เช็คประกันหนี้ มิใช่ชำระหนี้|เช็คประกันหนี้ มิใช่ชำระหนี้

เช็คประกันหนี้ มิใช่ชำระหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เช็คประกันหนี้ มิใช่ชำระหนี้

ปัจจุบันมีการจ่ายเช็คชำระหนี้ทางการค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งในทางปฏิบัติของการจ่ายเช็ค

บทความวันที่ 16 มี.ค. 2560, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 13919 ครั้ง


 

เช็คประกันหนี้ มิใช่ชำระหนี้
 
ปัจจุบันมีการจ่ายเช็คชำระหนี้ทางการค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งในทางปฏิบัติของการจ่ายเช็ค มี 2 แบบ แบบเรียกเรียกว่า “จ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้” เช่น ชำระหนี้ทันทีในวันที่เป็นหนี้ หรือจ่ายเช็คล่วงหน้าเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ เป็นต้น  อีกแบบหนึ่ง “จ่ายเช็คเพื่อค้ำประกันหนี้” ไม่ได้มีเจตนาเพื่อชำระหนี้ มอบเช็คให้เจ้าหนี้ไปเป็นหลักประกันเพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับเจ้าหนี้ เช่น กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มอบเช็คในวันทำสัญญา 1,000,000 บาท ไว้เป็นประกัน แบบนี้เรียกว่าจ่ายเช็คเพื่อประกันหนี้ ผลทางกฎหมายต่างกันในทางอาญา ถ้าจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดเรียกเก็บเงินไม่ได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ออกเช็คหรือผู้สั่งจ่ายเช็ค ก็จะถูกดำเนินคดีอาญา โดยเจ้าหนี้มีสิทธินำเช็คไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลทางใดทางหนึ่ง ซึ่งมีบทลงโทษจำคุก ส่วนการจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกัน ไม่เป็นความผิดทางอาญา แต่ต้องรับผิดทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2547 
โจทก์เป็นผู้จัดหาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินมาด้วยตนเอง และเป็นผู้กรอกข้อความเอง ซึ่งปรากฏว่าโจทก์มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี หากเห็นว่าข้อความในหนังสือสัญญาไม่สัมพันธ์หรือใช้ไม่ได้กับการออกเช็คพิพาทในข้อสาระสำคัญ โจทก์ย่อมทราบดีและน่าจะทำการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง เมื่อหนังสือสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับมีข้อความตรงกันในข้อ 4 ว่า เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน จำเลยผู้กู้นำเช็คพิพาทแต่ละฉบับมอบให้ไว้แก่โจทก์ผู้ให้กู้เพื่อยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนว่าเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2542 
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์ และมีข้อความระบุไว้ในสัญญาว่า เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้จำเลยได้นำเช็คจำนวน 1 ฉบับ ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันด้วยย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่า เช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป มิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าในจำนวนเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้ จำเลยจำนำมาใช้ให้โจทก์เสร็จภายในวันที่ลงไว้ในเช็คก็ตาม ก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อ เป็นหลักประกันการชำระหนี้ มิได้ออกเพื่อชำระหนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แม้ต่อมาจำเลย จะได้ขอผัดผ่อนชำระเงินต้นคืนแก่โจทก์ และขอให้โจทก์ อย่านำเช็คไปเรียกเก็บเงินก็ไม่ทำให้จำเลยกลับมีความผิดไม่
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2524 
จำเลยออกเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อเป็นการค้ำประกันการที่ผู้เสียหายนำที่ดินไปจำนองประกันเงินกู้ที่จำเลยกับภริยากู้ไปจากธนาคาร จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ตามที่โจทก์ฟ้อง
4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498/2514
จำเลยออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้โดยไม่มีเจตนาที่จะให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นมอบให้แก่ ต. แล้วต่อมา ต. ได้นำเช็คฉบับนี้ไปขอแลกเงินสดจากผู้เสียหาย โดยขณะที่ผู้เสียหายรับเช็คไว้รู้ดีอยู่แล้วว่าเป็นเช็คที่ไม่มีเงิน ดังนี้แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเมื่อผู้เสียหายนำไปยื่นขอรับเงิน จำเลยก็ยังไม่มีความผิดฐานออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2534 
ครั้งแรกที่จำเลยยืมเงินโจทก์ โจทก์ได้ไปเปิดบัญชีให้จำเลยเพื่อให้จำเลยออกเช็คมาใช้เงินแก่โจทก์ หลังจากนั้นจำเลยได้นำเงินสดมาชำระแก่โจทก์ การยืมเงินครั้งที่สองครั้งที่สามจำเลยออกเช็คมอบให้โจทก์ไว้ครั้งละ 1 ฉบับ ก็เพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะไม่โกงเงินที่จำเลยยืมไปแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ออกเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเงินที่จำเลยยืมไปจากโจทก์เท่านั้น เช็คพิพาท 2 ฉบับเป็นเช็คที่จำเลยมอบให้โจทก์ในการยืมเงินครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5 เพื่อประกันเงินจำนวนที่จำเลยยืมไปเช่นเดียวกับเช็คฉบับก่อน ๆ โดยโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะให้ใช้เช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 3
6. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2513 
จำเลยขอยืมเงินโจทก์ร่วมบอกว่าจะเอาไปทำการค้า แสดงอยู่ในตัวว่าไม่มีเงินจึงต้องยืม ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์ร่วมในวันนั้นเอง ย่อมเป็นที่เข้าใจกันระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยว่าไม่ใช่เป็นเรื่องออกเช็คให้นำไปขึ้นเงินชำระหนี้ในวันนั้น จึงมีผลเท่ากับออกเช็คไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืม แม้ต่อมาธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
7. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2534 
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการจำหน่ายหางพ่วงรถเทรลเลอร์ และค่าดอกเบี้ย หากจำเลยจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวได้จะนำเงินมาแลกเช็คพิพาทนั้นคืน ดังนี้จำเลยมิได้ประสงค์จะออกเช็คพิพาทให้เป็นการชำระหนี้ แต่เป็นการออกเพื่อให้ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ.
ลูกหนี้จ่ายเช็คเพื่อประกันหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธินำเช็คไปร้องทุกข์หรือดำเนินคดีอาญา
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ดิฉันเป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ทำหน้าที่ฝ่ายบุคคล ช่วงแรกๆเจ้านายจะมีให้ไปจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัว หรือค่าใช้จ่ายบริษัท ซึ่งแรกๆเจ้านายจะโอนหรือจ่ายเงินสดเพื่อให้ไปชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งส่วนตัว และของบริษัท แต่ช่วงหลังๆเจ้านายให้สำรองจ่ายไปก่อน แต่ก็โอนคืนครบให้บ้าง ไม่ครบบ้าง และหลังๆไม่โอนคืนเลย บอกแค่ว่าเดี๋ยวโอนคืน และได้มีการให้ดิฉันช่วยเรื่องการเงินของบริษัท เช่น เอาเช็คลูกค้าไปขายเพื่อนำเงินมาหมุน ให้ดิฉันช่วยกู้นอกระบบ หรือแม้แต่ยืมเพื่อนของดิฉัน ซึ่งช่วงหลังไม่คืนเลย โดยหนี้สินที่มีคือ ให้ดิฉันจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัวไปจำนวน 4 แสนกว่า ค่าใช้จ่ายบริษัท 2 แสนกว่า ไปกู้มาให้อีก 1,550,000 บาท โดยตีเช็ค เงินสด 5แสนให้ 3 ใบ ไม่มีสัญญาเงินกู้ โดยแจ้งว่า จะให้เอาเช็คไปขึ้นเงินได้วันไหน แต่สุดท้ายถึงเวลาที่แจ้งว่าจะคืนกลับแจ้งไม่ให้เอาเช็คเข้าเนื่องจากไม่มีเงินในบัญชี จนปัจจุบันติดต่อให้ผ่อนคืนมาบ้าง เนื่องจากดิฉันต้องรับภาระใช้หนี้แทน ก็ไม่ทำการผ่อน อ้างว่าไม่มีเงิน แต่ปัจจุบันก็ยังคงดำเนินธุรกิจ ดิฉันอยากทราบว่าจะทำอะไรได้บ้างค่ะ

โดยคุณ จิรฐา บุญนาค 4 ก.ค. 2560, 01:10

ความคิดเห็นที่ 2

คุณเเม่เคยให้ ลูกหนี้ยืมเงิน โดยนำเช็คของลูกหนี้มาค้ำประกันตนเอง ในเวลาที่มาขอยืมเงินจำนวนนั้นๆ โดยได้รับเป็นเงินสดไปในทุกครั้ง

..ต่อมาคุณเเม่ได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว

ทำให้การติดตามทวงหนี้ ไม่ดำเนินต่อไป 

ลูกหนี้ถือโอกาสไม่จ่ายเงินหนี้สินที่ยืมไป 


ดิฉันก็ไม่ได้เรียกร้องทางกฎหมาย หรือตามทวงหนี้สิน ต่อจากคุณเเม่ 

ซึ่ง เช็คค้ำประกันของลูกหนี้ทุกฉบับ

คุณเเม่ได้นำมาให้ดิฉันกับรายการการขอยืมของลูกหนี้  ตอนนี้ยังอยุ่ที่ดิฉัน ครบทุกใบ



กรณีเหตุเเบบนี้ สามารถกระทำการใดๆได้บ้างคะ


ขอพระคุณมากเลยนะคะ


สำหรับข้อมูลเเละการเเชร์ความรู้ให้ประชาชนคนทั่วไปได้มีโอกาสรับความรู้เเละเข้าใจในข้อกฏหายได้อีกทางหนึ่ง



โดยคุณ นพเก้า จันทรโชติ 12 มิ.ย. 2560, 17:18

ความคิดเห็นที่ 1

 แล้วเราควรจะทำเป้นสัญญากู้ยืมเงินแบบไหนคะ

โดยคุณ Thitima 25 มี.ค. 2560, 00:23

แสดงความเห็น