีข้อความแจ้งสิทธิเรื่องทนายความก็เป็นการแจ้งสิทธิไม่ครบถ้วนตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติ ฉะนั้นถ้อยคำอื่นของจำเลยตามบันทึกการจับกุมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น บันทึกการจับกุมจึงไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7245/2554
         แม้ว่ากฎหมายจะห้ามมิให้ศาลรับฟังคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาพิพากษาคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 19 แต่กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามมิให้ศาลนำมาเป็นเหตุบรรเทาโทษแก่จำเลย ซึ่งถือได้ว่าคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมดังกล่าวเป็นเหตุบรรเทาโทษโดยเหตุอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับเหตุบรรเทาโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 78 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11087/2554
         ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการและเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ ลงโทษประหารชีวิต ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนและมีด จำคุก 6 เดือน รวมทุกกระทงคงให้ประหารชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) รวมทุกกระทงคงให้จำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก