ความรับผิดของผู้รับประกันภัย|ความรับผิดของผู้รับประกันภัย

ความรับผิดของผู้รับประกันภัย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความรับผิดของผู้รับประกันภัย

ปัจจุบันมีอุบัติเหตุทางรถยนต์เกิดขึ้นทุกวัน ผู้เอาประกันและผู้เสียหายหลายท่านสอบถามมายังทนายคลายทุกข์ว่า

บทความวันที่ 4 ส.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4687 ครั้ง


 ความรับผิดของผู้รับประกันภัย

 
               ปัจจุบันมีอุบัติเหตุทางรถยนต์เกิดขึ้นทุกวัน ผู้เอาประกันและผู้เสียหายหลายท่านสอบถามมายังทนายคลายทุกข์ว่า การฟ้องบริษัทรับประกันภัยจะเรียกอะไรได้บ้าง ตามกฎหมายเรียกค่าเสียหายได้ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
              1.เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
              2.เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
             3.เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ
ที่ผ่านมาศาลฎีกาเคยตัดสินเกี่ยวกับความรับผิดของบริษัทประกันภัยว่าต้องรับผิดดังนี้
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2524
              รถยนต์เป็นของโจทก์ได้ให้ผู้อื่นเช่าซื้อไป ได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยในวงเงิน 700,000 บาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ผู้เช่าซื้อคงค้างค่าเช่าซื้ออยู่ 562,508 บาท รถคันพิพาทก็หายไป เช่นนี้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีปรากฏว่าผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 700,000 บาท เมื่อรถยนต์เกิดหายไปผู้รับประกันภัยก็จะต้องชดใช้ตามจำนวนดังกล่าว หาใช่จำนวนตามที่ผู้เช่าซื้อค้างค่าเช่าซื้อไม่
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2557
            จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ จำเลยที่ 2 จึงมีความผูกพันจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น จำเลยที่ 2 หาใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่ เมื่อกรมธรรม์เพียงแต่กำหนดวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด อีกทั้งหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และไม่ปรากฎว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2  ชำระหนี้วันใด กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้มาก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 จึงคงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปเท่านั้น
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2537
           ผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะนำสินค้าไปมอบให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยสินค้าไว้กับจำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่า กรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าวจะโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่
           จำเลยให้การรับว่า โจทก์เอาประกันภัยสินค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยจริง แต่ปฏิเสธไม่ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยให้การต่อสู้เกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ข้อนี้แต่เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเพราะสินค้าที่โจทก์อ้างว่าเสียหายนั้น ไม่ใช่สินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยมิได้กล่าวว่าสินค้าที่โจทก์อ้างว่าเสียหายนั้นไม่ใช่สินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยอย่างไรเพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การในส่วนนี้
            ตาม ป.พ.พ. มาตรา 879 วรรคแรก ความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามความในบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นของผู้เอาประกันภัยเองหรือเป็นของผู้รับประโยชน์จึงจะทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นความรับผิดถ้าเป็นความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลอื่น ๆ แม้จะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์เช่นลูกจ้าง แต่ไม่ได้ความว่าเกิดจากการกระทำหรือการได้ใช้จ้างวานหรือสนับสนุนของโจทก์ ก็ไม่ทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นความรับผิด เหตุที่สินค้าเสียหายเกิดขึ้นขณะที่ลูกจ้างของโจทก์ทำหน้าที่ควบคุมเรือ ซึ่งเกิดระเบิดขึ้นที่ห้องเครื่องยนต์ โดยไม่ได้ความว่าการระเบิดและการที่เรือจมเกิดจากการกระทำของโจทก์ หรือการได้จ้างวานหรือการสนับสนุนของโจทก์ จำเลยผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นความรับผิด เหตุที่สินค้าเสียหายเกิดขึ้นขณะที่ลูกจ้างของโจทก์ทำหน้าที่ควบคุมเรือซึ่งเกิดระเบิดขึ้นที่ห้องเครื่องยนต์ โดยไม่ได้ความว่าการระเบิดและการที่เรือจมเกิดจากการกระทำของโจทก์หรือการได้จ้างวานหรือการสนับสนุนของโจทก์ จำเลยผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นความรับผิด
            ตามกรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยว่า... ต้องไม่ถือว่าการประกันภัยนี้ขยายไปคุ้มครองการสูญเสีย การเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันมีต้นเหตุอย่างใกล้ชิดกับความล่าช้านั้น ข้อความดังกล่าวมีความหมายถึงความล่าช้าที่เป็นเหตุโดยตรงให้สินค้าที่เอาประกันภัยไว้เสียหายเท่านั้น แต่เหตุที่สินค้าเสียหายครั้งนี้เนื่องจากการระเบิดในห้องเครื่องยนต์ของเรือ หาใช่เกิดจากความล่าช้าในการขนส่งไม่ จำเลยจึงไม่พ้นความรับผิด
4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2534
              มาตรา 879 ของ ป.พ.พ.เป็นบทบัญญัติยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ตามมาตราดังกล่าวผู้รับประกันภัยจะพ้นความรับผิดเมื่อความเสียหายเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือของผู้รับประโยชน์เท่านั้น ดังนั้น เมื่อบุตรของผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับรถไปเกิดเหตุขึ้น วินาศภัยที่เกิดขึ้นจึงมิได้เกิดเพราะการกระทำของผู้เอาประกันภัย จำเลยผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นความรับผิด
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2526
            โจทก์ มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นคู่สัญญาผู้เอาประกันภัยไว้กับจำเลย แต่ฟ้องในฐานะที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นบุคคลภายนอก จึงไม่อยู่ใต้บังคับแห่งบทกฎหมายที่ต้องนำพยานเอกสารมาแสดงมูลละเมิดมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัยแต่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาประกันภัย ดังนั้นลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยจะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงผู้รับประกันภัยก็ไม่พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก