หากกรณีที่จะต้องริบมัดจำ  ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน  ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้|หากกรณีที่จะต้องริบมัดจำ  ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน  ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้

หากกรณีที่จะต้องริบมัดจำ  ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน  ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หากกรณีที่จะต้องริบมัดจำ  ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน  ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2565

บทความวันที่ 24 พ.ย. 2565, 11:05

มีผู้อ่านทั้งหมด 663 ครั้ง


หากกรณีที่จะต้องริบมัดจำ  ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน  ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2565
          ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่าห้องชุดพิพาทมีความชำรุดบกพร่อง มีน้ำรั่วบนฝ้าเพดานไม่พร้อมส่งมอบและโอนให้แก่โจทก์ทั้งสอง  ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นประจักษ์ได้ง่าย โจทก์ทั้งสองสามารถตรวจสอบได้  มิใช่การกระทำใดๆ ที่อยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจ  ภาระการพิสูจน์ไม่ตกแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 29 โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าห้องชุดพิพาทมีความชำรุดบกพร่อง จำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่โจทก์ทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551  มาตรา 7
            ไม่มีบทบัญญัติใดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้อำนาจศาลลดมัดจำลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ดังเช่นกณณีเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน  แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540   มาตรา 7 บัญญัติว่า  "ในสัญญาที่มีการให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำหากมีกรณีจะต้องริบเงินมัดจำ ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าที่ความเสียหายที่แท้จริงก็ได้" เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้วางมัดจำ แม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)  ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7
         เงินมัดจำที่จำเลยต้องคืนแก่โจทก์ทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 7  เป็นการคืนให้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะเหตุศาลฎีกาใช้ดุลพินิจหยิบยกขึ้่นวินิจฉัยและให้ลดและคืนเงินมัดจำบางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งสอง  มิใช่คืนเพราะเหตุจำเลยผิดสัญญา  โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้่ย กรณีผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก