ตัวการ/ให้สินบนเจ้าพนักงาน/ กฎหมายเป็นคุณ|ตัวการ/ให้สินบนเจ้าพนักงาน/ กฎหมายเป็นคุณ

ตัวการ/ให้สินบนเจ้าพนักงาน/ กฎหมายเป็นคุณ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวการ/ให้สินบนเจ้าพนักงาน/ กฎหมายเป็นคุณ

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 903/2565

บทความวันที่ 1 ธ.ค. 2565, 14:43

มีผู้อ่านทั้งหมด 676 ครั้ง


ตัวการ/ให้สินบนเจ้าพนักงาน/ กฎหมายเป็นคุณ

คำพิพากษาฎีกาที่ 903/2565
    ขณะเกิดเหตุ พ. เท่านั้นที่เป็นผู้เสนอเงินสินบนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยเพิ่งเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเป็นผู้นำเงินสินบนให้แก่เจ้าพนักงานตรวจ การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการร่วมกระทำความผิดกับ พ. ในลักษณะของตัวการซึ่งต้องร่วมกระทำผิดด้วยกันและกระทำโดยเจตนาร่วมกัน
    โจทก์บรรยายฟ้องและแก้ฟ้องแล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง พันตำรวจโท ป. กับพวกเจ้าพนักงานตรวจได้ร่วมกันจับกุม พ. พร้อมของกลางเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวน 200 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 19.293 กรัม คำนวณเป็นน้ำหนัก สารบริสุทธิ์ได้ 3.953 กรัม ในข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) โดยผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15,66 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 83 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3, 7 ทั้งยังชี้ช่องพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้แล้ว ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดชอบด้วยกฎหมายตามประกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสามแล้ว
    วันเกิดเหตุ พ. โทรศัพท์หาจำเลยว่าถูกจับเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน ต่อมาจำเลย นำเงินมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้ปล่อยตัว พ. ซึ่งนอกจากเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 แล้ว การที่จำเลยขอให้เงินแก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อปล่อยตัว พ. โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่า พ. กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงเป็นการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อมิให้ พ. ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 6(2) อีกข้อหาหนึ่ง และต้องระวางโทษเช่นเดียวกับ พ. จำเลยในคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและพฤติมิชอบกลาง
    ความผิดฐานเป็นผู้จัดการหรือให้เงินเพื่อมิให้ผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 6(2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ยังคงบัญญัติให้เป็นความผิดอยู่ตามมาตรา 125 โดยใช้ถ้อยคำคำนองเดียวกันและกำหนดให้ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้นเช่นเดิม เพียงแต่ระบุถ้อยคำเพิ่มขึ้นว่าเป็นการกระทำในความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
    พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 21  บัญญัติให้บทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานว่าเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัตินี้ยังคงมีผลบังคับใช้บังคับแก่คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วก่อนวันที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีถึงที่สุด ดังนั้นในคดีของศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบที่ พ. ซึ่งเป็นตัวการต้องคำพิพากษาว่ามีฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงยังสันนิษฐานว่า พ. ซึ่งเป็นตัวการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยผลของมาตรา 21 ทั้งประมวลกฎหมายยาเสพติดให้โทษ มาตรา 1 นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่าย และการจำหน่ายได้บัญญัติบทความผิดและบทกำหนดโทษไว้ในมาตรา 90, 145 แสดงว่าประมวลกฎหมายยาเสพติดไม่ได้ยกเลิกความผิดฐานมียาเสพติดอยู่ในความหมายของบทนิยามคำว่า “ความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด” ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 1 การที่ พ. ซึ่งเป็นตัวการถูกลงโทษฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของ พ. ซึ่งเป็นตัวการ จึงเป็นความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดของ พ. ซึ่งเป็นตัวการ จึงเป็นความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตามบทนิยามมาตรา 1 ของประมวลกฎหมายยาเสพติด ทำให้การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดฐานผู้จัดหาหรือให้เงินเพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกลงโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 125 และการกระทำของ พ. ซึ่งเป็นตัวการยังคงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145
    พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม, 66 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะ พ. ซึ่งเป็นตัวการกระทำความผิดบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาปริมาณของยาเสพติดที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ แต่ประมวลกฎหมายยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมาตรา 145 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญเมื่อ พ. ซึ่งเป็นตัวการต้องคำพิพากษาว่ามีความผิดฐานพยายามจำหน่ายยาเสพติดและมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พฤติการณ์ของ พ. ย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชนแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท อันเป็นบทกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่าพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง ที่ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3


 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก