งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคดีผู้บริโภค
ทนายคลายทุกข์ขอนำความรู้ของศาลแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับการดำเนินคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ผู้บริโภคขอให้ฟ้องคดีได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล และค่าทนายความ รายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ คดีใดเป็นคดีผู้บริโภค ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจเป็นใคร การฟ้องคดีผู้บริโภค คดีผู้บริโภคต้องฟ้องที่ศาลใด ความรับผิดในสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง การอุทธรณ์ ฏีกา ผู้บริโภค
ปัจจุบันได้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่กลับขาดความรู้ความเข้าใจ และมีอำนาจต่อรองที่ด้อยกว่าผู้ประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก และเมื่อมีข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้สินค้าหรือบริการเกิดขึ้น จึงมักถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ
อีกทั้งผู้บริโภคยังมีข้อจำกัดเรื่องความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ไม่รู้ว่าตนจะได้รับความยุติธรรมแค่ไหน มีข้อจำกัดเรื่องเงินค่าขึ้นศาล ค่าทนายความ และเห็นว่าหากตนฟ้องคดีไปต้องเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลาในการดำเนินคดี โดยไม่รู้ว่าตนมีโอกาสจะชนะคดีหรือไม่ จึงมีความคิดที่ว่าหากฟ้องไปจะได้ไม่คุ้มเสีย จึงจำต้องทนยอมรับการเอารัดเอาเปรียบของผู้ประกอบธุรกิจร่ำไป กฎหมายฉบับนี้จึงออกมา เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคในการดำเนินคดีในศาลโดยมีการเปลี่ยนแปลงหลักกฎหมายสารบัญญัติ กฎหมายวิธีสบัญญัติบางประการ และมีเจ้าพนักงานคดีคอยให้ความช่วยเหลือ แต่มิใช่ว่าจะออกมาเพื่อให้ฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจต้องเสียเปรียบ เพราะหากผู้ประกอบธุรกิจ ดำเนินการโดยสุจริตแล้ว ไม่ว่ากฎหมายฉบับนี้หรือฉบับใด ก็ไม่อาจแตะต้องท่านได้ และยังต้องยอมรับในความสุจริตของท่าน ตัวอย่างคดีผู้บริโภค เช่น กู้ยืมเงินธนาคาร , บัตรเครดิต , เช่า , เช่าซื้อ , ซื้อขาย , รถ , บ้าน คอนโด , ซื้อขายวัสดุก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้าง ประกันชีวิต ประกันภัย การรักษาพยาบาล ศัลยกรรม หรือการบิน ก็เป็นคดีผู้บริโภค ฯลฯ
วัตถุประสงค์
1. ให้ผู้บริโภคมีโอกาสเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยสะดวก
2. จัดกระบวนการค้นหาความจริงให้มีประสิทธิภาพ
3. ปรับปรุงระบบวิธีพิจารณาคดีให้รวดเร็ว และเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ที่เอื้อต่อการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้บริโภค
4. เสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และป้องปรามผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สุจริต
คดีใดเป็นคดีผู้บริโภค
(1) คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนบริโภคตามมาตรา 19 หรือตามกฎหมายอื่น กับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
(2) คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
(3) คดีแพ่งที่เกี่ยวกับคดีตาม (1) หรือ (2)
(4) คดีแพ่งที่มีกฎหมายให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
หากมีข้อสงสัยว่าคดีใด เป็นคดีผู้บริโภคให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจหมายถึงใคร
ผู้บริโภค หมายความว่า ผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคและให้หมายความรวมถึงผู้เสียหายตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
( ผู้บริโภคตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบแม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม )
ผู้ประกอบธุรกิจ หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองบริโภคและให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบการตามกฎหมายเกี่ยวกับ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยด้วย
( ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้าหรือผู้ให้บริการและให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการ โฆษณาด้วย )
การฟ้องคดีผู้บริโภค
การฟ้องคดีผู้บริโภค โจทก์จะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานคดี จัดให้มีการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หากคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญในเรื่องใดเจ้าพนักงานคดีอาจให้คำแนะนำแก่โจทก์เพื่อจัดทำคำฟ้องให้ถูกต้องครบถ้วนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี ให้โจทก์เสนอพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่ทำได้มาพร้อมกับคำฟ้อง
คดีผู้บริโภคต้องฟ้องที่ศาลใด
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผู้บริโภค และผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลอื่นได้ด้วย ให้ผู้ประกอบธุรกิจเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้เพียงแห่งเดียว
แต่ถ้าผู้บริโภคจะฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ มีสิทธิเสนอคำฟ้องทั้งต่อศาลที่มูลคดีเกิดและภูมิลำเนาของผู้ประกอบธุรกิจ คดีผู้บริโภคที่ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท (หากเกินต้องฟ้องที่ศาลจังหวัด)
ความรับผิดในสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง
ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจอาจได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ได้มาตรฐาน แต่ผู้บริโภคอาจไม่ได้รับการเยียวยา เช่น ซื้อรถใหม่แต่หลังจากนั้นไม่นานกลับเข้าอู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผิดวิสัย เมื่อผู้ซื้อขอให้เปลี่ยนรถคันใหม่ ผู้ขายมักปฏิเสธโดยอ้างว่าความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของการรับประกันที่ผู้ขายจะต้องซ่อมแซมให้ตามความเหมาะสม แต่ผู้ซื้อไม่อาจเรียกร้องให้ผู้ขายเปลี่ยนรถคันใหม่ให้ตนได้ เห็นได้ชัดว่ากรณีนี้แม้ไม่เห็นถึงความชำรุดบกพร่องในระหว่างส่งมอบสินค้าแต่ก็ประเมินได้จากสภาพปัญหาว่า ข้อบกพร่องจะต้องมีอยู่ก่อนซึ่งน่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิต ไม่ใช่เกิดจากเหตุที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กำหนดให้ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้แก่ผู้บริโภคแทนการแก้ไขซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องนั้นได้ ถ้าผู้ถูกฟ้องไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสินค้านั้นมาร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดแก่ผู้บริโภคได้ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความสุจริตของผู้บริโภคในการเรียกร้องสิทธิด้วย
การอุทธรณ์ ฏีกา คดีผู้บริโภค
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแล้วคู่ความอาจอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีผู้บริโภคได้ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษา ทั่วไปถือว่าคดีถึงที่สุดในชั้นอุทธรณ์
ส่วนคู่กรณีที่ประสงค์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ สามารถขออนุญาตฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินสองแสนบาท หรือในปัญหาข้อกฎหมายได้โดยให้ยื่นฎีกาไปยังศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นเพื่อให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาได้ โดยเฉพาะคดีที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ หรือปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย จึงอาจกล่าวได้ว่าคดีผู้บริโภคมีระบบตรวจสอบของศาลทั้งสามชั้นเช่นเดียวกับคดีแพ่งทั่วไป แต่ศาลฎีกาจะรับพิจารณาเฉพาะคดีที่เป็นเรื่องสำคัญเท่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจากศาลแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา