ทวงหนี้เหนื่อย เบี้ยวเพิ่ม10%
ข่าวทนายคลายทุกข์วันนี้ขอนำเสนอความเคลื่อนไหวของธุรกิจทวงหนี้ ซึ่งธุรกิจติดตามหนี้ไตรมาสแรกฝืด
เจอลูกหนี้ปฏิเสธเพิ่ม 10% สั่งฟ้องดำเนินคดีพุ่ง 30-40%
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีนี้ โดนทีมทนายความรายการทนายคลายทุกข์ มีดังนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 5 บทบัญญัติบรรพ 1
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการให้กู้ยืมเงินที่ผู้เสมือนไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การปฏิเสธการชำระหนี้ของลูกหนี้
มาตรา 193/10 สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ
ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้
การฟ้องร้องลูกหนี้ที่ถึงแก่ความตาย
มาตรา 193/23
อายุความสิทธิเรียกร้องอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้ตาย ถ้าจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันตาย
อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันตาย
การชำระหนี้ที่ขาดอายุความแล้วเรียกคืนไม่ได้
มาตรา 193/28
การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้นไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้
แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง
ให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ
หรือโดยการให้ประกันด้วย
แต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้
อายุความการฟ้องร้องคดีบัตรเงินด่วน
มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี
(1)
ดอกเบี้ยค้างชำระ
(2)
เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ
อายุความการฟ้องร้องคดีบัตรเครดิต
มาตรา 193/34
สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้
ให้มีกำหนดอายุความสองปี
(7)
บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน (1)
แต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำงานการต่างๆ
เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การบังคับคดียึดทรัพย์สินลูกหนี้ต้องดำเนินการภายใน
10 ปี
มาตรา 271 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี
(ลูกหนี้ตามคำพิพากษา)มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน
คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา)
ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา
หรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
ทุนทรัพย์ในการฟ้องคดีล้มละลายลูกหนี้
มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(๑1) ลูกหนี้มีหนี้สินพ้นตัว
(2)
ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
และ
(3)
หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
รายละเอียดรายงานข่าว
นาย
ขณะเดียวกันในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทำให้ลูกหนี้ที่เคยเจรจากับเจ้าหนี้
ที่จะยอมลดหนี้ให้ (แฮร์คัต) และมีข้อตกลงให้ชำระหนี้หมดภายในเวลาที่กำหนด 3-6 เดือน
ปัจจุบันพบว่า ลูกหนี้ได้ขอขยายเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้นเป็น 10-12 เดือน เพื่อผ่อนภาระการชำระหนี้แต่ละเดือนให้ลดลง
“ลูกหนี้ที่เข้ามาเจรจาส่วนใหญ่เจ้าหนี้ก็ตกลง
ดีกว่าที่จะยอมให้ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้เลย
และผิดสัญญาจนถึงขั้นต้องฟ้องร้องดำเนินคดี” นายประชา กล่าว
นอกจากนั้น
ขณะนี้มีปริมาณการส่งฟ้องดำเนินคดีกับลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้เพิ่มมากขึ้น 30-40%
เนื่องจากปัจจุบันมีศาล ผู้บริโภคโดยตรงทำให้กระบวนการฟ้องร้อง
ดำเนินคดีเร็วขึ้นเพียง 2-3 เดือน ศาลก็มีคำพิพากษา
ต่างจากเมื่อก่อนที่ใช้ระยะเวลาเป็นปีๆ
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เจ้าหนี้ต้องการเจรจาและไม่ต้องการฟ้องร้องดำเนินคดี
เพราะ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง
รวมทั้งยอดหนี้ที่จะฟ้องร้องเต็มจำนวนและบวกดอกเบี้ยค้างชำระและค่าปรับ
รวมถึงค่าใช้จ่ายการติดตามทวงหนี้ ซึ่งหากลูกหนี้เจรจากับ
เจ้าหนี้ได้ก็อาจจะมีส่วนลดหนี้ 30-50% ของยอดหนี้
นายประชา กล่าวว่า
ในช่วงที่รัฐบาลแจกเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ไม่มีผลให้ ลูกหนี้นำมาชำระหนี้มากขึ้น
เพราะเป็นคนละกลุ่มกัน โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีบัตรเครดิตจะมีรายได้สูงกว่า 1.5 หมื่นบาท และ
ส่วนใหญ่กลุ่มที่ไดรับเช็คช่วยชาติจะนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากกว่านำมาชำระหนี้
และเป็นเรื่องปกติที่ลูกหนี้จะยอมชำระหนี้ค่าบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์
และจะชำระหนี้ค่าบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นอันดับสุดท้าย
ก่อนหน้านี้
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสำรวจสภาพหนี้ภาคครัวเรือนทั่วประเทศไทย พบว่า
หนี้สินเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ หนี้จากบัตรเครดิต คิดเป็นสัดส่วนถึง 72.01%
รองลงมาเป็นหนี้ธนาคารพาณิชย์ 69.26%
ภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 143,476.32 บาท
แบ่งเป็นหนี้ในระบบ 57.40% หนี้นอกระบบ 42.60% ยอดผ่อนชำระ ต่อเดือนอยู่ที่ 9,416.50 บาท
ด้านความสามารถในการชำระหนี้ พบว่าประชาชน 66.8% มีปัญหา
และที่ไม่มีปัญหามีเพียง 33.17%
ก่อนหน้านี้ นาย
ทั้งนี้
สถาบันการเงินเป็นห่วงว่าสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ทำให้ลูกค้ามีความเสี่ยงมากขึ้น
จึงมีการเร่งแก้ไขปัญหาหนี้เสีย โดยลูกค้าค้างชำระเพียง 30 วัน
ก็จะส่งเรื่องมาให้บริษัทติดตามหนี้ เพื่อไม่ให้ปัญหาคั่งค้าง
อีกทั้งสถาบันการเงินยอมที่จะตัดหรือลดยอดหนี้ให้ลูกค้ามากขึ้น
เพื่อที่จะปิดบัญชีปัญหาให้จบเร็วขึ้น และลดภาระ ค่าใช้จ่ายการติดตามหนี้
ด้วยการยอมขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้น เพื่อลดภาระแก่ลูกค้า
ขอขอบคุณ รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์