งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ว่าจ้างให้เปิดบัญชีม้ามีความผิดฐานฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 5186/2563
แม้โจทก์ไม่ได้อ้าง ธ. ซึ่งเป็นผู้ทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยาน แต่โจทก์มีคำให้การชั้นสอบสวนของ ธ. เป็นพยานว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างให้ ธ. ไปเปิดบัญชีเงินฝาก และ ธ. ยืนยันภาพถ่ายจำเลยว่าเป็นบุคคลที่ใช้ให้เปิดบัญชี แม้คำให้การชั้นสอบสวนของ ธ. เป็นพยานบอกเล่าและมีลักษณะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำการความผิดด้วยกันซึ่งโดยหลักแล้วต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/3 แต่การที่ ธ. ให้การเป็นการบอกเล่าเรื่องราวถึงที่มาของการเปิดบัญชีเงินฝากของ ธ. ทั้ง ธ. ให้การในวันเดียวกับวันที่ถูกจับกุม เป็นการยากที่จะคิดปรุงแต่งเรื่องราวให้ผิดไปจากความจริงและในคดีที่ ธ. ถูกโจทก์ฟ้อง ธ. ให้การรับสารภาพ จึงมิใช่เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดแล้วให้จำเลยรับผิดเพียงลำพัง แต่เป็นเพียงการบอกเล่าเรื่องราวในการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าการปรักปรำจำเลยนอกจากนี้ขณะที่ ธ. ซึ่งเป็นบุคคล ธ. ไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วย เชื่อ ธ. ให้การไปตามความเป็นจริงที่ได้ประสบมายิ่งกว่านั้นการที่โจทก์จะนำ ธ. มาเบิกความเป็นพยานก็ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232 เนื่องจากขณะสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งให้แยกสำนวนที่ ธ. ถูกฟ้องเป็นจำเลยออกจากคดีนี้ ธ. ยังมีฐานะเป็นจำเลยที่ 1 เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของของคำให้การชั้นสอบสวนของ ธ. ที่ให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวนในทีนทีหลังจากถูกจับโดยสมัครใจต่อหน้าพนักงานอัยการและบุคคลที่ตนไว้วางใจและเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถนำ ธ. มาให้การเป็นพยานโจทก์ได้ น่าเชื่อว่าคำให้การชั้นสอบสวนของ ธ. จะพิสูจน์ความจริงได้ จึงเป็นหลักฐานที่รับฟังได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/3 วรรคสอง (1)(2)
จำเลยเป็นบุคคลที่ว่าจ้าง ธ. เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารอันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดตามฟ้องซึ่งมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่ทำกัน เมื่อผู้เสียหายถูกพวกของจำเลยที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หลอกลวงแจ้งให้โอนเงินค่าสินค้าของบริษัทเข้าบัญชีเงินฝากของ ธ. ที่จำเลยว่าจ้างให้ ธ.เปิดบัญชีไว้ และผู้เสียหายโอนเงินให้ไปตามที่ได้รับแจ้ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นและฐานร่วมกันนำเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตามฟ้อง
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับโดยมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน (1) มิได้กระทำต่อประชาชน แต่เป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทำ ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้” การที่จำเลยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยเฉพาะ อันเป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มิได้กระทำต่อประชาชน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดมาตรา 14 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 14(1) (เดิม) เป็นการไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 342 ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ
(1) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
(2) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470,081-6252161
#ทนายคลายทุกข์ #ปรึกษาคดี #ฉ้อโกง #แสดงตนเป็นบุคคลอื่น