ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์|ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทวงหนี้

บทความวันที่ 3 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 61964 ครั้ง


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


มาตรา 5  การทวงหนี้โดยสุจริต
     ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต

มาตรา 537 ความหมายของสัญญาเช่า
     อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่าตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น

มาตรา 538 การเช่าอสังหาริมทรัพย์
     เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป หรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี

มาตรา 539 ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาเช่า
     ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาเช่านั้น คู่สัญญาพึงออกใช้เสมอกันทั้งสองฝ่าย

มาตรา 540 กำหนดเวลาเช่าอสังหาริมทรัพย์
     อันอสังหาริมทรัพย์ ท่านห้ามมิให้เช่ากันเป็นกำหนดเวลาเกินกว่าสามสิบปี ถ้าได้ทำสัญญากันไว้เป็นกำหนดเวลานานกว่านั้นท่านก็ให้ลดลงมาเป็นสามสิบปี
อนึ่ง กำหนดเวลาเช่าดังกล่าวมานี้ เมื่อสิ้นลงแล้วจะต่อสัญญาอีกก็ได้ แต่ต้องอย่าให้เกินสามสิบปีนับแต่วันต่อสัญญา

มาตรา 541 การเช่าตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือผู้เช่า
     สัญญาเช่านั้นจะทำกันเป็นกำหนดว่าตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็ให้ทำได้

มาตรา 544 การเช่าช่วง
      ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิของตนอันมีในทรัพย์สินนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอก ท่านว่าหาอาจทำได้ไม่ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
     ถ้าผู้เช่าประพฤติฝ่าฝืนบทบัญญัติอันนี้ ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้

มาตรา 545 ความรับผิดของผู้เช่าช่วง
     ถ้าผู้เช่าเอาทรัพย์สินซึ่งตนเช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงอีกทอดหนึ่งโดยชอบท่านว่าผู้เช่าช่วงย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรง ในกรณีเช่นว่านี้หากผู้เช่าช่วงจะได้ใช้ค่าเช่าให้แก่ผู้เช่าไปก่อน ท่านว่าผู้เช่าช่วงหาอาจจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้ให้เช่าได้ไม่
     อนึ่ง บทบัญญัติอันนี้ไม่ห้ามการที่ผู้ให้เช่าจะใช้สิทธิของตนต่อผู้เช่า

หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า


มาตรา 546
การส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่า
ผู้ให้เช่าจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว

มาตรา 547 ผู้เช่าต้องเสียค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เช่า
ผู้เช่าต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นเท่าใด ผู้ให้เช่าจำต้องชดใช้ให้แก่ผู้เช่า เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย

มาตรา 548 สภาพทรัพย์สินที่ให้เช่า ไม่เหมาะแก่การที่จะใช้ประโยชน์
ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นโดยสภาพไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้

มาตรา 550 ผู้ให้เช่าต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องในทรัพย์ที่เช่า
ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า และผู้ให้เช่าต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำเป็นขึ้น เว้นแต่การซ่อมแซมชนิดซึ่งมีกฎหมายหรือจารีตประเพณีว่าผู้เช่าจะพึงต้องทำเอง

มาตรา 551 บอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้แก้ไขก่อน หากเพิกเฉยผู้เช่าบอกเลิกสัญญาได้
ถ้าความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินที่เช่านั้นไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้องปราศจากการใช้และประโยชน์ และผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้ไซร้ ผู้เช่าต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นก่อน ถ้าและผู้ให้เช่าไม่จัดทำให้คืนดีภายในเวลาอันสมควรผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ หากว่าความชำรุดบกพร่องนั้นร้ายแรงถึงสมควรจะทำเช่นนั้น

หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่า


มาตรา 552 ผู้เช่าต้องใช้ทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
     อันผู้เช่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติ หรือการดังกำหนดไว้ในสัญญานั้น ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่

มาตรา 553 ต้องบำรุงรักษาทั้งทำการซ่อมแซมเล็กน้อย
     ผู้เช่าจำต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่านั้นเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง และต้องบำรุงรักษาทั้งทำการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย

มาตรา 554 ผู้เช่าฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อสัญญา
     ถ้าผู้เช่ากระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 552 มาตรา 553 หรือฝ่าฝืนข้อสัญญา ผู้ให้เช่าจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายหรือข้อสัญญานั้นๆ ก็ได้ ถ้าและผู้เช่าละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม ท่านว่าผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้

มาตรา 555 ผู้เช่าต้องยินยอมให้ผู้ให้เช่าหรือตัวแทนเข้าตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าเป็นครั้งคราว
ผู้เช่าจำต้องยอมให้ผู้ให้เช่าหรือตัวแทนของผู้ให้เช่าเข้าตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าเป็นครั้งคราว ในเวลาและระยะอันสมควร

มาตรา 556  ผู้เช่าต้องยอมให้ผู้ให้เช่าซ่อมแซมในกรณีเร่งร้อนถึงแม้ว่าจะทำให้ผู้เช่าไม่สะดวก
ถ้าในระหว่างเวลาเช่ามีเหตุจะต้องซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นเป็นการเร่งร้อน และผู้ให้เช่าประสงค์จะทำการอันจำเป็นเพื่อที่จะซ่อมแซมเช่นว่านั้นไซร้ ท่านว่าผู้เช่าจะไม่ยอมให้ทำนั้นไม่ได้ แม้ถึงว่าการนั้นจะเป็นความไม่สะดวกแก่ตน ถ้าการซ่อมแซมเป็นสภาพซึ่งต้องกินเวลานานเกินสมควร จนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้

มาตรา 557 สามกรณีที่ผู้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบโดยพลัน หากเพิกเฉยผู้เช่าต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
ในกรณีอย่างใด ๆ ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้าทรัพย์สินที่เช่านั้นชำรุดควรที่ผู้ให้เช่าจะต้องซ่อมแซมก็ดี
(2) ถ้าจะต้องจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อปัดป้องภยันตรายแก่ทรัพย์สินนั้นก็ดี
(3) ถ้าบุคคลภายนอกรุกล้ำเข้ามาในทรัพย์สินที่เช่าหรือเรียกอ้างสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเหนือทรัพย์สินนั้นก็ดี
     ในเหตุดั่งกล่าวนั้นให้ผู้เช่าแจ้งเหตุแก่ผู้ให้เช่าโดยพลัน เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะได้ทราบเหตุนั้นอยู่ก่อนแล้ว
     ถ้าผู้เช่าละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัตินี้ไซร้ ท่านว่าผู้เช่าจะต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าในเมื่อผู้ให้เช่าต้องเสียหายอย่างใด ๆ เพราะความละเลยชักช้าของผู้เช่านั้น

มาตรา 558 ห้ามดัดแปลงหรือต่อเติม
     อันทรัพย์สินที่เช่านั้น ถ้ามิได้รับอนุญาตของผู้ให้เช่าก่อน ผู้เช่าจะทำการดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างหนึ่งอย่างใดหาได้ไม่ ถ้าและผู้เช่าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของผู้ให้เช่าเช่นนั้นไซร้ เมื่อผู้ให้เช่าเรียกร้องผู้เช่าจะต้องทำให้ทรัพย์สินนั้นกลับคืนคงสภาพเดิมทั้งจะต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การดัดแปลงต่อเติมนั้นด้วย

มาตรา 560 ไม่ชำระค่าเช่า บอกเลิกสัญญาได้
     ถ้าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
แต่ถ้าค่าเช่านั้นจะพึงส่งเป็นรายเดือน หรือส่งเป็นระยะเวลายาวกว่ารายเดือนขึ้นไป ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าก่อนว่าให้ชำระค่าเช่าภายในเวลาใด ซึ่งพึงกำหนดอย่าให้น้อยกว่าสิบห้าวัน

มาตรา 561 การพิสูจน์สภาพทรัพย์สินที่เช่า
     ถ้ามิได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อของคู่สัญญาแสดงไว้ต่อกันว่าทรัพย์สินที่ให้เช่ามีสภาพเป็นอยู่อย่างไร ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เช่าได้รับทรัพย์สินที่เช่านั้นไปโดยสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว และเมื่อสัญญาได้เลิกหรือระงับลง ผู้เช่าก็ต้องส่งคืนทรัพย์สินในสภาพเช่นนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิได้ซ่อมแซมไว้ดีในขณะที่ส่งมอบ

มาตรา 562 ผู้เช่าต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายของทรัพย์ที่เช่า
     ผู้เช่าจะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่า เพราะความผิดของผู้เช่าเอง หรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วง
แต่ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์สินนั้นโดยชอบ

มาตรา 563 อายุความในการฟ้องเกี่ยวกับสัญญาเช่า มีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า
     คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า

ความระงับแห่งสัญญาเช่า


มาตรา 564 สิ้นสุดตามกำหนดเวลาในสัญญา
อันสัญญาเช่านั้น ท่านว่าย่อมระงับไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ มิพักต้องบอกกล่าวก่อน

มาตรา 567 ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหาย
     ถ้ากำหนดเวลาเช่าไม่ปรากฏในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้ไซร้ ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าก็ได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อยแต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน

มาตรา 570 สิ้นกำหนดเวลาการเช่า แต่ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วงถือว่าได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา
     ในเมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าซึ่งได้ตกลงกันไว้นั้นถ้าผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วงไซร้ ท่านให้ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา

การรับสภาพหนี้ของลูกหนี้


มาตรา 193/14 (1)
อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง

มาตรา 193/16
หนี้ใดซึ่งตามมูลแห่งหนี้นั้น เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ในเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนอายุความครบบริบูรณ์ เพื่อเป็นหลักฐานว่าอายุความสะดุดหยุดลง

มาตรา 193/35
ภายใต้บังคับมาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 92

สวัสดีครับคุณทนาย

       ผมมีเรื่องขอปรึกษาท่านช่วยคลายทุกข์หน่อย คือผมให้คนเช่าตึกแถวหนึ่งห้องมีสัญญาเช่าหนึ่งปีแต่เค้าอยู่มา2ปีกว่าแล้วไม่ได้ทำสัญญาใหม่แต่จ่ายค่าเช่าให้ทุกเดือนล่าช้าบ้าง ให้หักเงินประกันล่วงหน้าจดหมดแล้ว ตอนนี้เค้าหนีค่าเช่าติดค้างอยู่ 2 เดือนกับค่าน้ำไฟ กับหนี้เจ้าหนี้อืนๆ แต่ผู้เช่าปิดล็อคบ้านเอาไว้โดยไม่สามารถติดต่อได้ กับมีเจ้าหนี้อื่นจะขอเข้าไปเอาทรัพย์สินบางอย่างเช่นรถมอเตอร์ไซด์เค้าบอกว่าเป็นรถของเค้าเอามาซ่อมไว้คื่อผู้เช่าเปิดเป็นร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ จะมีวิธิปฏิบัติอย่างไรครับ กรุณาแนะนำด้วยจะขอบคุณมาก

โดยคุณ เสฏฐพงษ์ 26 มี.ค. 2562, 16:20

ความคิดเห็นที่ 91

รบกวนถามข้อปัญหาค่ะ ดิฉันทำสัญญากับคนเช่าที่เป็นสามีของผู้เช่าที่อยู่มาตั้งแต่เริ่มทำสัญญาจนย้ายออกไป รวมการอยู่อาศัย 13 ปี แต่เมื่อ 3 ปีก่อนย้ายคนเช่าคนนี้เลิกกับสามีของเค้าและมีสามีใหม่ โดยดิฉันมิได้ทำการแก้ไข เปลี่ยนชื่อคนทำสัญญา สุดท้ายเมื่อวันที่ 20 เค้าย้ายออกแบบขนของหนีโดยฝากกุญแจบ้านไว้กับคนข้างบ้าน เงินวางมัดจำบ้าน 8000 บาท มีค่าใช้จ่ายจริงเกิดขึ้น 1,5000 เป็นค่าเช่า,ค่าไฟ,ค่าน้ำ เกือบ 8,000 ส่วนต่างอีก 7000 คือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในบ้าน ประตูพัง กระจกแตก สภาพสีจากรอยขีดเขียนจากลูกสาวของเขา ความสกปรกในห้องครัวเพราะไม่ดูแลทำคตวามสะอาดให้ตลอดการอยู่อาศัย แต่สุดท้ายเงินค่าความเสียหายเค้าไม่จ่าย คือหนีไปเลย ในสัญญาได้เขียนถึงสภาพสีและความเสียหายต่างๆ ถ้าเกิดขึ้น ผู้เช่าต้องรับผิดชอบในการแก้ไขปรับปรุง เพราะก่อนที่คนเช่าจะย้ายเข้า ดิฉันทำการปรับปรุงบ้านใหม่หมดทุกครั้งก่อนผู้เช่าเข้าพักอาศัย ดิฉันจะฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายกับเขาได้อย่างไรบ้างค่ะ เพราะเค้าใช้ข้อได้เปรียบทางกฏหมายว่าเค้าไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาเช่า คนทำคือสามีเก่าของเขา ในทางกฏหมายทางเราจะทำอย่างไรได้บ้างค่ะ เพราะสามีใหม่ของเขา เป็นลูกตำรวจ เค้าคงคิดว่าเค้ามีกฏหมายคุ้มครอง เราทำอะไรเค้าไม่ได้ 

โดยคุณ อังคณา 1 เม.ย. 2561, 22:39

ความคิดเห็นที่ 90

คนเช่าย้ายออก แต่มีค่าปรับเพิ่มเพราะเค้าติดรอยสติ๊กเกอร์ กาว 2 หน้าเต็มฝาผนัง ปรับจุดล่ะ 200 ตามสัญญาที่ระบุไว้ รวมๆแล้วเกือบ 8,000 บาทที่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่เค้าไม่ยอมจ่าย แถมเอาญาติพี่น้องมาเอาเรื่องที่ตึก จะแจ้งความและฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ใหมคะ เครียดมากเลยตอนนี้ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

โดยคุณ มิ้น77 5 ม.ค. 2561, 23:03

ความคิดเห็นที่ 89

อยากทราบว่า กรณีที่เราไปออกรถให้เพื่อนโดยใช้ชื่อเราแล้วเพื่อนเป็นคนค้ำประกัน ขาดส่งค่างวดจนปล่อยยึด แล้วมีการทวงถามจากบริษัททวงหนี้ให้ชำระเงินจำนวนแสนกว่าโดยให้เหตุผลว่าขายทอดตลาดแล้วขาดทุน ซึ่งเราไม่ได้เห็นเอกสารอะไรเลย เพราะปล่อยยึดไปสามปี เพิ่งจะมีการทวงถาม อย่างนี้ดิฉันต้องทำยังไงค่ะ เพราะตามหาตัวเพื่อนก็ไม่เจอติดต่อก็ไม่ได้ ไม่รู้จะทำไงดีค่ะ ขอคำปรึกษาหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ พัชรีพร 26 พ.ย. 2560, 00:48

ตอบความคิดเห็นที่ 89

กรณีตามปัญหา  แนะนำให้ท่านนำเอกสารการทวงหนี้ดังกล่าวเข้าพบทนายความเพื่อประเมินรูปคดีว่าสามารถแก้ไขอะไรได้บ้าง หรือโทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 27 ธ.ค. 2560, 14:39

ความคิดเห็นที่ 88

อยากทราบว่า ทางเราได้เช่าช่วงต่อจากคนเช่าช่วง และหมด สัญญาเช่า ลงในเดือนสิงหาคมแล้ว 1 เดือน แต่คนเช่าช่วงไม่มา ตรวจก่อนที่เราจะส่งมอบคืน แต่เขาหักค่าประกันไว้แทน ค่าประกันค่าน้ำค่าไฟ 5000 บาท ซึ่งค่าน้ำค่าไฟไม่ถึง 2000 บาท แล้วทางคนเช่าช่วงพอตัวเองหมด สัญญาเช่ากลับเจ้าของตึกตัวจริงสิ้นเดือนกันยายน จะให้เรารับผิดชอบ การทาสีและซ่อมบำรุง ไห้เหมือนเดิม หลังจากคืนเงินประกันไห้เราหมดแล้ว เรายังต้องเขาไปรับผิดชอบอีกหรือไหม เพราะเราบอกว่า ในสัญญาได้ถ่ายรูปไว้ ให้ทำตึกอยู่ในสภาพเหมือนเดิม เขาบอกว่าถ้าเราไม่ทำตึกให้เหมือนเดิม เขาจะฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งเราย้ายออกมา เป็นเดือนแล้ว ยังจับผิดกฎ หรือถูกฟ้องร้องอยู่หรือไม่

โดยคุณ Thitapha Yo Pia 4 ต.ค. 2560, 09:28

ตอบความคิดเห็นที่ 88

1.หากก่อนที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์ในตึกที่เช่า ถ้ามิได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อของคู่สัญญาไว้ต่อกันว่าทรัพย์สินที่ให้เช่ามีสภาพเป็นอยู่อย่างไร กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เช่าได้รับทรัพย์สินที่เช่านั้นไปโดยสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว และเมื่อสัญญาเช่าได้สิ้นสุดลง ผู้เช่าก็ต้องส่งคืนทรัพย์สินในสภาพเช่นนั้น ตามมาตรา 561 แต่อย่างไรก็ตามหากท่านมีหลักฐานว่าตึกที่เช่านั้น ก่อนที่ท่านจะเข้าไปใช้ประโยชน์มีสภาพอยู่อย่างไร ท่านก็สามารถพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 561 ได้

2.แต่อย่างไรก็ตามคดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องร้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่านั้น ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ตามมาตรา 563

3.กรณีดังกล่าวหากท่านถูกฟ้องด้วยเหตุดังกล่าว ท่านมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ ตามมาตรา 193/10 

4.ในการต่อสู้คดี ท่านควรเข้าพบและปรึกษาทนาย เพราะทนายจะรู้ข้อกฎหมายดี สามารถช่วยท่านได้ครับ


โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 13 พ.ย. 2560, 13:36

ความคิดเห็นที่ 87

ได้ทำการเช่าห้องจากชาวต่างชาติ มัดจำไว้สองเดือน ในระหว่างนั้นได้สัญญากับเจ้าของว่าจะโอนค่าเช่าห้องให้แต่เพื่อความสะดวกจะนำค่าเช่านั้นไปชำระค่าส่วนกลางของตึกแทนเจ้าของ แต่มิได้ชำระแล้วสองเดือนถัดมาก็ชำระค่าเช่าปกติ และมีเหตุให้ต้องย้ายออกก่อนหมดสัญญาเพราะความจำเป็น เข้าใจว่าเมื่อย้ายออกและโดนยึดค่ามัดจำแล้วคงจะแล้วกัน แต่เจ้าของห้องทักท้วงให้ชำระค่าส่วนกลางไม่อย่างนั้นจะทำการฟ้องร้อง อย่างนี้มีทางออกหรือไม่หากไม่มีเงินไปชำระค่าส่วนกลางนั้น


ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ต้อม 29 พ.ค. 2560, 15:47

ตอบความคิดเห็นที่ 87

ต้องดูที่สัญญาเช่าครับ หากท่านผูกพันต้องชำระ แล้วไม่ชำระอาจถูกฟ้องคดีครับ แนะนำให้เข้าไกล่เกลี่ยเพื่อชำระหนี้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 21 ก.ค. 2560, 11:03

ความคิดเห็นที่ 86

สอบถามค่ะ


คือเราเป็นผู้ให้เช่าได้ให้ผู้เช่ารายหนึ่งเช่าในสัญญา เดือนละ 8,000 จ่ายมัดจำล่วงหน้า 2 เดือน คือ 16,000 สำหรับหักค่าของเสียหายหลังจากผู้เช่าออก หลังจากเช่าได้ 4 เดือน ผู้เช่าจ่ายค่าเช่าไม่ตรงตามที่สัญญากำหนด ผู้ให้เช่าจึงได้พูดคุยกับผู้เช่าและเห็นใจ ลดค่าเช่าให้จาก 8,000 เป็น 7,000 แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในสัญญาใดๆ หลังครบกำหนดสัญญาผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า 2 เดือนหลังโดยให้หักจากค่ามัดจำ กรณีนี้สามารถทำได้หรือไม่ และ เมื่อผู้เช่าออกไปแล้วมาเรียกร้องขอค่ามัดจำคืนโดยอ้างว่าผู้ให้เช่าลดค่าเช่าให้เป็นเดือนละ 7,000 แล้ว ผู้เช่าควรได้รับค่ามัดจำคืน 2,000 จากการลดค่าเช่า 7,000 2 เดือนคือ 14,000 จาก 16,0000 กรณีนี้ผู้เช่าสามารถเรียกร้องขอมัดจำคืนได้หรือไม่ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

โดยคุณ สันติ 18 พ.ค. 2560, 11:23

ตอบความคิดเห็นที่ 86

หากตกลงกับผู้เช่า ขอหักค่าเช่ากับเงินมัดจำก็สามารถทำได้ ส่วนมัดจำนั้นไม่สามารถเรียกคืนได้ เนื่องจากฝ่ายท่านซึ่งเป็นฝ่ายที่รับมัดจำไม่ได้ผิดสัญญา แต่เป็นฝ่ายผู้เช่าที่เป็นฝ่ายผิดสัญญา กรณีจึงไม่เข้าเหตุที่จะคืนมัดจำให้ตามปพพ. มาตรา 378(1),(3)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 14 มิ.ย. 2560, 14:44

ความคิดเห็นที่ 85

ขอรบกวนสอบถามค่ะ พอดีลูกค้ามีรถมอเตอร์ไซด์ มาจอดที่อพาร์ตเม้นท์ แต่สัญญาเช่ามีระบุไว้แล้วว่าผู้เช่าต้องเป็นผู้รับผิดชอบทรัพย์สิน ตลอดจนพาหนะที่นำมาจอด เอง (ผู้ให้เช่าไม่ได้เก็บค่าดูแลทรัพย์สิน) แต่ผู้เช่าได้ไปแจ้ง สคบ.เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกับทางผุ้ให้เช่า ทาง สคบ.มีหนังสือมาแจ้งเรียกพบเพื่อชดเชยค่าเสียหาย  เราจำเป็นต้องจ่ายเหรอค่ะ ในเมื่อเราแจ้งลูกค้าแล้วตั้งแต่ตอนทำสัญญาเช่า และเราจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไรบ้างค่ะ หาก สคบ.บังคับจ่าย  ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

โดยคุณ ภร 3 เม.ย. 2560, 10:35

ตอบความคิดเห็นที่ 85

โดยปกติสัญญาเช่าห้องพัก ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องรักษาทรัพย์สินของผู้เช่า เช่น รถยนต์,รถจักรยานยนต์ นอกจากสัญญาเช่าจะระบุไว้ว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้เช่าด้วย กรณีเช่นนี้ท่านไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้เช่าแต่อย่างใด และท่านควรไปเจรจาที่สคบ. เพื่อชี้แจงว่าท่านไม่มีหน้าที่ชำระค่าเสียหายกรณีรถของผู้เช่าสูญหาย หรือเสียหายแต่อย่างใด


โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 11 พ.ค. 2560, 14:41

ความคิดเห็นที่ 84

ขอรบกวนถามค่ะ ถ้าเราเช่าบ้าน เป็นอาคารชั้นเดียว ห้องติดกัน แล้วเพื่อนบ้าน (ห้องติดกัน) ทำเสียงดังในตอนกลางคืนอยู่บ่อย ๆ  แจ้งเจ้าของบ้านเพื่อตักเตือนแล้ว ก็ยังทำอยู่ เราจะทำอย่างไรได้บ้างคะ

โดยคุณ 2 มี.ค. 2560, 15:31

ความคิดเห็นที่ 83

 ผมรบกวนสอบถามหน่อยครับ. คือผมเช่าที่เปล่ามาทำการก่อสร้างเองเพื่อทำการขายอาหาร(ร้านอาหาร) เดิมทีมีห้องน้ำรวมสำหรับผู้เช่าพื้นที่นั้นๆ แต่ภายหลังในบริเวณพื้นที่ที่มีห้องน้ำมีผู้เช่ารายใหม่มาและทำการปิดกั้นพื้นที่ไป ทำให้ผู้เช่าอื่นๆในรอบๆพื้นที่ไม่สามารถเข้าไปใช้ได้ ซึ่งปัญหานี้จริงๆเริ่มต้นแต่แรกคือไม่ให้ก่อสร้างห้องน้ำส่วนตัวตามร้าน ตอนนี้จึงไม่มีห้องน้ำใช้เพราะผู้ให้เช่าพื้นที่ไม่จัดทำพื้นที่แล้วทำการก่อสร้างห้องน้ำ ในกรณีนี้ผมจะต้องร้องเรียนหรือต้องทำยังไงในฐานะผู้เช่าครับ

โดยคุณ Sompon chamiea 15 ก.ย. 2559, 18:50

ตอบความคิดเห็นที่ 83

 ท่านควรทำการพูดคุยกับผู้ให้เช่าเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 ก.ย. 2559, 10:28

ความคิดเห็นที่ 82

 ท่านควรทำการพูดคุยกับผู้ให้เช่าเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 ก.ย. 2559, 10:28

ความคิดเห็นที่ 81

 สวัสดีครับ

พอดีผมอยากปรึกษาเรื่องการเช่าหอพัก คือผมเคยเช่าหอพักหนึ่งที่โคราช พอพักได้สัก 1 เดือนผมได้แจ้งย้ายออกแล้วขอคืนค่ามัดจำหอพัก แต่ทางหอพักไม่คืนให้แล้วบอกว่าอยู่ไม่ครบตามสัญญา ประเด็นคือทางหอพักไม่เคยมีสัญญาหรือเอกสารอะไรมาให้ตัวผมเซ็นเลย. ประเด็นถ้าเราดำเนินเรื่องขอคืนค่ามัดจำสามารถทำได้ไหมครับ  ตามกฏหมายจริงๆแล้ว ทางผมผิดไหมที่ไม่ได้ทำสัญญาทั้ง 2ฝ่าย แล้วผมกลับอยากได้ค่ามัดจำคืน. ขอบคุณครับ

โดยคุณ แซ็ก 11 ส.ค. 2559, 23:41

ตอบความคิดเห็นที่ 81

 หากเป็นเงินมัดจำเพื่อทำสัญญาเช่า และเมื่อท่านผู้เช่าได้เข้าทำสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินมัดจำครับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378
การเช่าทรัพย์สิน คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น และเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่ง อย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ตามมาตรา 537, มาตรา 538

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 24 ส.ค. 2559, 15:44

ความคิดเห็นที่ 80

 หากเป็นเงินมัดจำเพื่อทำสัญญาเช่า และเมื่อท่านผู้เช่าได้เข้าทำสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินมัดจำครับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378
การเช่าทรัพย์สิน คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น และเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่ง อย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ตามมาตรา 537, มาตรา 538

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 24 ส.ค. 2559, 15:44

ความคิดเห็นที่ 79

 สวัสดีค่ะ คุณทนาย

ดิฉันอยากถามว่า ถ้าเราจะยกเลิกสัญญาเช่าตึก ซึ่งเดิมทีอายุสัญญาเราทำไว้กับผู้ให้เช่าไว้ 5ปี

ภายหลังอยู่ได้ 2 ปี เราเกิดมีปัญหากับผู้ให้เช่า ดังนั้นเราจะยกเลิกสัญญาเช่าได้ไหมค่ะ? - เพราะว่าเอกสารสัญญาก็ไม่ได้มีข้อบังคับว่าถ้าเกิดยกเลิกก่อนกำหนดจะต้องจ่ายค่าเสียหาย

แล้วถ้ายกเลิกได้ ตามกฏหมายต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากี่วัน?

โดยคุณ ธนพร 17 มิ.ย. 2559, 22:08

ตอบความคิดเห็นที่ 79

 การจะยกเลิกสัญญาเช่าตึก ต้องดูสัญญาเช่าว่าเขียนไว้ว่าอย่างไร  ถ้าระบุให้ผู้เช่ามีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนด   ผู้เช่าก็มีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ตามหลักฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 386 คือ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง  

เมื่อได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามป.พ.พ. มาตรา 391 
แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายที่มีสิทธิเลิกสัญญานั้นแถลงให้ทราบภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ว่าจะเลิกสัญญาหรือหาไม่  ถ้ามิได้รับคำบอกกล่าวเลิกสัญญาภายในระยะเวลานั้น สิทธิเลิกสัญญาก็เป็นอันระงับสิ้นไป ตามป.พ.พ. มาตรา 393
ส่วนเรื่องเงินมัดจำ  หรือ เงินประกันค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาเช่า ก็ต้องดูข้อกำหนดของสัญญา หากข้อสัญญาเขียนไว้  ก็ต้องจ่ายเงินในส่วนตรงนี้ครับ 
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 22 มิ.ย. 2559, 15:32

ตอบความคิดเห็นที่ 79

ขอบคุณมากค่ะ เป็นความรู้ใหม่เลยค่ะ

โดยคุณ Thanaporn 23 มิ.ย. 2559, 00:25

ความคิดเห็นที่ 78

 การจะยกเลิกสัญญาเช่าตึก ต้องดูสัญญาเช่าว่าเขียนไว้ว่าอย่างไร  ถ้าระบุให้ผู้เช่ามีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนด   ผู้เช่าก็มีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ตามหลักฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 386 คือ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง  

เมื่อได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามป.พ.พ. มาตรา 391 
แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายที่มีสิทธิเลิกสัญญานั้นแถลงให้ทราบภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ว่าจะเลิกสัญญาหรือหาไม่  ถ้ามิได้รับคำบอกกล่าวเลิกสัญญาภายในระยะเวลานั้น สิทธิเลิกสัญญาก็เป็นอันระงับสิ้นไป ตามป.พ.พ. มาตรา 393
ส่วนเรื่องเงินมัดจำ  หรือ เงินประกันค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาเช่า ก็ต้องดูข้อกำหนดของสัญญา หากข้อสัญญาเขียนไว้  ก็ต้องจ่ายเงินในส่วนตรงนี้ครับ 
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 22 มิ.ย. 2559, 15:32

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก