จำเลยสามารถขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง เพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำวินิจฉัยของศาลได้|จำเลยสามารถขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง เพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำวินิจฉัยของศาลได้

จำเลยสามารถขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง เพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำวินิจฉัยของศาลได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

จำเลยสามารถขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง เพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำวินิจฉัยของศาลได้

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2564

บทความวันที่ 2 ส.ค. 2565, 10:57

มีผู้อ่านทั้งหมด 723 ครั้ง


จำเลยสามารถขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง เพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำวินิจฉัยของศาลได้
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2564
              ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจากต้นเงิน 4,500,000 บาท ถูกต้องตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยของต้นเงิน 5,550,000 บาท  นับถัดจากวันฟ้อง ซึ่งไม่ตรงกับคำวินิจฉัย  ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย จำเลยชอบที่จะให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง เพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นได้  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 143 วรรคหนึ่ง  ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551  มาตรา 7 มิใช่เป็นการทำคำสั่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิมศาลมีอำนาจมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยได้ โดยหาจำต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์เพื่อคัดค้านและทำการไต่สวนก่อนไม่
             ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ไม่ได้บัญญัติให้แก้ไขคำพิพากษาที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยต้องกระทำก่อนที่การบังคับคดีเสร็จสิ้น  แม้มีการบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว  จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยได้
             คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นไม่ได้กล่าวถึงการได้รับชำระหนี้ภายหลังยื่นฟ้องโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยไม่ได้นำจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ภายหลังยื่นฟ้องมาหักออกก่อนจึงตรงตามที่ได้วินิจฉัยไว้แล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ครบถ้วนตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณาเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป  กรณีมิใช่คำพิพากษามีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551  มาตรา 7 เพราะมีผลเป็นการแก้คำวินิจฉัยเกี่ยวกับจำนวนหนี้ในคำพิพากษาเดิม
ขอบคุณที่มา : หนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา 2564  ตอนที่ 10 ของเนติบัณฑิตยสภา
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161 
#ทนายคลายทุกข์ #แก้ไขต้นเงิน #ดอกเบี้ย #บังคับคดี 

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก