ฟ้องซ้อน|ฟ้องซ้อน

ฟ้องซ้อน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ฟ้องซ้อน

  • Defalut Image

การฟ้องคดีแพ่งต่อศาล เมื่อฟ้องเป็นคดีแรกแล้ว และคดียังไม่ถึงที่สุด

บทความวันที่ 31 ม.ค. 2562, 09:10

มีผู้อ่านทั้งหมด 2464 ครั้ง


ฟ้องซ้อน

                การฟ้องคดีแพ่งต่อศาล เมื่อฟ้องเป็นคดีแรกแล้ว และคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์คนเดิมจะมาฟ้องจำเลยคนเดิมต่อศาลในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้เพราะถือเป็นฟ้องซ้อน ศาลต้องยกฟ้องสถานเดียว ดังนั้น การฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาหรือละเมิด จะต้องบรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งหมดไปในคราวเดียวกัน จะมาฟ้องเป็นคดีใหม่ในภายหลังไม่ได้
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2535 (คดีอยู่ระหว่างพิจารณาหมายความรวมถึงคดีอยู่ในศาลสูงด้วย)
             คำว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง หมายความว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 201 วรรคแรกไปแล้ว แต่จำเลยยังอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวอยู่ก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาเช่นเดียวกัน โจทก์จึงไม่อาจนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีกได้เป็นฟ้องซ้อนและเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากวันยื่นคำฟ้องนั้น แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุดก็ตามก็ไม่ทำให้คดีหลังไม่เป็นฟ้องซ้อน การจำหน่ายคดีจากสารบบความเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกที่ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่นั้นเป็นเพียงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ ส่วนโจทก์จะยื่นคำฟ้องใหม่ ได้หรือไม่ต้องบังคับตามมาตรา 173 ด้วย
2.คำพิพากษาฎีกาที่ 1895/2560  (เป็นคู่ความเดียวกันหรือไม่ ดูเป็นรายคน)
              คดีก่อนโจทก์ฟ้อง ต. ช. และบริษัท ท. แม้ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นคดีละเมิดในเหตุการณ์เดียวกันซึ่งมีสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนของศาลชั้นต้น อันจะต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง(1) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2552 (เรียกค่าเสียหายที่สามารถเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว เป็นฟ้องซ้อน)
                คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทให้จำเลยเพื่ออำพรางการกู้เงิน ต่อมาจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ขอให้ทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ตั้งโรงเรียนพิพาทของโจทก์ โดยในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทดังกล่าว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้เพิกถอนสัญญาที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทอีกก็ตาม แต่โจทก์อ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาในที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท แล้วเปิดการสอนโรงเรียนชื่อ "โรงเรียนอนุบาล บ." โดยพลการ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถดำเนินกิจการโรงเรียนพิพาทได้ตามปกติ ขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดประโยชน์จากการขาดรายได้ตามปกติ และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9201/2551 (ค่าเสียหายที่เกิดหลังฟ้องเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้อน)
              คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าที่ดิน 2 แปลงที่ ท. มีต่อจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินแต่ละแปลงดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาเช่าในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาอันเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งโจทก์ไม่อาจยกขึ้นกล่าวอ้างหรือมีคำขอบังคับขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งคำขอที่ให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินในคดีนี้ยังกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย จึงมิใช่เป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อนที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
5.คำพิพากษาฎีกาที่ 2427-2428/2520 (แม้สวนสิทธิในคดีแรกไว้ ก็เป็นฟ้องซ้อน)
              สำนวนหลังจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมหลังจากที่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในสำนวนเเรกแล้วนั้น เป็นฟ้องเรื่องเดียวกับเรื่องเดิมที่จำเลยฟ้องแย้งไว้แล้วนั่นเอง จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง(1)  การที่จำเลยขอสงวนสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมไว้ในฟ้องแย้งนั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษขึ้นแต่ประการใด
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 173
 เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นและ
(2) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลย การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก