ร่างพระราชบัญญัติ|ร่างพระราชบัญญัติ

ร่างพระราชบัญญัติ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ร่างพระราชบัญญัติ

ทนายคลายทุกข์ขอนำร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรม

บทความวันที่ 29 พ.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 10666 ครั้ง


ร่างพระราชบัญญัติ
การติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม
พ.ศ…………..

     ทนายคลายทุกข์ขอนำร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรม  มาให้เพื่อนสมาชิกที่เป็นลูกหนี้หรือนักทวงหนี้ทราบถึงกฎระเบียบ  ข้อบังคับที่กำลังจะต้องพบในอนาคต  ท่านสามารถศึกษาได้จากด้านล่างนี้

   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า
………………………………………………………………………………………………………………
 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม พ.ศ. ……”
 มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด……..วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
 “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสินเชื่อส่วนบุคคล
 “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสินเชื่อส่วนบุคคล
 “สินเชื่อส่วนบุคคล” หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือการรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและให้รวมถึงสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลิสซิ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบการมิได้เป็นผู้จำหน่ายเป็นการค้าปกติ แก่บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์ หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการและไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเอง
 “บัตรเครดิต” หมายความว่า บัตรที่ผู้ให้สินเชื่ออกให้แก่ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคเพื่อใช้ในการชำระสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดแทนการชำระด้วยเงินสด หรือเพื่อการเบิกถอนเงินสด ทั้งนี้ไม่รวมถึงบัตรที่ได้มีการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดไว้ล่วงหน้า
 “ผู้บริโภค” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล
 “สถาบัน” หมายความว่า
1.นิติบุคคลที่ให้สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นการค้าปกติ
2.นิติบุคคลที่รับซื้อหรือโอนสินเชื่อส่วนบุคคลจาก 1.
3.นิติบุคคลที่รับซื้อหรือโอนสินเชื่อส่วนบุคคลจาก 2.
4.บุคคลอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
“ผู้ติดตามหนี้” หมายความว่า บุคคลผู้ทำหน้าที่ติดตามทวงถามหนี้สินเชื่อบุคคลของตนเอง หรือผู้ประกอบ

1.ธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ ทั้งนี้ไม่ให้หมายรวมถึง
2.เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานของรัฐหรือส่วนราชการที่ทำหน้าที่ติดตามทวงถามหนี้
3.บุคคลใดที่ทำหน้าที่ติดตามทวงหนี้ตามกรบวนการทางกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
4.บุคคลอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
“การประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้” หมายความว่า การประกอบธุรกิจในการติดตามทวงถามหนี้ของสถาบันการเงินที่ตนรับจ้างมาดำเนินการโดยที่ตนไม่ใช่พนักงานของสถาบันการเงิน
“สถานที่ติดต่อผู้บริโภค” หมายความว่า ที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคหรือสถานที่ทำงานหรือสถานที่อื่นใดที่สามารถติดตามสื่อสารได้กับผู้บริโภคและหมายเลขโทรศัพท์ของสถานที่ดังกล่าว
 “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้
 “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมาตรีแต่งตั้งตามการเสนอแนะของคณะกรรมการให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
 “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 ประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด 1
การขอรับใบอนุญาต


 มาตรา 6 การประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
 การขอความเห็นชอบ การให้ความเห็นชอบ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตลอดจนเสียค่าธรรมเนียมตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
 มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใด นอกจากผู้ติดตามหนี้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้

หมวด 2
การติดต่อ เพื่อการติดตามทวงถามหนี้


 มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ ติดต่อผู้ใดเพื่อการติดตามทวงถามหนี้เว้นแต่การติดต่อเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
 1.เพื่อการติดต่อสอบถามสถานที่ติดต่อผู้บริโภคตามมาตรา  9
 2.เพื่อการอื่นตามที่มีกฎหมายหรือระเบียบราชการกำหนดไว้
 3.เพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
 มาตรา 9 ผู้ติดตามหนี้อาจติดต่อบุคคลอื่นใดนอกเหนือจากผู้บริโภคในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถานที่ติดต่อผู้บริโภคโดยต้อง
 1.แจ้งให้ทราบชื่อ นามสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามหรือยืนยันข้อมูลสถานที่ติดต่อผู้บริโภคเท่านั้น เว้นแต่เมื่อมีความจำเป็นที่บุคคลผู้ให้ข้อมูลร้องขอจึงแจ้งให้ทราบว่าตนได้รับการว่าจ้างจากผู้ใด
 2.ติดต่อในเวลา 8.00 น.ถึง18.00 น.
 3.ห้ามมิให้แจ้งถึงความเป็นหนี้ของผู้บริโภค
 4.ห้ามมิให้ติดต่อสอบถามบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าข้อมูลสถานที่ติดต่อผู้บริโภคที่ได้รับมาไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และบุคคลนั้นได้มีการแก้ไขหรือมีข้อมูลสถานที่ติดต่อผู้บริโภคถูกต้องและสมบูรณ์
 5.ห้ามมิให้ติดต่อโดยทางไปรษณียบัตร
 6.ห้ามมิให้ใช้ภาษา สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ติดตามหนี้บนซองจดหมายหรือในหนังสือ หรือในสื่ออื่นที่จะใช้ในการติดต่อสอบถามผู้อื่น ที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อมาเพื่อการติดตามทวงถามหนี้ของผู้บริโภค เว้นเสียแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ติดตามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นการประกอบธุรกิจาติดตามทวงถามหนี้
 7.ภายหลังจากผู้ติดตามหนี้ได้รับแจ้งจากผู้บริโภคเป็นหนังสือว่าได้มีการแต่งตั้งตัวแทนพร้อมชื่อและที่อยู่ของตัวแทนที่ได้แต่งตั้งในเรื่องเกี่ยวกับหนี้นั้น ๆ แล้วห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อบุคคลอื่นนอกจากตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง เว้นเสียแต่ตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งไม่ทำหน้าที่และติดต่อกับผู้ติดตามหนี้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ผู้ติดตามหนี้ได้รับหนังสือแต่งตั้งตัวแทน

 มาตรา 10 ห้ามมิให้ติดต่อกับผู้บริโภคด้วยวิธี และเงื่อนไขดังนี้
 1.ติดต่อในเวลาและสถานที่ทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้บริโภค ในกรณีที่ไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าให้ถือเอาเวลา 8.00 น. ถึง 21.00 น. ณ สถานที่ติดต่อผู้บริโภคเป็นเวลา และสถานที่เหมาะสมในการติดต่อผู้บริโภค
 2.ภายหลังจากผู้ติดตามหนี้ได้รับแจ้งจากผู้บริโภคเป็นหนังสือว่าได้มีการแต่งตั้งตัวแทนพร้อมชื่อและที่อยู่ของตัวแทนที่ได้แต่งตั้งในเรื่องเกี่ยวกับหนี้นั้น ๆ  แล้วเว้นเสียแต่ตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งไม่ทำหน้าที่และติดต่อกับผู้ติดตามหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ติดตามหนี้ได้รับหนังสือแต่งตั้งตัวแทน หรือตัวแทนได้ให้ความยินยอมให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อกับผู้บริโภคได้โดยตรง
 3.ติดต่อไปยังที่ทำงานของผู้บริโภค ถ้าผู้ติดตามหนี้ทราบหรือมีเหตุผลที่เชื่อว่านายจ้างของผู้บริโภคห้ามไม่ให้มีการติดตามหนี้ในสถานที่ทำงาน
 4.วิธีการและเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการประกาศ
 เว้นแต่ผู้บริโภคได้ให้ความยินยอมหรือเป็นการดำเนินการตามที่กระบวนการทางคดีหรือโดยคำสั่งของศาล

 มาตรา 11 ภายใต้มาตรา 8 ผู้ติดตามหนี้อาจติดต่อกับบุคคลอื่นดังต่อไปนี้ได้
 1.บุคคลที่ผู้บริโภคได้ให้ความยินยอม
 2.เป็นการติดต่อบุคคลอื่นตามกระบวนการทางกฎหมาย หรือคำสั่ง
 3.บริษัทข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
 4.ตัวแทนของสถาบันการเงินเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินเจ้าหนี้
 5.ตัวแทนของผู้ติดตามหนี้
 6.บุคคลอื่นที่คณะกรรมกาประกาศ

 มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อผู้บริโภคอีก ภายหลังจากที่ผู้บริโภคได้แจ้งปฏิเสธการชำระหนี้ให้ผู้ติดตามหนี้ทราบและแจ้งความประสงค์ที่ไม่ให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อตนอีก เป็นหนังสือ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
 1.แจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าผู้ติดตามหนี้ได้ยุติการติดตามทวงถามหนี้
 2.แจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าผู้ติดตามหนี้ หรือเจ้าหนี้จะดำเนินการกับหนี้ดังกล่าวตามกระบวนการทางศาล
 3.การอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
 มาตรา 13 ผู้บริโภคในหมวดนี้ให้หมายรวมถึง คู่สมรส ผู้ค้ำประกัน ผู้ปกครองในกรณีผู้เยาว์ ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล

หมวด 3
การกระทำที่เป็นการล่วงละเมิดและเป็นการคุกคาม


 มาตรา 14 ผู้ติดตามหนี้ต้องไม่ปฏิบัติหรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติที่เป็นการล่วงละเมิดข่มขู่ การใช้วาจาที่ทำให้เกิดความเสียหาย การกระทำดังต่อไปนี้ให้ถือเป็นการล่วงละเมิด และการคุกคาม
 1.การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง การกระทำความผิดทางอาญาโดยให้เกิดความเสียหาย แก่ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของผู้บริโภค หรือผู้อื่น
 2.การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นดูหมิ่น ถากถาง เสียดสี ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภค
 3.การแจ้ง การเปิดเผยชื่อผู้บริโภคให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการติดตามหนี้ เว้นแต่เป็นการแจ้งให้แก่บุคคลอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
 4.การติดต่อผู้บริโภคเพื่อติดตามทวงถามหนี้ เกินวันละหนึ่งครั้ง เว้นแต่เป็นการติดต่อเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือได้รับความยินยอมจากผู้บริโภค
 5.การกระทำอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศ

หมวด 4
การแจ้งข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือการแจ้งเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจผิด


 มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ใช้วาจา ข้อมูลหรือข้อความที่เป็นเท็จ หรืออาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่เกี่ยวข้องกับการติดตามทวงถามหนี้

 การกระทำต่อไปนี้ให้ถือเป็นความผิดตามมาตรานี้
 1.การแสดงหรือการใช้เครื่องหมายหรือเครื่องแบบ สัญลักษณ์ หรือข้อความใด ๆ ที่มีนัยหรืออาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นการกระทำของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ โดยไม่เป็นความจริง
 2.การเจตนาแสดงข้อมูลจำนวนหนี้ที่ไม่ถูกต้อง
 3.การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการติดต่อทวงหนี้มาจากทนายความ ทั้งที่ไม่ใช่
 4.การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าหาไม่ชำระหนี้จะถูกดำเนินคดี ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ หรือเงินเดือน เว้นเสียแต่เป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายและสถาบันการเงิน หรือผู้ติดตามหนี้มีความประสงค์ที่จะดำเนินการดังกล่าวจริง
 5.การข่มขู่ว่าจะดำเนินการ ทั้งที่ไม่มีอำนาจจะกระทำได้ตามกฎหมายหรือไม่มี วัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการดังกล่าว
 6.การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าหากไม่ชำระหนี้จะเป็นความผิดทางอาญา
 7.การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าเป็นคำสั่งจากศาลหรือหน่วยงานของรัฐในการสั่งให้ชำระหนี้
 8.การติดต่อ หรือข่มขู่ว่าจะรายงานประวัติการชำระที่เป็นผลเสียให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต หรือไม่ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขโต้แย้งให้ถูกต้อง
9. การติดต่อหรือการแสดงตนที่ทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด  เพื่อให้ได้ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับผู้บริโภคเพื่อวัตถุประสงค์ในการติดตามหนี้
10. การใช้ชื่อของบุคคลอื่นแทนชื่อของผู้ติดตามหนี้ในการดำเนินการติดตามทวงถามหนี้
11. การติดต่อหรือการแสดงตนให้ผู้บริโภคเชื่อว่าผู้ติดตามหนี้ ดำเนินการติดตามทวงถามหนี้ข้อมูลเครดิตหรือรับจ้างจากบริษัทข้อมูลเครดิต

หมวดที่ 5
การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

 

มาตรา 16  ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ดำเนินการใด ๆ อันเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม  เพื่อที่จะติดตามทวงถามหนี้  การกระทำที่ว่านั้นให้หมายถึงการกระทำดังนี้
1. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่เสียได้มีการตกลงไว้ล่วงหน้า  หรือที่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้
2. การติดต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับหนี้โดยไปรษณีย์
3. การใช้ภาษา  หรือสัญลักษณ์ ชื่อทางธุรกิจของผู้ติดตามทวงหนี้บน.ซองจดหมายในการติดต่อผู้บริโภคที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อมาเพื่อการติดตามทวงถามหนี้  เว้นเสียแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ติดตามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นการประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้
4. การกระทำอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศ

หมวดที่ 6
การตรวจสอบภาระหนี้

 

มาตรา 17  ผู้ติดตามหนี้  ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงจำนวนหนี้  และชื่อของสถาบันการเงินที่ผู้บริโภคเป็นหนี้

มาตรา 18  ในกรณีที่ผู้บริโภคแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ติดตามหนี้ตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนหนี้ทั้งหมด  หรือบางส่วน  หรือชื่อของสถาบันการเงินรายแรกที่ผู้บริโภคเป็นหนี้นั้นให้ผู้ติดตามหนี้ตรวจสอบและแจ้งให้ผู้บริโภคทราบภายใน 30  วันเป็นหนังสือและในช่วงระหว่างการตรวจสอบนั้น  ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อผู้บริโภคเว้นแต่เป็นการเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

หมวดที่ 7
หนี้หลายบัญชี

มาตรา 19  ในกรณีที่เป็นหนี้หลายบัญชีและได้ชำระขั้นต่ำหนี้ดังกล่าวผ่านผู้ติดตามหนี้ให้ผู้ติดตามหนี้นำเงินดังกล่าวไปชำระในแต่ละบัญชีตามสัดส่วน แต่ไม่ให้ชำระแก่บัญชีที่อยู่ระหว่างการโต้แย้ง  เว้นเสียแต่ผู้บริโภคได้กำหนดวิธีการชำระหนี้ไว้

หมวดที่ 8
การร้องเรียน

 

มาตรา 20  ในกรณีที่ผู้บริโภคได้รับการปฏิบัติจากผู้ติดตามหนี้อันเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัตินี้  ผู้บริโภคอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัย
 การร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
 เมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง  ให้ผู้ติดตามหนี้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดนั้น

หมวดที่ 9
การกำกับดูแลผู้ติดตามหนี้

 มาตรา 21  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสินเชื่อส่วนบุคคล”  ประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ  ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรองประธานกรรมการ  ปลัดกระทรวงยุติธรรม  เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา  ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคปลัดกระทรวงพาณิชย์  และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคนเป็นกรรมการ
 ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  โดยอย่างน้อยต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเงินและการธนาคารสองคน  และด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหนึ่งคน  โดยมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและแต่งตั้งใหม่อีกได้    แต่จะต้องแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันอีกสองวาระมิได้
 ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้บริหารของสำนักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ

 มาตรา 22  ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ในการกำกับดูแลและการติดตามทวงถามหนี้ของผู้ติดตามหนี้  อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง
1. ออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
2. ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ  ติดตามทวงถามหนี้  รวมถึงการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการติดตามทวงถามหนี้
3. สั่งให้ผู้ติดตามหนี้ยื่นรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการเป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะ  โดยมีรายการและตามระยะเวลาที่กำหนด
4. สั่งให้ผู้ติดตามหนี้ทำคำชี้แจงข้อความเพื่ออธิบายหรือขยายความรายงานที่ได้จัดขึ้นตาม 3
5. พิจารณาวินิจฉัยข้อร้องเรียนตามพระราชบัญญัตินี้
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตารีกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้  คณะกรรมการอาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ 
หรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ปฎิบัติการหรือเสนอความเห็นมายังคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วยก็ได้
 มาตรา 23  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 21  กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
1. ตาย
2. ลาออก
3. คณะรัฐมนตรีให้ออก
4. เป็นบุคคลล้มละลาย
5. เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
6. ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือมีหน้าที่หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ติดตามหนี้

ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ  คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังคงมีวาระอยู่ในตำแหน่งให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งไว้แล้ว

มาตรา 24  ในการประชุมคณะกรรมการ  ถ้าประธานกรรมการหรือรองประธาน
กรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุม  ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน
การประชุมคณะกรรมการทุกคราวต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
กรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก  กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน  ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
 
มาตรา 25  คณะอนุกรรมการต้องประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้น  มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน
คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้  และตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
การประชุมของคณะอนุกรรมการ  ให้นำมาตรา 24 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 26  คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีผู้ร้องทุกข์หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
สำหรับสินเชื่อบุคคลมาพิจารณาได้  ในการนี้จะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงด้วยก็ได้

 มาตรา 27  ให้การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้  คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการต้องให้โอกาสแก้ผู้ถูกกล่าวหาหรือสงสัยว่ากระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นตามสมคว  เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นและเร่งด่วน
 การกำหนดหรือออกคำสั่งในเรื่องใดตามพระราชบัญญัติ ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการคำนึงถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ทั้งผู้บริโภค  สถาบันการเงิน  ผู้ติดตามหนี้หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องบ  และในกรณีที่เห็นสมควร  คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการจะกำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขเป็นการชั่วคราวในการบังคับให้เป็นไปตามการกำหนดหรือออกคำสั่งนั้นก็ได้

 มาตรา 28  ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้  ให้จัดตั้งสำนักงาน  โดยมีหน้าที่
1. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ติดตามหนี้เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามแต่กรณี
2. กำกับการทำงานของผู้ติดตามหนี้หรือผู้กระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคพร้อมกับรายงานต่อคณะกรรมการ
3. ประสานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลหรือตรวจสอบสถาบันการเงิน  ติดตามหนี้หรือบุคคลอื่น
4. ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคที่คณะกรรมการเห็นสมควร  หรือเมื่อผู้ร้องขอตามพระราชบัญญัตินี้
5. ปฏิบัติตามอื่นใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย

มาตรา 29  ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. เข้าไปสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้ติดตามหนี้ที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่ามีการกระทำอันเป็นความผิดพระราชบัญญัติ  เพื่อตรวจสอบได้ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้น
2. ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน  เอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ  เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือดำเนินคดี
3. ปกิบัติอื่นใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย


 
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

โครตดี

โดยคุณ รสริน 2 พ.ย. 2554, 13:49

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก