คำพิพากษาฎีกา/ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าได้|คำพิพากษาฎีกา/ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าได้

คำพิพากษาฎีกา/ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกา/ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าได้

ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าได้

บทความวันที่ 12 ต.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 16746 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกา/ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าได้

          ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าได้  ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินประกันความเสียหายหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3441/2538    
          แม้สัญญาเช่าตึกแถวข้อ2จะได้ระบุว่าโจทก์ผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันความเสียหายแก่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วก็ตามแต่ในกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าหรือจำเลยผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่า2ปีตามสิทธิที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าข้อ12โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมต้องคืนเงินประกันความเสียหายนั้นให้แก่จำเลยผู้เช่าหลังจากหักเงินประกันดังกล่าวชำระหนี้ค่าน้ำประปาไฟฟ้าโทรศัพท์และความเสียหายของตึกแถวที่แล้วด้วยเพราะเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของจำเลยที่วางไว้แก่โจทก์เพียงพอเพื่อประกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการเช่าดังกล่าวเท่านั้นดังนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าตึกแถวต่อกันแล้วโจทก์ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินประกันความเสียหายดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าและเมื่อปรากฏว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำเลยจึงมีสิทธิที่จะขอให้หักกลบลบหนี้ดังกล่าวกับเงินประกันความเสียหายนั้นได้


ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 341
ถ้าบุคคลสองคนต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมจะหลุดพ้นจากหนี้ของตนด้วยหักกลบลบกันได้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้น เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบกันได้
    บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ หากเป็นการขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้ แต่เจตนาเช่นนี้ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต

มาตรา 387  ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้


มาตรา 391  เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่
    ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
    ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น
    การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

 เพระเหตุใด ทาง ผู้ให้เช่า  ถึงไม่มีสิทธิ์ยึดเงินประกันดังกล่าวได้ค่ะ เพราะคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำสัญญากันนะค่ะ ทาง ผู้เช่า จะฟ้องทาง ผู้ให้เช่า สามารถทำได้มั้ยค่ะ หากค่าใช้จ่ายสูงกว่าเงินประกัน ทาง ผู้ให้เช่า สามารถเรียกเก็บเพิ่มได้ใช่มั้ยค่ะ

โดยคุณ ศิรประภา 1 ก.ค. 2556, 16:23

ความคิดเห็นที่ 1

ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำ    FUK  _|_ YOU   ได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้

โดยคุณ _!_ (สมาชิก) 13 ต.ค. 2554, 05:11

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก