ลูกจ้างที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญมาก สามารถย้ายไปแผนกอื่นได้|ลูกจ้างที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญมาก สามารถย้ายไปแผนกอื่นได้

ลูกจ้างที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญมาก สามารถย้ายไปแผนกอื่นได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกจ้างที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญมาก สามารถย้ายไปแผนกอื่นได้

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2561

บทความวันที่ 2 พ.ค. 2562, 17:08

มีผู้อ่านทั้งหมด 1007 ครั้ง


ลูกจ้างที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญมาก สามารถย้ายไปแผนกอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2561
          จำเลยร่วมเป็นลูกจ้างทำหน้าที่เป็นพนักงานป้อนข้อมูลที่ไม่ต้องใช้ฝีมือหรือความรู้ความเชี่ยวชาญมากนักสามารถย้ายสับเปลี่ยนทำงานแผนกอื่นได้โดยไม่ต้องเลิกจ้าง ซึ่งก่อนมีการปรับยุบแผนกคลังสินค้าสำเร็จรูปที่จำเลยร่วมทำงานอยู่มีการโยกย้ายพนักงานป้อนข้อมูลไปปฏิบัติหน้าที่อื่นแทน แสดงว่าโจทก์สามารถใช้วิธีการดังกล่าวได้ ดังนี้การเลิกจ้างจำเลยร่วมจึงยังไม่มีความจำเป็นเพียงพอ การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมโดยจำเลยร่วมมิได้กระทำความผิดในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับจึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำเลยชอบด้วยกฎหมายแล้ว กรณีไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ให้โจทก์รับจำเลยร่วมลูกจ้างกลับเข้าในตำแหน่งหน้าที่สิทธิประโยชน์ไม่ต่ำกว่าเดิมและจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับกลับเข้าทำงาน

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ผมเป็นพนักงาน​และมีประสบการณ์​รถยนต์ยุโรป​ที่สามารถสร้างแผนกงาน​ ทำงาน​และผลประกอบการได้ โดย​ไม่ใช้หน้าที่​ตามกฏระเบียบ​  

ณ​ ปัจุบันเป็น​หัวหน้า​ ​Drive​ คนขับรถ​ ก่อนหน้าเป็น​ ​service Advisor.  ศูนย์บริการ​ 9​ปี

ปัจจุบัน​ ​ สามารถตรวจสอบระบบงาน​ตัวเลขค้าง​ใน​ ​Report​ และ​เป็นคณะกรรมการตรวจสอบ​ ระบบงาน


สอบถาม​ ​: บริษัท​ ยึดติดให้ทำหน้าที่​  หัวหน้าคนขับรถ​ซึ่ง​ ไม่สามารถยอมรับเงื่อนไข​ ได้​   สามารถเจรจา​และฟ้องร้องตัวแทน​ บริษัท​ ได้หรือไม่ครับ

โดยคุณ กิตติพงศ์​ รัตนสิงห์ 9 มิ.ย. 2562, 19:48

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ถ้าเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมลองร้องเรียนไปที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดูนะครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 2 ก.ค. 2562, 11:33

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก