ร่วมกันฆ่าหั่นศพ(คดีน้องเปรี้ยว)|ทนายคลายทุกข์,ลักทรัพย์,ทนาย

ร่วมกันฆ่าหั่นศพ(คดีน้องเปรี้ยว)

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ร่วมกันฆ่าหั่นศพ(คดีน้องเปรี้ยว)

  • Defalut Image

ทนายคลายทุกข์ขอให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดในคดีอาญา

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:13

มีผู้อ่านทั้งหมด 5248 ครั้ง


ร่วมกันฆ่าหั่นศพ(คดีน้องเปรี้ยว)

             ทนายคลายทุกข์ขอให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดในคดีอาญา
            1. มีเจตนาร่วมกันที่จะกระทำความผิด ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ
            2. มีการกระทำร่วมกัน ในขณะกระทำความผิด เช่นการแบ่งหน้าที่กันทำเช่นดูต้นทางฎีกาที่ 321/2521 หรืออยู่ในที่เกิดเหตุในลักษณะที่สามารถช่วยเหลือให้การกระทำความผิดสำเร็จลุล่วงไปได้ฎีกาที่ 911/2473 หรือฎีกาที่ 1715/2528
            3. ถ้ามีการกระทำร่วมกันภายหลังกระทำความผิดไม่ใช่ตัวการร่วมอ้างอิงฎีกาที่ 2439/2539
            4. ผลของการเป็นตัวการร่วมต้องร่วมกันรับผลอันเกิดจากการกระทำของตัวการร่วมนั้นอ้างอิงฎีกาที่ 5479/2554 แต่หากไม่ใช่ตัวการร่วมแต่ละคนก็ต้องรับผิดเฉพาะผลที่เกิดจากการกระทำของตนเท่านั้นอ้างอิงฎีกา 11822/2556
            5. การกระทำความผิดโดยประมาทเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาจึงไม่อาจเป็นการร่วมกันกระทำความผิดในลักษณะตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 อ้างอิงฎีกาที่ 17212/2555
            ท่านใดอยากจะแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคดีตัวการร่วมโทรศัพท์มาคุยกันได้ที่ 081-6161425 นะครับ

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 83  ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2521

จำเลยที่ 1, ที่ 3 เข้าปล้นทรัพย์ในร้านขายของจำเลยที่ 2 เดินวนเวียนอยู่บริเวณหน้าร้าน ทำหน้าที่คอยดูต้นทางเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำให้การปล้นสำเร็จ จำเลยที่ 2 เป็นตัวการปล้นทรัพย์

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2473
สามคนสมคบกันมีอาวุธไปทำการชิงทรัพย์และคอยช่วยเหลือกันเพื่อให้การกระทำสำเร็จไปดังนี้ ต้องมีผิดฐานเปนตัวการปล้นทรัพย์ด้วยกัน พ.ร.บ. ฎีกาอุทธรณ์แก้มาก ศาลเดิมวาง ม.301 จำ 10 ปี ศาลอุทธรณ์วาง ม.299 จำ 3 ปี ฎีกาได้

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2528
ก่อนเกิดเหตุจำเลยอยู่ในกลุ่มของพวกที่ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายและขณะเกิดเหตุจำเลยนั่งอยู่กับพวกที่โต๊ะใกล้ห้องน้ำที่เกิดเหตุถือเสื้อให้เพื่อนที่เข้าไปข่มขืนกระทำชำเราและเพื่อดูเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วแจ้งเหตุร้ายแก่ผู้กระทำผิดถือได้ว่าจำเลยร่วมกระทำผิดแล้ว

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2539
ส. พาจำเลยไปขนสุราซึ่งกองอยู่หน้าโรงเก็บสินค้าล.ที่ส. เป็นลูกจ้างอยู่มิได้ไปขนสุราจากโรงเก็บสินค้าก.และโรงเก็บสินค้าพ. ที่ผู้เสียหายนำสุราไปเก็บรักษาไว้แสดงว่าส. ลักสุราของผู้เสียหายและขนสุราดังกล่าวออกจากโรงเก็บสินค้าก. ไปเก็บไว้ที่โรงเก็บสินค้าล. ตอนที่จำเลยไปช่วยขนสุราของผู้เสียหายจึงเป็นเวลาที่ส. ลักสุราของผู้เสียหายเสร็จแล้วจำเลยจึงมิได้เป็นตัวการร่วมกับส. ลักทรัพย์ สุราของกลางแม้จะมีสารชนิดหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ดื่มเกิดอาการปวดศีรษะแต่ก็เป็นสุราที่ผลิตโดยได้รับอนุญาตจึงมิใช่สุราที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดและสุราดังกล่าวก็เป็นของผู้เสียหายผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์และคดีที่จำเลยถูกกล่าวหาเป็นคดีความผิดต่ออาญาแผ่นดินมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา121วรรคหนึ่งถึงแม้ผู้เสียหายจะมิได้ร้องทุกข์ก็ตาม

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2554
จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันทำร้ายโจทก์ร่วมต่อเนื่องกัน เมื่อ ร. พวกของจำเลยนำมีดหัวตัดที่นำติดตัวมาฟันโจทก์ร่วมจนเป็นอันตรายสาหัส จำเลยทั้งสามต้องรับผลในสิ่งที่ตนเองกับพวกกระทำลงไป จะอ้างว่ามีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายเท่านั้นหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายสาหัส จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) ประกอบมาตรา 83
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก