ความผิดทางการค้า หากเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือพยายามฉ้อโกง ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวง|ความผิดทางการค้า หากเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือพยายามฉ้อโกง ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวง

ความผิดทางการค้า หากเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือพยายามฉ้อโกง ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความผิดทางการค้า หากเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือพยายามฉ้อโกง ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวง

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 3351/2542

บทความวันที่ 3 พ.ค. 2566, 09:23

มีผู้อ่านทั้งหมด 910 ครั้ง


ความผิดทางการค้า หากเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือพยายามฉ้อโกง ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวง
คำพิพากษาฎีกาที่ 3351/2542

    จำเลยส่งไข่ผงที่เสื่อมคุณภาพแล้วให้โจทก์ร่วม โดยหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าไข่ผงดังกล่าวเป็นนมผงตามที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อ เพื่อหวังจะได้เงินจากโจทก์ร่วมอันเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตเพียงแต่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระเงินให้จำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฉ้อโกง ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการขายของโดยหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิดสภาพและคุณภาพแห่งของอันเป็นเท็จอีกหรือไม่ พระราชบัญญัติควบคุมอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 18 วรรคสองกำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายอาหารสัตว์สำหรับอาหารสัตว์ที่ตนผลิตด้วย และมาตรา 19 วรรคหนึ่งกำหนดว่าใบอนุญาตตามมาตรา 18 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วยโดยวรรคสองให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย ดังนั้น การที่จำเลยขายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ขายอาหารสัตว์ที่ตนผลิตได้ตามกฎหมายจำเลยจึงได้รับการคุ้มกันตามมาตรา 19 จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ฯ มาตรา 15 
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา 
    มาตรา  271
ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
#ทนายคลายทุกข์ #หลอกขายของ
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1


โดยคุณ ไม่ออกนาม 21 พ.ค. 2566, 05:36

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก