ล่อซื้อไม่ใช่ล่อให้ทำผิด|ล่อซื้อไม่ใช่ล่อให้ทำผิด

ล่อซื้อไม่ใช่ล่อให้ทำผิด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ล่อซื้อไม่ใช่ล่อให้ทำผิด

  • Defalut Image

ปัจจุบันสังคมสับสนระหว่างคำว่า "ล่อซื้อ" กับคำว่า "ล่อให้ทำผิด" ต่างกันอย่างไร

บทความวันที่ 2 ธ.ค. 2562, 09:28

มีผู้อ่านทั้งหมด 587 ครั้ง


ล่อซื้อไม่ใช่ล่อให้ทำผิด

            ปัจจุบันสังคมสับสนระหว่างคำว่า "ล่อซื้อ" กับคำว่า "ล่อให้ทำผิด" ต่างกันอย่างไร "ล่อซื้อ" หมายถึง ผู้กระทำความผิดมีเจตนาทำผิดอยู่แล้ว เช่น เคยขายยาบ้าอยู่แล้ว ตำรวจสืบทราบจึงไปล่อซื้อ เป็นต้น ส่วน "ล่อให้ทำผิด" หมายถึง บุคคลนั้นไม่เคยมีเจตนากระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว แต่ตำรวจไปก่อให้บุคคลนั้นกระทำความผิดขึ้น เพื่อจะได้หลักฐานมาประกอบเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลนั้น เช่น บุคคลนั้นไม่เคยขายยาบ้า แต่ตำรวจไปขอร้องให้บุคคลนั้นไปหายาบ้ามาส่งมอบให้ตำรวจ เป็นต้น

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นการล่อซื้อ
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961-961/2555

           การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ ผ. ไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้วและก่อนหน้านี้ ผ.ก็เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 จำนวน 100 เม็ดและถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ การล่อซื้อดังกล่าวเป็นวิธีการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อซื้อหรือชักจูงให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดอาญาที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 1 และเป็นการขยายผลในการปราบปราม มิใช่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2548
          การใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรในการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้วตามอำนาจในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (10) ชอบที่เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมจำเลยพร้อมพยานหลักฐาน การใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยจึงเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความผิดของจำเลย มิใช่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยไม่ชอบ
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2548, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2543 ,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541)
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นการล่อให้กระทำความผิด
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2551
           สิบตำรวจตรี ส. ขอซื้อยาลดความอ้วนซึ่งมีส่วนผสมของเฟนเตอมีนจากจำเลย จำเลยบอกว่าไม่มีและที่ร้านของจำเลยไม่ได้ขายลดความอ้วนดังกล่าว สิบตำรวจตรี ส. จึงบอกว่าคนรักต้องการใช้ยาลดความอ้วน จำเลยจึงบอกว่าจำเลยมียาลดความอ้วน จำเลยจึงบอกว่าจำเลยมียาลดความอ้วนอยู่ 1 ชุด ที่จำเลยซื้อมาไว้รับประทานเอง สิบตำรวจตรี ส.  ขอซื้อยาลดความอ้วนชุดนั้นจำเลยจึงขายให้ และเมื่อมีการตรวจค้นร้ายขายยาของจำเลยก็ไม่พบสิ่งของผิดกฎหมายอื่นแต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่มีเฟนเตอมีนของกลางไว้เพื่อขายดังที่โจทก์ฟ้องและรับฟังไม่ได้ว่าที่ร้านขายยาของจำเลยเคยมีการขายเฟนเตอมีนมาก่อน ดังนั้น การที่จำเลยขายเฟนเตอมีนของกลางให้แก่สิลบตำรวจตรี ส. จึงเกิดจากการถูกล่อให้กระทำความผิดโดยจำเลยไม่มีเจตนาจะกระทำความผิดในการขายเฟนเตอมีนมาก่อน พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นพยานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ โจทก์ไม่สามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
2.คำพิพากษาฏีกาที่ 4301/2543
            โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ทั้งทางแพ่งและ ทางอาญา ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีนี้โดยฟ้องจำเลย ทั้งสามเป็นคดีอาญาจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในการดำเนินคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ซึ่งให้นำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนี้ ในการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ได้นั้นนอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามคำฟ้องของโจทก์จริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 แล้ว ยังต้องได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ด้วย
            พยานหลักฐานของโจทก์เองแสดงให้เห็นว่า การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้น เป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจาก วันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้ว โดยเป็นการทำซ้ำเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำนั้น ให้แก่ ส. ตามที่ ส. ได้ล่อซื้อนั่นเอง มิใช่เป็นการทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ ดังนี้ จึงน่าเชื่อว่าการที่มีผู้กระทำผิด ด้วยการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10510/2555, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549 ,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9600/2554)

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก