การโอนหุ้นบริษัท|การโอนหุ้นบริษัท

การโอนหุ้นบริษัท

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การโอนหุ้นบริษัท

  • Defalut Image

 ปัจจุบันมีการซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน

บทความวันที่ 20 ธ.ค. 2561, 09:45

มีผู้อ่านทั้งหมด 6960 ครั้ง


การโอนหุ้นบริษัท

             ปัจจุบันมีการซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน ผู้ถือหุ้นหลายคนยังไม่ทราบขั้นตอนการโอนหุ้น และแบบของการโอนหุ้น ทำให้มีปัญหาฟ้องร้องกันในชั้นศาลเป็นจำนวนมาก ยังไม่รวมถึงการที่บิดามารดาโอนหุ้นให้ลูกจำนวนมาก หลังจากนั้น ก็มาฟ้องขอหุ้นคืนหากบิดามารดาต้องการให้บุตรถือหุ้นแทนก็ควรจะมีหนังสือตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าให้ถือหุ้นแทนเท่านั้น ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ขาด การโอนหุ้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายถ้าครอบครองเกิน 5 ปีผู้ครอบครองย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการโอนหุ้น

1.คำพิพากษาฎีกาที่ 1127/2521 (ไม่ได้ระบุหมายเลขหุ้น)
           ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 บังคับว่าการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อในใบหุ้นต้องแถลงเลขหมายหุ้นซึ่งโอนกันลงในตราสารการโอนด้วยนั้น ก็เพื่อว่าถ้าผู้โอนมีหุ้นหลายหุ้นและต้องการโอนเพียงบางหุ้น ก็ให้ระบุเลขหมายหุ้นที่โอนไป เพื่อจะรู้ได้แน่นอนว่าหุ้นใดยังอยู่หรือโอนไปแล้วเท่านั้น แต่ในกรณีที่ผู้โอนต้องการโอนหุ้นทั้งหมดดังคดีนี้เพียงแต่ระบุในเอกสารการโอนว่าขอโอนหุ้นทั้งหมดให้แก่ผู้รับโอน ก็ถือได้ว่าเป็นการแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันแล้ว
2.คำพิพากษาฎีกาที่ 2451/2551 (การโอนหุ้นที่ยังไม่ได้ออกใบหุ้น)
           หุ้นที่ยังไม่ได้ออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่เป็นหุ้นที่มีหลายเลขใบหุ้นแล้ว การซื้อหุ้นดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง
3.คำพิพากษาฎีกาที่ 11883/2554 (การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์)
           การซื้อขายหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพียงกำหนดแบบของการโอนหุ้นที่มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่แบบของการซื้อขายหุ้น ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้โอนหุ้นให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่อาจอ้างว่าตนเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท และไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้น หาทำให้การซื้อขายหุ้นตกเป็นโมฆะไม่
4.คำพิพากษาฎีกาที่ 5873/2546 (การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกได้)
           การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม เมื่อโจทก์รับว่าการโอนหุ้นให้แก่ ม. มิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของ ป. ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่ามีการโอนหุ้นไปแล้วยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของ ป. มาคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
5.คำพิพากษาฎีกาที่ 14225/2558 (การโอนหุ้นโดยความรู้เห็นของบริษัท)
              จำเลยที่ 1 และ ป. ทำหนังสือสัญญาโอนหุ้นให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสามในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เมื่อหุ้นดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 และ ป. โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทก็ทราบเรื่องดังกล่าวดีตั้งแต่วันนั้น ถือว่าบริษัททราบเรื่องการโอนหุ้นดังกล่าวแล้ว โจทก์ร่วมทั้งสามใช้ยันกับบริษัทได้ว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว แม้จะไม่ได้มีการจดแจ้งชื่อโจทก์ร่วมทั้งสามในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ตาม และเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทดังกล่าวที่จะต้องไปจดแจ้งชื่อโจทก์ร่วมทั้งสามในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อบริษัทมีการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นย่อมมีผลให้โจทก์ร่วมทั้งสามไม่ได้รับแจ้งให้เข้าร่วมประชุมด้วย และที่ประชุมก็มีมติให้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของหุ้น และกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงทำให้โจทก์ร่วมทั้งสามเสียหายเนื่องจากไม่สามารถคัดค้านเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมทั้งสามย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงในกรณีนี้ที่จะแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าวได้
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1129
 อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่ง ตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย
                การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น
 การโอนหุ้นควรทำเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายหุ้น และต้องมีการชำระเงินค่าหุ้นให้ครบถ้วนก่อนจึงจะลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น มิฉะนั้น อาจเสียหุ้นไปโดยไม่ได้เงินค่าหุ้น
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก