เทคนิคการแจ้งความดำเนินคดี|เทคนิคการแจ้งความดำเนินคดี

เทคนิคการแจ้งความดำเนินคดี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เทคนิคการแจ้งความดำเนินคดี

การแจ้งความดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในยุคปัจจุบัน ผู้กระทำความผิดมักไม่ทำคนเดียว มักกระทำเป็นทีม

บทความวันที่ 13 ม.ค. 2560, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 10171 ครั้ง


 เทคนิคการแจ้งความดำเนินคดี

 
การแจ้งความดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในยุคปัจจุบัน ผู้กระทำความผิดมักไม่ทำคนเดียว มักกระทำเป็นทีมหรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่าตัวการร่วม หรือบางครั้งก็มีผู้ใช้หรือตัวการใหญ่ หรือมีผู้สนับสนุน หรือมีผู้สมคบคิด หรือต่างคนต่างประมาท(ที่ชาวบ้านเรียกว่าประมาทร่วม) การแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในคดีอาญาจะต้องแจ้งให้ชัดแจ้ง ครอบคลุมครบทุกคนที่กระทำความผิด ถ้าไม่รู้ชื่อก็ต้องแจ้งความว่ากับพวก การแจ้งความไม่จำเป็นต้องไปแจ้งด้วยตนเอง มอบอำนาจให้คนอื่นไปแจ้งก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องกระทำด้วยตนเอง (อ้างอิงฎีกาที่ 755/2502)  และถ้าเป็นความผิดต่อส่วนตัวต้องแจ้งความภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดหรือรู้ตัวผู้กระทำความผิด ถ้าผู้เสียหายเป็นนิติบุคคลการจะแจ้งความก็ต้องเป็นไปตามที่จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลด้วย แต่หนังสือมอบอำนาจแจ้งความ ไม่จำเป็นต้องติดอากรแสตมป์ก็ได้ (อ้างอิงฎีกาที่ 2836/2541)
ตัวอย่างคดีเกี่ยวกับการแจ้งความ
แจ้งความคดีละเมิดลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2549
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเป็นความผิดอันยอมความได้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 66 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ แม้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุไว้ว่า "นาย ศ. อายุ 26 ปี... ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อาร์ เอส ให้แจ้งร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์วีซีดีภาพยนตร์... เพื่อดำเนินคดีต่อไป" ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ โดยถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะมิได้ชัดแจ้งว่าเป็นการแจ้งความโดยเจตนา จะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ เป็นเหตุให้การสอบสวนในความผิดฐานนี้ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 120
แจ้งความคดีละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7971/2549
หนังสือขอแจ้งความร้องทุกข์กรณีมีการละเมิดลิขสิทธิ์มีข้อความปรากฏอยู่ว่า "... บริษัท อ. ได้รับความเสียหาย โดยปรากฏพบผู้กระทำความผิดดังกล่าว ณ สถานที่ดังนี้... (7) อำเภอกุยบุรี... จึงขอร้องทุกข์ต่อท่านเพื่อโปรดจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำการสอบสวน ตรวจค้น จับกุมผู้กระทำความผิดดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย..." ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นแล้วว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้กล่าวหาว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมมีความประสงค์ที่จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 วรรคสอง
แจ้งความคดีหมิ่นประมาทแต่พนักงานสอบสวนยังไม่ได้ทำบันทึกมอบคดีและลงประจำวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2522
      ผู้เสียหายในคดีหมิ่นประมาทได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ได้ทำการสอบสวนปากคำผู้เสียหายและพยานอีกปากหนึ่ง โดยยังไม่ได้ทำบันทึกการมอบคดีและลงบันทึกประจำวัน พนักงานสอบสวนผู้นั้นก็ได้ย้ายไปรับราชการที่อื่นต่อมาพนักงานสอบสวนคนใหม่มาทำการสอบสวนต่อจึงได้ทำบันทึกการมอบคดีและบันทึกประจำวันขึ้นดังนี้ หาทำให้การสอบสวนที่ได้กระทำไปแล้วนั้นเสียไปไม่ เพราะเมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้แล้วโดยไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง โจทก์ซึ่งมีอำนาจฟ้อง
       จำเลยพูดถึงผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงทำงานอยู่ที่สำนักงานที่ดินอำเภอว่ากระหรี่ที่ดิน คำว่า "กระหรี่" หมายความว่าหญิงนครโสเภณีหรือหญิงค้าประเวณี แม้จำเลยจะไม่ได้กล่าวรายละเอียดว่าค้าประเวณีกับใครประพฤติสำส่อนในทางเพศกับใครบ้างก็เพียงพอที่จะถือว่าเป็นคำหมิ่นประมาทแล้ว
ผลของการใส่ความผู้อื่นน่าจะทำให้เขาเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังหรือไม่นั้นศาลมีอำนาจวินิจฉัยเองได้ไม่จำต้องอาศัยคำเบิกความของพยาน
แจ้งความจับเพราะบางคนเท่านั้นไม่ครอบคลุมถึงบุคคลอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536 
ปรากฏตามสมุดรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า นายส.ร่วมกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาเงินโจทก์ร่วมไป ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย จึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการกล่าวหาเฉพาะนายส. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของนายส. จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นที่ยังไม่ทราบชื่อร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่เป็นการกล่าวหาที่ โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7),123 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จะแจ้งความไม่จำเป็นที่จะต้องระบุฐานความผิดหรือมาตราที่จำเลยได้กระทำความผิดมาเลยคำร้องทุกข์เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานจะเป็นผู้วินิจฉัยและดำเนินการฟ้องร้องเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2540
แม้ขณะ ป.ลงชื่อในคำร้องทุกข์ ขณะนั้นรายละเอียดต่าง ๆยังไม่ได้กรอกข้อความลงไป และ ป.ไม่ทราบว่าจะแจ้งความให้ดำเนินคดีจำเลยในความผิดฐานใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่า ป.เป็นผู้ได้ตรวจค้นพบยาของกลางและได้บันทึกการยึดยาไว้ เมื่อผลการตรวจพิสูจน์พบว่าของกลางเป็นเนื้อที่เยื่อของพืชและมหาหิงคุ์ซึ่งเป็นยาแผนโบราณ ผู้บังคับบัญชาจึงมอบหมายให้ ป.ไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อป.ได้รับมอบหมายให้ไปร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และการจะสอบสวนจำเลยในความผิดฐานใดนั้นย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสอบสวน ดังนั้นการสอบสวนจึงชอบแล้ว
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

พอดีน้องที่ทำงานโดนแจ้งข้อหายักยอกทรัพย์เพระน้องเขาได้โอนเงินไปใช้หนี้ที่บ้านนอกเป็นเงิน60000บาทโดยที่ไม่ได้บอกแฟนเขาพอแฟนเขารุ้โกธรมากไปแจ้งความจับน้องต่อมาบอกไห้แฟนเขาไปถอนแจ้งความเพราะน้องหาเงินมาคืนได้แล้วแต่แฟนเขาบอกว่าต้องไห้น้องมาด้วยถึงจะจบไปถอนแจ้งความคนเดียวไม่ได้อยากรุ้ว่าถ้าน้องไม่มาแฟนเขาไปถอนคนเดียวได้ไหมน้องเขาไม่คิดว่าเรื่องจะถึงขนาดนี้เพราะบัตรเอทีเอ็มเป็นชื่อแฟนน้องแต่น้องก้อเป็นคนไช้ประจำที่อยุ่ด้วยกันมา1ปี#แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส#ขอคำปรึกษาจากท่านผุ้รุ้หน่อยคะสงสารน้องน้องไม่เคยมีประวัติแบบนี้(ขอบคุณคะ)

โดยคุณ บัวบาน แก้วลาน 19 ก.พ. 2563, 16:12

ความคิดเห็นที่ 2

สวัสดีคะคุณทนาย หนูทำการค้าขายออนไลด์ แล้วเกิดการไม่ส่งของมาให้ หนูจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อคะ เงินจำนวน  หลักหมื่น เท่านั้นคะ แต่หนูเครียดมากเลย เพราะต้องหากู้มาใช้หนี้ 

โดยคุณ ศิริลักษณ์ 18 ก.ค. 2562, 12:44

ตอบความคิดเห็นที่ 2

แจ้งความก่อนครับ ดูว่าจะเข้าเป็นคดีฉ้อโกงได้หรือไม่ ถ้าไม่เข้าก็ฟ้องเป็นคดีแพ่ง

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ก.ค. 2562, 14:13

ความคิดเห็นที่ 1

อยากทราบว่าเป็นเรื่องราวที่มีประโยชน์ ให้ทางกฎหมายได้ใช่หรือไม่

โดยคุณ น้องพี่ 17 มี.ค. 2562, 22:15

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ได้และใช่ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 23 เม.ย. 2562, 10:30

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก