การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย|การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

  • Defalut Image

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีคดีมโนสาเร่ เล็กๆน้อยๆ เช่น ขี่รถจักรยานยนต์ขึ้นทางเท้า

บทความวันที่ 6 ธ.ค. 2561, 09:41

มีผู้อ่านทั้งหมด 2148 ครั้ง


การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


               ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีคดีมโนสาเร่ เล็กๆน้อยๆ เช่น ขี่รถจักรยานยนต์ขึ้นทางเท้า และทะเลาะกับเจ้าหน้าที่เทศกิจ พยายามทำร้ายเจ้าพนักงาน จอดรถขวางหน้าบ้านคุณป้าทุบรถผิดกฎหมายจราจรและเป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งทั้งสองกรณีดังกล่าวพนักงานสอบสวนมักจะปรับในข้อหาที่เบากว่าไม่ปรับในข้อหาหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ซึ่งการกระทำที่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงโทษบทหนัก แต่พนักงานสอบสวนเห็นใจผู้ต้องหาหรืออาจส่อไปในทางที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาทำให้ได้รับโทษเบากว่าที่กฎหมายกำหนด การเปรียบเทียบปรับในคดีที่กฎหมายกำหนดให้เปรียบเทียบปรับได้ต้องเป็นกรณีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทที่ผ่านมา ศาลเคยตัดสินเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบไว้ แยกเป็นสามกลุ่ม ดังนี้
1.การกระทำความผิดเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท บทเบามีอัตราโทษอยู่ในข่ายเปรียบเทียบปรับได้ แต่บทหนักไม่อยู่ในข่ายที่เปรียบเทียบได้ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2540 
               จำเลยขับรถในขณะเมาสุราและโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4),157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเพื่อให้ความผิดทั้งหมดเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37ได้ แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(2),160 วรรคสาม ตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2516 
              จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เป็นทั้งความผิดลหุโทษและที่มิใช่ลหุโทษ แต่ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาในความผิดลหุโทษแต่บทเดียว แล้วเปรียบเทียบปรับไป ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้คดีเลิกกันอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องจำเลยในความผิดที่มิใช่ลหุโทษอีกได้
2.การกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องเปรียบเทียบบทหนักที่สุด ถ้าพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบบทเบาถือเป็นการเปรียบเทียบไม่ชอบ ไม่ทำให้คดีอาญาเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5942/2548 

               จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 เพื่อให้ความผิดทั้งหมดรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วในความผิดฐานดังกล่าวโดยความยินยอมของผู้เสียหายเพราะผู้เสียหายมิได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ด้วย การเปรียบเทียบปรับก็ไม่ชอบ คดีอาญาไม่เลิกกัน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ได้
3.เดิมคดีเป็นความผิดลหุโทษ และพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบแล้ว ต่อมากลับปรากฎว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดที่ไม่ใช่ลหุโทษ ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2541 
             โจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองทำร้ายร่างกายโจทก์ไม่ถึงกับเป็นเหตุอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวน ทำการเปรียบเทียบปรับ โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างยินยอม คดีย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37(2) สิทธินำคดีอาญาในความผิดลหุโทษของโจทก์มาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3) แต่ปรากฏว่าหลังจากนั้นในวันเดียวกันโจทก์เกิดอาการมึนศีรษะ และอาเจียนจึงกลับไปให้แพทย์ตรวจใหม่ พบว่าสมองได้รับการ กระทบกระเทือนและมีเลือดคั่งต้องรักษานานประมาณ 30 วัน โดยโจทก์อ้างว่าเป็นผลเกิดจากถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แท่งเหล็กกลวงตี หากเป็นจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง คดีก็ไม่ อาจเลิกกันได้เพราะกรณีมิใช่ความผิดลหุโทษเสียแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
                  พนักงานสอบสวนต้องมีความเป็นมืออาชีพและมีจรรยาบรรณ การปรับต้องยึดกฎหมายไม่ใช่ปรับตามอำเภอใจ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก