เบี้ยปรับตามกฎหมาย|เบี้ยปรับตามกฎหมาย

เบี้ยปรับตามกฎหมาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เบี้ยปรับตามกฎหมาย

  • Defalut Image

เมื่อมีการทำธุรกิจทางการค้า หรือมีการทำนิติกรรมสัญญาไม่ว่าจะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดหรือบ้านพร้อมที่ดิน

บทความวันที่ 11 พ.ค. 2560, 09:42

มีผู้อ่านทั้งหมด 11259 ครั้ง


เบี้ยปรับตามกฎหมาย

    เมื่อมีการทำธุรกิจทางการค้า หรือมีการทำนิติกรรมสัญญาไม่ว่าจะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดหรือบ้านพร้อมที่ดิน หรือสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมา ในปัจจุบันนี้ คู่สัญญามักกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าในสัญญาก่อนผิดนัดหรือผิดสัญญา โดยกำหนดว่า เมื่อผิดสัญญาแล้วจะต้องชดใช้เงินเป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจกำหนดเป็นร้อยละของค่าจ้างหรือราคา เป็นต้น การกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องพิสูจน์ค่าเสียหายและทำให้คู่สัญญาเกรงกลัวไม่กล้าผิดสัญญา แต่ถ้าค่าปรับสูงเกินส่วน ศาลก็ยังมีสิทธิใช้ดุลพินิจในการลดลงได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้ความเป็นธรรมกับคู่สัญญา เบี้ยปรับอาจเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ นอกจากนี้ เมื่อผิดสัญญาแล้วต้องชดใช้เบี้ยปรับก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัด ถ้ายังไม่ยอมใช้เบี้ยปรับ เบี้ยปรับทางปฏิบัติที่เกิดขึ้น มี 2 กรณี กรณีแรก คู่สัญญาไม่ชำระหนี้เลย เช่น ผู้รับเหมารับเงินไปแล้วไม่สร้างบ้านให้ตามที่ตกลง และหลบหนีไป หรือทิ้งงาน กรณีที่ 2 เบี้ยปรับเกิดจากการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เช่น ชำระหนี้ล่าช้า หรือส่งมอบงานชำรุดบกพร่อง ไม่เรียบร้อย เป็นต้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 469/2548
    ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์ดำเนินคดีเรียกเงินที่ค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน และจำเลยยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินสุทธิค้างชำระนับแต่ผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ข้อตกลงเช่นว่านี้ แสดงว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลยดอกเบี้ยที่กำหนดไว้จึงเป็นค่าเสียหายจาการไม่ชำระหนี้ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
คำพิพากษาฎีกาที่ 252/2548 
    แม้จำเลยสมัครใจตกลงเข้าทำสัญญาเพื่อรับทุนจากโจทก์ไปศึกษาต่อต่างประเทศเองโดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยผิดสัญญา จำเลยยอมให้เรียกตัวกลับหรือปลดออกจากราชการได้ และจำเลยยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นจำนวน 3 เท่าของเงินทุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไป แต่เมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับข้อตกลงสำหรับความเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับแล้ว เมื่อเห็นว่าสูงเกินส่วนศาลย่อมสามารถลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
    จำนวนเงินค่าเสียหายที่ศาลกำหนดรวมทั้งเบี้ยปรับเป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีทั้งจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพียงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปเท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 3354/2531
    สัญญาจะซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนด ผู้จะขายจะยอมให้ผู้จะซื้อปรับ20,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วยโดยไม่มีข้อความตอนใดระบุให้สิทธิผู้จะขายเลือกปฏิบัติไม่ยอมขายที่ดินให้ผู้จะซื้อผู้จะซื้อเท่านั้นจึงเลือกเรียกเอาเบี้ยปรับหรือเรียกร้องให้ผู้จะขายชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 เมื่อโจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายให้ขายที่ดินตามสัญญา และสภาพแห่งหนี้ก็เปิดช่องให้ศาลบังคับได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติด้วยการขอคืนเงินมัดจำและยอมชำระค่าปรับให้โจทก์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2216/2515 (ประชุมใหญ่) 
    เมื่อหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุว่า ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้จากผู้จะซื้อเป็นการถูกต้องแล้ว ผู้จะขายจะนำสืบพยานบุคคลว่าไม่ได้รับเงินมัดจำโดยผู้จะซื้อขอผัดชำระนั้นไม่อาจรับฟังได้ เพราะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร หาใช่เป็นการสืบหักล้างเอกสารว่าไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้ผู้จะซื้อตามกำหนด ยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับ และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินจำนวนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งด้วย ค่าเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้จะขายผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381ซึ่งนอกจากจะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้วผู้จะซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากผู้จะขายได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา380 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ผู้จะซื้อฟ้องเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญา โดยมิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้จะขาย เพื่อการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร แม้ผู้จะซื้อมิได้นำสืบถึงความเสียหายศาลก็มีอำนาจกำหนดเบี้ยปรับตามจำนวนที่พอสมควรให้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3348/2542 
    จำเลยเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี หากจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญาหรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี จึงเป็นเรื่องที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์ คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยอันเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนก็ปรับลดเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก