ความสำคัญของประเด็นข้อพิพาทที่ทนายความควรรู้|ความสำคัญของประเด็นข้อพิพาทที่ทนายความควรรู้

ความสำคัญของประเด็นข้อพิพาทที่ทนายความควรรู้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความสำคัญของประเด็นข้อพิพาทที่ทนายความควรรู้

  • Defalut Image

ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งนำไปใช้ในคดีอาญาด้วย เป็นหลักพื้นฐานที่ว่าในการพิจารณาและพิพากษาคดีของศาล

บทความวันที่ 16 ส.ค. 2562, 13:46

มีผู้อ่านทั้งหมด 916 ครั้ง


ความสำคัญของประเด็นข้อพิพาทที่ทนายความควรรู้

            ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งนำไปใช้ในคดีอาญาด้วย เป็นหลักพื้นฐานที่ว่าในการพิจารณาและพิพากษาคดีของศาล ศาลต้องพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนั้น  ศาลจะพิจารณาพิพากษานอกประเด็น เกินประเด็น ขาดประเด็น หรือผิดเพี้ยนไปจากประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความพิพาทกันไม่ได้ สรุปได้ว่า การวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทเท่านั้น   เว้นแต่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทก็ให้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้  เป็นอำนาจของศาลแต่ไม่ใช่หน้าที่ แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 142  ไปใช้คำว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อที่ไม่ถูกต้อง เพราะประเด็นตามคำฟ้องอาจไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทก็ได้ ถ้าจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธหรือให้การปฏิเสธไม่ชัดเจนตามหลักเกณฑ์ใน ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยยอมรับตามข้อที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องแล้ว ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเด็ดขาดตามคำรับของคู่ความหรือที่ถือว่าจำเลยยอมรับแล้ว จึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในศาลต้องวินิจฉัยต่อไป นอกจากนี้ ประเด็นข้อพิพาทอาจเกิดจากคำให้การของจำเลยฝ่ายเดียวก็ได้  เพราะจำเลยในคดีแพ่งนอกจากจะมีหน้าที่ต้องให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องไว้ใน คำให้การให้ชัดแจ้งทุกข้อแล้ว จำเลยยังมีสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ใหม่ขึ้นกล่าวอ้างไว้ให้ชัดแจ้งในคำให้การได้อีกด้วย  ซึ่งถือเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี โดยไม่ต้องให้โจทก์ปฏิเสธโต้แย้งแต่ประการใด ศาลฎีกาไทยเรียกประเด็นข้อพิพาทประเภทนี้ว่าประเด็นข้อพิพาทตามคำให้การไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ
ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยายเนติบัณฑิต สมัยที่ 65
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก