พยานบอกเล่า และพยานซัดทอด|พยานบอกเล่า และพยานซัดทอด

พยานบอกเล่า และพยานซัดทอด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

พยานบอกเล่า และพยานซัดทอด

  • Defalut Image

พยานบอกเล่า หมายถึง พยานที่ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ขณะกระทำความผิด

บทความวันที่ 4 ก.ค. 2562, 10:46

มีผู้อ่านทั้งหมด 10445 ครั้ง


พยานบอกเล่า และพยานซัดทอด

    พยานบอกเล่า หมายถึง พยานที่ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ขณะกระทำความผิด เป็นเพียงพยานที่รับฟังมาจากผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือรับฟังต่อๆกันมาซึ่งโดยหลักกฎหมายแล้ว ต้องห้ามมิให้รับฟัง ยกเว้นมีเหตุผลหนักแน่นน่าเชื่อถือ แต่ต้องรับฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่น เพราะคำพูดของคนนั้นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตลอดเวลาเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด หรือเพื่อเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น ก็สามารถเบิกความเข้าข้างบุคคลอื่นได้
    พยานซัดทอด หมายถึง พยานที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบแรก คือ ยอมรับว่าตัวเองกระทำความผิดแต่ยังมีผู้อื่นร่วมกระทำความผิดกับตัวเองด้วย กรณีนี้ ศาลฎีกาให้น้ำหนักรับฟังได้ แต่ถ้าเป็นพยานซัดทอดที่ให้การว่าตัวเองไม่ได้กระทำความผิด แต่บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำความผิด พยานประเภทนี้ศาลฎีกา วินิจฉัยว่าไม่มีน้ำหนักให้น่ารับฟัง เพราะเป็นการปัดความรับผิดของตัวเอง และโยนความรับผิดให้คนอื่น จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ
ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับพยานบอกเล่า
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6860/2557 

            “แม้คำให้การชั้นสอบสวนของอ. และม. ตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 เป็นพยานบอกเล่า แต่ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 ก็มิได้ห้ามศาลรับฟังเสียทีเดียว โดยมีข้อยกเว้นตามมาตรา 226/3 วรรคสอง (1)(2) คือ หากเข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ศาลก็รับฟังพยานบอกเล่าได้ แต่ในการรับฟังพยานบอกเล่าลงโทษจำเลยนั้น พยานบอกเล่าดังกล่าวต้องมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษ หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นสนับสนุนตามป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์รับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของอ. ประกอบคำเบิกความของอ. และรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของ ม. เนื่องจาก ม. ถึงแก่ความตายก่อนมาเบิกความเป็นพยานอันเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง(2) โดยรับฟังประกอบคำเบิกความของ อ. ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของอ. และ ม. ตารมบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 ลงโทษจำเลยจึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น”
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5885/2554
            “แม้คำให้การในชั้นสอบสวนของ พ. จะเป็นพยานบอกเล่าและพยานซัดทอด ระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดอันต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 ทั้งในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่าและพยานซัดทอด ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่มีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นเรื่องที่ พ. ให้การซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิด โดยให้จำเลยรับผิดเพียงลำพัง ลักษณะและแหล่งที่มาของคำให้การของ พ. ในชั้นสอบสวน จึงน่าเชื่อว่าสามารถพิสูจน์ความจริงได้ กับมีเหตุผลอันหนักแน่นทั้งเชื่อได้ว่าการให้การตามความเป็นจริง”
ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับพยานซัดทอด
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2558

              “โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้กลอุบายทำทีเป็นขอเช่ารถยนต์จากผู้เสียหายที่ 3 เพื่อลักรถยนต์ โดยโจทก์อ้างว่าได้รับทราบข้อมูลจาก น. ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความจริงตามข้อกล่าวหา แต่โจทก์กลับมีเพียงคำให้การของ น. ที่ให้การไว้ต่อพันตำรวจโท ช. ในชั้นสอบสวนเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงพยานบอกเล่า ทั้งจำเลยทั้งสองก็นำสืบต่อสู้ว่า น. แต่เพียงผู้เดียวเป็นตัวการ ดำเนินการเกี่ยวกับการเช่ารถยนต์คันดังกล่าวทั้งหมด จำเลยทั้งสองมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นด้วย คำให้การในชั้นสอบสวนของ น. เท่ากับเป็นพยานซัดทอด ซึ่งในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานนี้ ศาลจำต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์อ้างว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 กับพวกเคยไปเช่ารถยนต์ที่ร้านบ. แล้วนำรถยนต์ที่เช่าไป ก็ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวกแต่อย่างใด ทั้งพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลยที่ 1 ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/2 วรรคหนึ่ง พยานหลักฐานของโจทก์จึงตกเป็นที่สงสัยว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยทั้งสอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง”
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก